พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18103/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผูกพันชำระหนี้แทนลูกหนี้: สัญญาชำระหนี้โดยความสมัครใจ
บริษัท ค. ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างและเป็นลูกค้าโจทก์ซึ่งประกอบอาชีพขายเครื่องวัสดุก่อสร้าง ได้สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างมานานถึง 10 ปี เมื่อปี 2550 บริษัท ว. ได้ว่าจ้างบริษัท ค. ก่อสร้างโรงแรมเซ็นเตอร์พ้อยซ์ เรสสิเด้นท์ หลังสวน โดยบริษัท ค. ได้รับเงินสนับสนุนจากจำเลยในรูปของสินเชื่อเงินกู้ระยะสั้น โดยทำตั๋วสัญญาใช้เงินไว้เป็นหลักฐานตามบันทึกข้อตกลงกับสัญญารับชำระหนี้ และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันค่าวัสดุก่อสร้างที่บริษัท ค. สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ในวงเงิน 5,000,000 บาท บริษัท ค. ได้สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์หลายครั้ง และชำระเงินด้วยตนเองต่อมาบริษัท ค. ประสบภาวะขาดทุน ไม่มีเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกระทั่งกลางปี 2551 โจทก์งดขายวัสดุก่อสร้างให้แก่บริษัท ค. ขณะนั้นมีหนี้ค้างชำระโจทก์ 10,000,000 บาท หลังจากโจทก์งดสั่งวัสดุก่อสร้าง โจทก์โดย ธ. จำเลยโดย อ. ตัวแทน บริษัท ค. และบริษัท ว. ประชุมร่วมกันเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินต่อไป จำเลย โดย อ. ทำหนังสือสนับสนุนการเงินแก่บริษัท ค. จากนั้น โจทก์ได้ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่บริษัท ค. และโจทก์ได้รับค่าวัสดุก่อสร้างเป็นแคชเชียร์เช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายรวม 12 ฉบับ ต่อมาระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2553 โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้บริษัท ค. เป็นเงิน 1,139,520 บาท แต่ไม่ได้รับชำระโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยเพิกเฉย ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2553 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของบริษัท ค. และโจทก์ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายกลางมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ค.
การที่บริษัท ค. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยตรงไม่ผ่านจำเลย แต่จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้และการชำระสินค้าบริษัท ค. ก็ชำระค่าสินค้าโดยตรงแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์งดส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่บริษัท ค. เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนไม่มีเงินหมุนเวียนจนต้องมีการประชุมระหว่างฝ่ายโจทก์ จำเลย บริษัท ค. และบริษัท ว. เพื่อให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไปและฝ่ายจำเลยได้ออกหนังสือยืนยันสนับสนุนทางการเงิน นอกจากนี้วิธีการสั่งซื้อสินค้าและชำระค่าสินค้าก็เปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากแคชเชียร์เช็ค 12 ฉบับ เป็นแคชเชียร์เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งก็เป็นภายหลังที่มีการตกลงดังกล่าวหาก อ. ตัวแทนของจำเลยไม่รับรองต่อ ธ. ตัวแทนโจทก์และที่ประชุม ทั้งยังมีเอกสารยืนยันสนับสนุนทางการเงินแล้วโจทก์คงไม่ส่งวัสดุก่อสร้างให้บริษัท ค. ซึ่งปรากฏว่าจำเลยได้ชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นแคชเชียร์เช็คถึง 12 ฉบับ อันเป็นการชำระหนี้ตามข้อตกลงในที่ประชุมนั่นเอง อ. พยานจำเลยเบิกความยอมรับว่า การสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจำเลยกำหนดขั้นตอนการสั่งซื้อโดยบริษัท ค. ต้องแจ้งให้จำเลยทราบโดยตัวแทนของจำเลยจะลงลายมือชื่อในช่อง ACKNOWLEDGE ก่อนที่บริษัท ค. จะส่งใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่โจทก์ อันเป็นการเจือสมกับคำเบิกความของ ธ. ยิ่งกว่านั้นใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งของ ใบวางบิล และใบรับใบวางบิลระหว่างวันที่ 16 พ.ค. 2552 ถึงวันที่ 26 ม.ค. 2553 ก็มีลายมือชื่อของตัวแทนจำเลยในช่อง ACKNOWLEDGE ตรงมุมบนของเอกสารดังที่ ธ. และ อ. เบิกความ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยโดย อ. ตกลงชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างแก่โจทก์แทนบริษัท ค. จริง
การที่จำเลยตกลงชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างแทนบริษัท ค. และใบสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง ตัวแทนของจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้บริษัท ค. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์และโจทก์ได้ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่บริษัท ค. กับมีการขอรับชำระค่าสินค้าโดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เช่นนี้ จึงเป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของบริษัท ค. ที่มีต่อโจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยต้องรับผิดชำระค่าวัสดุก่อสร้างตามฟ้อง อย่างไรก็ตามปรากฏว่าโจทก์ได้ไปขอรับชำระค่าวัสดุก่อสร้างในคดีฟื้นฟูกิจการของบริษัท ค. ซึ่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งเป็นมูลหนี้ค่าวัสดุรายเดียวกัน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเงื่อนไขให้ชำระหนี้คดีนี้ไว้เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี
การที่บริษัท ค. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยตรงไม่ผ่านจำเลย แต่จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้และการชำระสินค้าบริษัท ค. ก็ชำระค่าสินค้าโดยตรงแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์งดส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่บริษัท ค. เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนไม่มีเงินหมุนเวียนจนต้องมีการประชุมระหว่างฝ่ายโจทก์ จำเลย บริษัท ค. และบริษัท ว. เพื่อให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไปและฝ่ายจำเลยได้ออกหนังสือยืนยันสนับสนุนทางการเงิน นอกจากนี้วิธีการสั่งซื้อสินค้าและชำระค่าสินค้าก็เปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากแคชเชียร์เช็ค 12 ฉบับ เป็นแคชเชียร์เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งก็เป็นภายหลังที่มีการตกลงดังกล่าวหาก อ. ตัวแทนของจำเลยไม่รับรองต่อ ธ. ตัวแทนโจทก์และที่ประชุม ทั้งยังมีเอกสารยืนยันสนับสนุนทางการเงินแล้วโจทก์คงไม่ส่งวัสดุก่อสร้างให้บริษัท ค. ซึ่งปรากฏว่าจำเลยได้ชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์เป็นแคชเชียร์เช็คถึง 12 ฉบับ อันเป็นการชำระหนี้ตามข้อตกลงในที่ประชุมนั่นเอง อ. พยานจำเลยเบิกความยอมรับว่า การสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจำเลยกำหนดขั้นตอนการสั่งซื้อโดยบริษัท ค. ต้องแจ้งให้จำเลยทราบโดยตัวแทนของจำเลยจะลงลายมือชื่อในช่อง ACKNOWLEDGE ก่อนที่บริษัท ค. จะส่งใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่โจทก์ อันเป็นการเจือสมกับคำเบิกความของ ธ. ยิ่งกว่านั้นใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งของ ใบวางบิล และใบรับใบวางบิลระหว่างวันที่ 16 พ.ค. 2552 ถึงวันที่ 26 ม.ค. 2553 ก็มีลายมือชื่อของตัวแทนจำเลยในช่อง ACKNOWLEDGE ตรงมุมบนของเอกสารดังที่ ธ. และ อ. เบิกความ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยโดย อ. ตกลงชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างแก่โจทก์แทนบริษัท ค. จริง
การที่จำเลยตกลงชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างแทนบริษัท ค. และใบสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง ตัวแทนของจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้บริษัท ค. สั่งซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์และโจทก์ได้ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่บริษัท ค. กับมีการขอรับชำระค่าสินค้าโดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เช่นนี้ จึงเป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของบริษัท ค. ที่มีต่อโจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยต้องรับผิดชำระค่าวัสดุก่อสร้างตามฟ้อง อย่างไรก็ตามปรากฏว่าโจทก์ได้ไปขอรับชำระค่าวัสดุก่อสร้างในคดีฟื้นฟูกิจการของบริษัท ค. ซึ่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งเป็นมูลหนี้ค่าวัสดุรายเดียวกัน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเงื่อนไขให้ชำระหนี้คดีนี้ไว้เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12544/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยอ้างโครงการจัดซื้อที่ไม่เป็นความจริง ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ได้
จังหวัดอุทัยธานีไม่เคยมีโครงการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ เพื่อมอบแก่เจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจ และไม่มีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นตามที่กลุ่มคนร้ายโทรศัพท์มาหลอกลวงโจทก์ร่วม ทั้งการที่โจทก์ร่วมมอบเงินแก่คนร้ายไปนั้น ก็หาได้ประสงค์เพื่อนำไปให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน แต่มอบเงินแก่คนร้ายก็ด้วยเหตุที่โจทก์ร่วมหลงเชื่อการหลอกลวงของกลุ่มคนร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมได้ร่วมกับกลุ่มคนร้ายนำสินบนไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการโดยมิชอบด้วยหน้าที่ เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินแก่คนร้ายไป โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของกลุ่มคนร้ายโดยตรงและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11414/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีในฐานะตัวแทนของเทศบาลต่อการกระทำผิดของเทศบาล
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลอันมีฐานะเป็นนิติบุคคล และตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 48 เตรส กำหนดให้นายกเทศมนตรีรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนของเทศบาลจำเลยที่ 1 ความประสงค์ของเทศบาลจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยผ่านจำเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อเทศบาลจำเลยที่ 1 กระทำความผิดโดยเกิดจากการแสดงออกของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าการกระทำอันเป็นความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วยและไม่อาจปัดความผิดไปให้ผู้อื่นได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8520/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์นายจ้าง - มูลค่าความเสียหาย - ราคาขายไม่ใช่ตัวชี้วัด - ชดใช้ตามราคาของทรัพย์
ขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันลักท่อนเหล็กวางเครื่องจักรของผู้เสียหายไปนั้น โรงงานของผู้เสียหายยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ซึ่ง ว. พนักงานของผู้เสียหายพยานโจทก์เบิกความว่า ท่อนเหล็กมีราคาท่อนละ 8,000 บาท รวม 2 ท่อน เป็นเงิน 16,000 บาท และเบิกความตอบโจทก์ถามติงว่า ท่อนเหล็กยังสามารถนำมาใช้งานต่อได้ ไม่ใช่วัสดุเหลือใช้จึงเห็นได้ว่าท่อนเหล็กยังมีประโยชน์ในการใช้สอยและมีมูลค่า เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันลักไปย่อมทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาตามมูลค่าของท่อนเหล็กที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหายตามความเป็นจริงในขณะเกิดเหตุ หาใช่รับผิดตามราคาที่จำเลยทั้งสองนำไปขายไม่ เพราะขณะที่จำเลยทั้งสองขายนั้นเป็นการขายอย่างเศษวัสดุสิ่งของเหลือใช้ที่ไม่มีมูลค่าตามความเป็นจริง ทั้งเป็นการขายในขณะที่จำเลยทั้งสองไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่พึงใช้ความระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเฉกเช่นวิญญูชนทั่วไปพึงกระทำ และเมื่อพิจารณาท่อนเหล็กวางเครื่องจักรซึ่งมีรูปร่างลักษณะเหมือนที่ปรากฏในภาพถ่ายประกอบราคาที่ ว. พยานโจทก์เบิกความแล้ว เห็นว่า เป็นราคาที่มีมูลค่าเหมาะสมตามสภาพและประโยชน์ใช้สอยในขณะเกิดเหตุแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 16,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22267/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยจำเลยครอบครองเงินร่วมกับโจทก์ และการร้องทุกข์ที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบของการร้องทุกข์ว่าต้องดำเนินการอย่างไร การที่โจทก์ร่วมแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย และพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำโจทก์ร่วมไว้ จึงถือว่าเป็นการร้องทุกข์แล้ว แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้บันทึกการมอบคดีความผิดอันยอมความไว้ก็ตาม พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมมอบเงินให้จำเลยไว้ใช้จ่ายร่วมกันในครอบครัว การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีได้ จำเลยจึงเปิดบัญชีและฝากเงินในชื่อของจำเลยเพียงคนเดียว ถือได้ว่าจำเลยครอบครองเงินที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ร่วมบอกให้จำเลยคืนเงินแต่จำเลยไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเบียดบังยักยอกเอาเงินซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่ แต่เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันในเงินดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงกึ่งหนึ่งในเงินจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
โจทก์ร่วมมอบเงินให้จำเลยไว้ใช้จ่ายร่วมกันในครอบครัว การที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีได้ จำเลยจึงเปิดบัญชีและฝากเงินในชื่อของจำเลยเพียงคนเดียว ถือได้ว่าจำเลยครอบครองเงินที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ร่วมบอกให้จำเลยคืนเงินแต่จำเลยไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเบียดบังยักยอกเอาเงินซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่ แต่เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันในเงินดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงกึ่งหนึ่งในเงินจำนวนดังกล่าวเท่านั้น