พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินซื้อด้วยเงินคนต่างด้าว ถือเป็นทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขอโอน
แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใดๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดหรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะหลังคู่กรณีเสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายเพราะเหตุละเมิด ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2556 หน้าที่ในการอุปการะของผู้ตายในฐานะสามีของโจทก์ที่มีต่อโจทก์จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ตามที่โจทก์เรียกร้องเป็นเวลา 7 ปี นับแต่วันทำละเมิดคือ วันที่ 17 มกราคม 2554 จึงมากเกินสมควร กรณีมีเหตุสมควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ใหม่ตามส่วนที่โจทก์เรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์สินค้าไม่ปลอดภัย - ผู้ผลิตไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่ากระบวนการผลิตไม่ได้บกพร่อง
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงของจำเลยที่โจทก์ผู้บริโภคซื้อมาจากร้านค้ามีเชื้อราปนเปื้อน จำเลยในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบการจึงมีภาระการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าหรือการดำเนินการใด ๆ ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 29 เมื่อพยานบุคคลฝ่ายจำเลยเบิกความประกอบพยานเอกสารแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนและวิธีการผลิตข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยจนกระทั่งขนส่งให้แก่ลูกค้า จำเลยมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่ตลอดเวลา โดยดำเนินการจัดทำระบบตามหลักการผลิตที่ดีเพื่อเป็นหลักในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร และระบบควบคุมอันตรายไม่ให้ไปสู่ผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมการผลิต โดยโรงงานบรรจุข้าวถุงของจำเลยเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองทั้งสองระบบ ระบบคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ ได้รับการประเมินตรวจสอบและได้ใบรับรองจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนว่า ผลิตภัณฑ์สินค้าตรามาบุญครองของจำเลยมีความสะอาดและถูกสุขอนามัยโดยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยเพื่อตอบสนองความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความอีกว่าข้าวสารบรรจุถุงที่ผลิตในวันเดียวกันกับข้าวสารบรรจุถุงปัญหาที่โจทก์ซื้อไปไม่ปรากฏว่ามีข้าวสารบรรจุถุงที่มีเชื้อราปนเปื้อนอีก แสดงว่าเชื้อราที่ปนเปื้อนไม่ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าหรือการขนส่งของจำเลย
การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่า ข้าวสารถุงบรรจุของจำเลยในคดีนี้เสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย นั้น โจทก์ไม่อาจผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวให้แก่จำเลย เนื่องจากการมีเชื้อราปนเปื้อนในข้าวสารบรจุถุงของจำเลยไม่อยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย แต่กลับอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์เท่านั้น ซึ่งเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่จำเลยไม่อาจทราบได้และไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความเสียหายว่าเกิดจากผู้ประกอบการคนใดอันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 6 เนื่องจากจำเลยสามารถปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าและการขนส่งได้แล้ว ทั้งหากให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับข้าวสารบรรจุถุงเสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยและอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันในทางการค้าได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยมิได้เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 7 (1)
การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่า ข้าวสารถุงบรรจุของจำเลยในคดีนี้เสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย นั้น โจทก์ไม่อาจผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวให้แก่จำเลย เนื่องจากการมีเชื้อราปนเปื้อนในข้าวสารบรจุถุงของจำเลยไม่อยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย แต่กลับอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์เท่านั้น ซึ่งเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่จำเลยไม่อาจทราบได้และไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความเสียหายว่าเกิดจากผู้ประกอบการคนใดอันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 6 เนื่องจากจำเลยสามารถปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าและการขนส่งได้แล้ว ทั้งหากให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับข้าวสารบรรจุถุงเสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยและอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันในทางการค้าได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยมิได้เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 7 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีสินค้าไม่ปลอดภัย ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่ากระบวนการผลิตปกติ
พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 4 บัญญัติว่า สินค้าไม่ปลอดภัย หมายความว่า สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบหรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงของจำเลยที่โจทก์ผู้บริโภคซื้อมาจากร้านค้ามีเชื้อราปนเปื้อน จำเลยในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบการจึงมีภาระการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าหรือการดำเนินการใด ๆ ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 29 เมื่อพยานบุคคลฝ่ายจำเลยเบิกความประกอบพยานเอกสารแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนและวิธีการผลิตข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยจนกระทั่งขนส่งให้แก่ลูกค้า จำเลยมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่ตลอดเวลา โดยดำเนินการจัดทำระบบตามหลักการผลิตที่ดีเพื่อเป็นหลักในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร และระบบควบคุมอันตรายไม่ให้ไปสู่ผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมการผลิต โดยโรงงานบรรจุข้าวถุงของจำเลยเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองทั้งสองระบบ ระบบคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ ได้รับการประเมินตรวจสอบและได้ใบรับรองจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนว่า ผลิตภัณฑ์สินค้าตรามาบุญครองของจำเลยมีความสะอาดและถูกสุขอนามัยโดยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยเพื่อตอบสนองความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความอีกว่าข้าวสารบรรจุถุงที่ผลิตในวันเดียวกันกับข้าวสารบรรจุถุงปัญหาที่โจทก์ซื้อไปไม่ปรากฏว่ามีข้าวสารบรรจุถุงที่มีเชื้อราปนเปื้อนอีก แสดงว่าเชื้อราที่ปนเปื้อนไม่ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าหรือการขนส่งของจำเลย
การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่า ข้าวสารถุงบรรจุของจำเลยในคดีนี้เสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย นั้น โจทก์ไม่อาจผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวให้แก่จำเลย เนื่องจากการมีเชื้อราปนเปื้อนในข้าวถุงของจำเลยไม่อยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย แต่กลับอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์เท่านั้น ซึ่งเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่จำเลยไม่อาจทราบได้และไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความเสียหายว่าเกิดจากผู้ประกอบการคนใดอันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 6 เนื่องจากจำเลยสามารถปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าและการขนส่งได้แล้ว ทั้งหากให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับข้าวสารบรรจุถุงเสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยและอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันในทางการค้าได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยมิได้เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ต้องรับผิด พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 7 (1)
การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่า ข้าวสารถุงบรรจุของจำเลยในคดีนี้เสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย นั้น โจทก์ไม่อาจผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวให้แก่จำเลย เนื่องจากการมีเชื้อราปนเปื้อนในข้าวถุงของจำเลยไม่อยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย แต่กลับอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์เท่านั้น ซึ่งเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่จำเลยไม่อาจทราบได้และไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความเสียหายว่าเกิดจากผู้ประกอบการคนใดอันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 6 เนื่องจากจำเลยสามารถปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าและการขนส่งได้แล้ว ทั้งหากให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับข้าวสารบรรจุถุงเสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยและอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันในทางการค้าได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยมิได้เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ต้องรับผิด พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 7 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดไม้ตามข้อตกลง ไม่เข้าข่ายลักทรัพย์ เหตุไม่มีเจตนาทุจริตตัดกรรมสิทธิ์
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 334 ผู้กระทำจะต้องแย่งการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น ในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์โดยเด็ดขาด โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น แต่จากคำเบิกความของโจทก์ร่วมปรากฏว่า โจทก์ร่วมต้องการตัดไม้ยางเพื่อจะสร้างบ้านให้บุตรชายของตน แต่ไม่มีทุนจ้างคนเลื่อยไม้ โจทก์ร่วมไปปรึกษาจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการ จำเลยรับดำเนินการขออนุญาตตัดไม้ยาง โดยมีข้อตกลงแบ่งไม้ยางที่ได้จากการตัดและแปรรูป แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเนื่องจากยังไม่ทราบจำนวนไม้ยางที่แปรรูปแน่นอน และจำเลยนำสืบต่อสู้ว่า โจทก์ร่วมต้องการสร้างบ้านให้แก่บุตรชายของตนตรงบริเวณที่มีต้นยางปลูกอยู่จำนวน 2 ต้น แต่โจทก์ร่วมไม่สามารถขออนุญาตตัดไม้ยางได้ด้วยตนเอง โจทก์ร่วมจึงยกไม้ยางทั้งสองต้นให้แก่จำเลย โดยไม่เคยมีข้อตกลงแบ่งไม้ยางแปรรูปที่ได้จากการตัดแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยตัดต้นยางและชักลากไปแปรรูปในที่ดินของจำเลย ย่อมเป็นไปโดยอาศัยข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยตามที่โจทก์ร่วมนำสืบ มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วม ในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยเด็ดขาด โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพียงแต่หลังจากที่จำเลยเข้าตัดต้นยางของโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมกับจำเลยต่างมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับข้อตกลงในการแบ่งไม้ยางที่ได้จากการแปรรูปว่าเป็นประการใด อันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งระหว่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ผู้รับโอนสิทธิจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมฟ้องขับไล่ซ้ำในคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยเรียกค่าเสียหาย เป็นการใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544มาตรา 76 โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน อันเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิดำเนินคดีแทนจำเลย
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้ยกเลิกหรือเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่โจทก์จำเลยทำมาก่อนหน้านี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากจำเลย และมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่งทนายความยื่นคำให้การใหม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934-3936/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการลักทรัพย์และการใช้บทบัญญัติมาตรา 336 ทวิ ที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปและโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องระวางโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ นั้นเป็นการ ไม่ชอบ เพราะ ป.อ. มาตรา 336 ทวิ มีวัตถุประสงค์ลงโทษเฉพาะผู้ใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนร่วมกัน ความรับผิดของตัวแทนแต่ละคนต่อการไม่ชำระหนี้ และการลดค่าเสียหายจากเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนขายกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) กับโจทก์ต้องทำการด้วยตัวเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 808 ประกอบกับข้อสัญญาข้อ 8 กำหนดว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตั้งตัวแทนช่วง ดังนั้นการตั้งตัวแทนช่วงให้ขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน แม้โจทก์ทราบเรื่องแล้วไม่ทักท้วง ก็เป็นเพียงการให้สัตยาบันต่อการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทนอันมีผลทำให้นิติกรรมการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ของตัวแทนช่วงซึ่งไม่ผูกพันโจทก์กลับเป็นผูกพันโจทก์โดยตรง และทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 แต่ในระหว่างตัวการตัวแทนด้วยกัน จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 812 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเบี้ยประกันภัยที่ขายเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุตัวแทนช่วงเป็นผู้ขายกรมธรรม์ พ.ร.บ.มาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเบี้ยประกันภัยที่ขายเพิ่มเติมจะทำให้โจทก์ได้รับเงินค่าประกันภัยจากการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ.ฉบับเดียวกันถึง 2 ครั้ง เพราะโจทก์มีหนังสือแจ้งตัวแทนช่วงของจำเลยที่ 1 ให้ส่งค่าเบี้ยประกันภัยที่ขายให้แก่โจทก์โดยตรง เป็นทำนองตัวแทนช่วงของจำเลยที่ 1 ชำระค่าเบี้ยประกันภัยส่วนนี้แล้วนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จัดส่งหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่ทำเรื่องขอเบิกจ่าย และยังมีตารางกรมธรรม์ประกันภัยค้างอยู่กับฝ่ายจำเลย 147,157 ชุด จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่เบิกมาอยู่ที่ตัวแทนช่วงทั้งหมด มิได้อยู่ที่จำเลยที่ 1 แม้แต่ฉบับเดียว ตามคำเบิกความของ น. พยานโจทก์ การเบิกตารางกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องตรวจสอบว่าไม่มีหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยค้างชำระ แต่ในรอบขายเดือน ก.ค. และเดือน ส.ค. 2551 จำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามเช็คธนาคารพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 2,155,704.18 บาท โจทก์คงไม่จัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 อย่างแน่นอน โดยฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่นำส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ รวม 147,157 ชุด
ส่วนจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในค่าเสียหายเพียงใดนั้น เห็นว่า ข้อตกลงตามสัญญา ข้อ 6.2 ที่ให้ตัวแทนต้องชำระค่าเสียหายกรณีหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยสูญหาย เสียหาย ชำรุดใช้การไม่ได้ หรือไม่สามารถส่งคือให้แก่โจทก์ได้เป็นเงินชุดละ 300 บาท เป็นค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาใช่ต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาดเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หรือตัวแทนช่วงหรือทีมขายของจำเลยที่ 1 ได้นำตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ไม่ส่งคืนไปขาย หรือมีลูกค้ารายใดเรียกร้องให้โจทก์รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ พ.ร.บ. ดังกล่าว และโจทก์ไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากยังไม่มีการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายตามศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดเป็นเงินชุดละ 50 บาท นั้น สูงเกินไป เห็นสมควรลดลงเป็นจำนวนพอสมควรกับแนวทางปฏิบัติของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่คิดค่ายกเลิกตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. และค่าปรับตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ชำรุด ชุดละ 20 บาท จำนวน 147,157 ชุด เป็นเงิน 2,943,140 บาท
สัญญาที่โจทก์ตกลงแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ระบุจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ติดต่อเบิกหน้ากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปขาย และนำส่งค่าเบี้ยประกันภัยพร้อมสำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายได้หรือส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังขาดไม่ได้ให้แก่โจทก์ หากผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่โจทก์ มีลักษณะเป็นสัญญาอันเดียว ตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียว ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 804 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะต่างคนต่างทำการนั้น ๆ แยกกันไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยรถให้โจทก์แยกต่างหากจากกัน ทั้งยังได้ความจากจำเลยที่ 2 ว่า ในการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. จำเลยที่ 2 มีตัวแทนช่วงหรือทีมงานรับกรมธรรม์ พ.ร.บ. ไปขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขายเอง แต่เมื่อตัวแทนหรือทีมงานขายได้จะส่งสำเนากรมธรรม์และค่าเบี้ยประกันภัยให้จำเลยที่ 2 รวบรวมส่งต่อให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ตามลำดับโดยจำเลยที่ 2 ได้รับค่าใช้จ่ายด้วย ตามพฤติการณ์ถือว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนร่วมกันผูกพันตนในอันที่จะขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ให้แก่โจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายจากการทำหน้าที่ตัวแทน จำเลยทั้งสองก็ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
โจทก์จัดส่งหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามที่ทำเรื่องขอเบิกจ่าย และยังมีตารางกรมธรรม์ประกันภัยค้างอยู่กับฝ่ายจำเลย 147,157 ชุด จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่เบิกมาอยู่ที่ตัวแทนช่วงทั้งหมด มิได้อยู่ที่จำเลยที่ 1 แม้แต่ฉบับเดียว ตามคำเบิกความของ น. พยานโจทก์ การเบิกตารางกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องตรวจสอบว่าไม่มีหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยค้างชำระ แต่ในรอบขายเดือน ก.ค. และเดือน ส.ค. 2551 จำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามเช็คธนาคารพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 2,155,704.18 บาท โจทก์คงไม่จัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 อย่างแน่นอน โดยฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่นำส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ รวม 147,157 ชุด
ส่วนจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในค่าเสียหายเพียงใดนั้น เห็นว่า ข้อตกลงตามสัญญา ข้อ 6.2 ที่ให้ตัวแทนต้องชำระค่าเสียหายกรณีหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยสูญหาย เสียหาย ชำรุดใช้การไม่ได้ หรือไม่สามารถส่งคือให้แก่โจทก์ได้เป็นเงินชุดละ 300 บาท เป็นค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาใช่ต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาดเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หรือตัวแทนช่วงหรือทีมขายของจำเลยที่ 1 ได้นำตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ไม่ส่งคืนไปขาย หรือมีลูกค้ารายใดเรียกร้องให้โจทก์รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ พ.ร.บ. ดังกล่าว และโจทก์ไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากยังไม่มีการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายตามศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดเป็นเงินชุดละ 50 บาท นั้น สูงเกินไป เห็นสมควรลดลงเป็นจำนวนพอสมควรกับแนวทางปฏิบัติของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่คิดค่ายกเลิกตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. และค่าปรับตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. ชำรุด ชุดละ 20 บาท จำนวน 147,157 ชุด เป็นเงิน 2,943,140 บาท
สัญญาที่โจทก์ตกลงแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ระบุจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ติดต่อเบิกหน้ากรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปขาย และนำส่งค่าเบี้ยประกันภัยพร้อมสำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายได้หรือส่งคืนหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังขาดไม่ได้ให้แก่โจทก์ หากผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่โจทก์ มีลักษณะเป็นสัญญาอันเดียว ตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียว ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 804 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะต่างคนต่างทำการนั้น ๆ แยกกันไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนขายประกันภัยรถให้โจทก์แยกต่างหากจากกัน ทั้งยังได้ความจากจำเลยที่ 2 ว่า ในการขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. จำเลยที่ 2 มีตัวแทนช่วงหรือทีมงานรับกรมธรรม์ พ.ร.บ. ไปขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยที่ 1 มิได้ขายเอง แต่เมื่อตัวแทนหรือทีมงานขายได้จะส่งสำเนากรมธรรม์และค่าเบี้ยประกันภัยให้จำเลยที่ 2 รวบรวมส่งต่อให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ตามลำดับโดยจำเลยที่ 2 ได้รับค่าใช้จ่ายด้วย ตามพฤติการณ์ถือว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนร่วมกันผูกพันตนในอันที่จะขายกรมธรรม์ พ.ร.บ. ให้แก่โจทก์ เมื่อเกิดความเสียหายจากการทำหน้าที่ตัวแทน จำเลยทั้งสองก็ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เกิดขึ้นก่อนล้มละลาย ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นสิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งถึงที่สุดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลแทนจำเลยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2552 มูลหนี้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันดังกล่าว ก่อนศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 และเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ส่วนที่โจทก์มีมติเห็นชอบให้กำหนดจำนวนค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่องการรวบรวมค่าเสียหายให้ถูกต้องครบถ้วน มิใช่มูลหนี้ค่าเสียหายเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อโจทก์มีมติ เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงและขยายเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91