คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ณัฏฐชัย ไวยภาษจีรกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11001/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักชวนเข้าสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ต้องมีเจตนาให้เป็นสมาชิกจริง และอาจเข้าข่ายหลอกลวงหากไม่มีเจตนาช่วยเหลือ
การที่จะถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 34 ได้นั้น ผู้กระทำจะต้องชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการผู้อื่นโดยเจตนาให้ผู้อื่นนั้นเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ หากเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็เป็นความผิดตามมาตรา 33 แต่หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวเพื่อให้ผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ผู้กระทำต้องชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นด้วยจึงจะเป็นความผิดตามมาตรา 34 ส่วนความผิดตามมาตรา 61 เป็นบทกำหนดโทษสำหรับผู้ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน เพื่อควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 (ข) ว่า จำเลยทั้งแปดโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ พูดชักชวน ชี้ช่อง จัดการให้ประชาชนเข้าเป็นสมาชิกในชมรมดังกล่าว และประกาศทางใบปลิวว่า ได้ก่อตั้งชมรมโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์นำเงินไปช่วยเหลือค่าจัดการศพสมาชิกที่ตาย หากประชาชนผู้ใดประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องเสียเงินค่าสมัครคนละ 290 บาท ค่าจัดการศพให้แก่สมาชิกที่ตายทุกเดือน เดือนละ 480 บาท ผ่านทางจำเลยทั้งแปดกับพวก และหากสมาชิกตายเมื่อครบกำหนด 3 เดือน ได้รับเงิน 30,000 บาท หากครบ 6 เดือน ได้รับเงิน 50,000 บาท โดยจะไม่โกงหรือเลิกกิจการ แต่ความจริงจำเลยทั้งแปดกับพวกมิได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และไม่มีเจตนานำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกที่ตาย และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นทำให้ประชาชนหลงเชื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกและจ่ายเงินค่าสมัครและเงินค่าจัดการศพสมาชิกที่ตายให้แก่จำเลยทั้งแปดกับพวกไป ฟ้องของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยทั้งแปดไม่มีเจตนาชักชวนผู้เสียหายเข้าเป็นสมาชิกกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์เพราะไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกอื่นที่ถึงแก่ความตาย และมิได้มีเจตนาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามบทนิยามของกฎหมายแต่อย่างใด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 61 แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพในความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนและมิได้ยกขึ้นอ้างชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ฟ้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คำสั่งไม่รับฎีกาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท เมื่อผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง และประธานศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการรับฎีกาไว้พิจารณา จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาโดยอ้างเหตุว่าฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะมีผลให้รับฎีกาไว้พิจารณา แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้กระทำ จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกานั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 252 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 อย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9277/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การแบ่งมรดกที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจนำมาฟ้องใหม่ได้ แม้จะอ้างว่ายังมีทรัพย์สินที่ไม่ได้แบ่ง
ในคดีก่อน ส.ฟ้องทายาทของร้อยตำรวจโท ค. เพื่อขอแบ่งปันทรัพย์มรดก และมีการตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกัน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความ ส่วนวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกจะถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่คู่ความในคดีดังกล่าวต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี หาใช่นำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ เมื่อการประมูลทรัพย์มรดกเป็นการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิม หากไม่ถูกต้องโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ต้องไปโต้แย้งในชั้นบังคับคดีในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นคดีใหม่ ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกตามสัญญาแบ่งมรดกจึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีก ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ที่โจทก์อ้างว่ายังมีทรัพย์มรดกอื่นที่ไม่ได้ตกลงกันในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นด้วย กองมรดกที่ตกทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600, 1602 ถือเป็นการได้ทรัพย์มาโดยอาศัยสิทธิอันเดียวกัน มิใช่เป็นการได้มาโดยอาศัยสิทธิในทรัพย์แต่ละชิ้นเป็นสิทธิต่างรายกัน ประเด็นที่วินิจฉัยจึงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินงอกริมตลิ่งสาธารณประโยชน์: สิทธิในที่ดินงอกเป็นของที่ดินสาธารณประโยชน์เดิม
ในขณะที่ ข. นำรังวัดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เพื่อออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1837 เมื่อปี 2508 นั้น ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะนั้นได้ตกลงยินยอมให้นายอำเภอบางละมุงกันที่ดินส่วนสุดเขตทางด้านทิศตะวันตกที่ระบุว่าจดทะเลไปจนถึงทะเลในระยะ 15 เมตร ไว้เป็นที่ชายทะเลสาธารณประโยชน์ ซึ่งถือได้ว่า ข. ได้ยกหรืออุทิศที่ดินส่วนนั้นให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว แม้จะมิได้มีการทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เมื่อที่ดินที่กันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์เกิดที่งอกริมตลิ่งขึ้น ที่ดินที่งอกขึ้นนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินของที่สาธารณประโยชน์แปลงนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 หาใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ไม่
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่า ตามหลักฐานที่ปรากฏในรูปแผนที่โฉนดที่ดินเลขที่ 1837 ระบุว่า ด้านทิศตะวันตกของที่ดินจดชายทะเล ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "ที่ชายทะเล" หมายถึง "เขตระหว่างแนวน้ำทะเลต่ำสุดกับแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด" ซึ่งแสดงว่า แต่เดิมที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกที่เกิดที่งอกนั้นติดชายทะเลที่น้ำท่วมถึง ที่ดินที่น้ำขึ้นลงดังกล่าว (ชายหาด) ย่อมเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทประชาชนใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมิได้อยู่ติดกับทะเล แต่มีชายทะเล (ชายหาด) กั้นอยู่ระหว่างที่ดินของโจทก์กับพื้นน้ำทะเล ที่ดินที่งอกขึ้นจากชายทะเลดังกล่าว จึงเป็นที่ดินที่งอกขึ้นจากที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่งอกดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพื้นที่ที่ดินที่งอกขึ้นมา ตามคำให้การของจำเลยเช่นว่านี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่งอกริมตลิ่งที่ดินพิพาท มิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ โดยอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่งอกริมตลิ่งพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ชายทะเล ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หาใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ไม่ ส่วนที่จำเลยนำสืบว่าที่ชายหาดเป็นที่สาธารณประโยชน์ เนื่องจาก ข. เจ้าของที่ดินเดิมตกลงอุทิศให้แก่อำเภอบางละมุงนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้อเถียงตามคำให้การจำเลยในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่งอกริมตลิ่งพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่สาธารณประโยชน์นั่นเอง จึงหาใช่เป็นการนำสืบและพิพากษาคดีนอกฟ้องนอกประเด็นอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9129/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกที่ดิน: ข้อจำกัดการโอน, การโอนทางมรดก, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ในคดีก่อน โจทก์กับ ท. ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 นั้น ถือได้ว่าการที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องบุคคลภายนอกแทนทายาทคนอื่น ๆ ด้วย เพราะหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์ในกองมรดก ทายาททุกคนย่อมได้รับประโยชน์ แต่การที่โจทก์กับ ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 90,000 บาท แก่โจทก์กับ ท. และศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว การกระทำของโจทก์ในฐานะทายาทซึ่งเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกใช้สิทธิขัดกับทายาทอื่นหรือเจ้าของรวมคนอื่น คำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวคงผูกพันเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้น หาได้ผูกพันทายาทอื่นหรือเจ้าของรวมคนอื่นไม่ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีนี้อีก จึงเป็นคู่ความเดียวกันและมีประเด็นเดียวกัน คือ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 กับคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำเฉพาะส่วนของโจทก์ในฐานะส่วนตัวเท่านั้น แต่ในส่วนผู้จัดการมรดกหาได้เป็นฟ้องซ้ำด้วยไม่
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตามมาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน มุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงจากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ตามคำสั่งศาล จดทะเบียนใส่ชื่อตนเองในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนมาเป็นชื่อตนเองในฐานะทายาทในวันเดียวกันเช่นนี้ ถือเป็นการโอนทางมรดกซึ่งเข้าข้อยกเว้น จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนในฐานะทายาทเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หลังจากพ้นระยะเวลาห้ามโอนแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลภายนอกได้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9129/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน และผลของการประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันเฉพาะผู้ทำ
การที่โจทก์กับนาง ท. ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ในคดีก่อน นั้น ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องบุคคลภายนอกแทนทายาทคนอื่นๆ ด้วย เพราะหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์ในกองมรดก ทายาททุกคนย่อมได้รับประโยชน์ แต่การที่โจทก์กับนาง ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 90,000 บาท แก่โจทก์กับนาง ท. และศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว การกระทำของโจทก์ในฐานะทายาทซึ่งเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกใช้สิทธิขัดกับทายาทอื่นหรือเจ้าของรวมคนอื่น คำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวคงผูกพันเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้น หาได้ผูกพันทายาทอื่นหรือเจ้าของรวมคนอื่นไม่ เมื่อโจทก์ใช้อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคดีนี้อีก จึงเป็นคู่ความเดียวกันและมีประเด็นเดียวกัน คือ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 กับคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำเฉพาะส่วนของโจทก์ในฐานะส่วนตัวเท่านั้น แต่ในส่วนผู้จัดการมรดกหาได้เป็นฟ้องซ้ำด้วยไม่
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน มุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงจากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนาง น. ตามคำสั่งศาลจดทะเบียนใส่ชื่อตนเองในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนมาเป็นชื่อตนเองในฐานะทายาทในวันเดียวกันเช่นนี้ ถือเป็นการโอนทางมรดก ซึ่งเข้าข้อยกเว้น จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนในฐานะทายาทเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หลังจากพ้นระยะเวลาห้ามโอนแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลภายนอกได้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6912/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากการไม่ชำระค่าขึ้นศาล และขอบเขตอำนาจศาลในการจำหน่ายคดีเฉพาะส่วน
คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยและบังคับตามฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 238,329 บาท และทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งจำนวน 238,329 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์มาชำระค่าขึ้นศาลให้ครบภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด โจทก์ยื่นคำร้องขอชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยจำนวน 1,000 บาท และแถลงว่าไม่ประสงค์ที่จะชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในส่วนของฟ้องโจทก์ครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้เฉพาะอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งเท่านั้นจะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดรวมทั้งอุทธรณ์ส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6912/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และขอบเขตการจำหน่ายคดีเฉพาะส่วนอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยและบังคับตามฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ตามฟ้อง และทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้ง แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์มาชำระค่าขึ้นศาลให้ครบภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด โจทก์ยื่นคำร้องขอชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยจำนวน 1,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมภายใน 15 วัน โจทก์แถลงว่าไม่ประสงค์ที่จะชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่ โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในส่วนของฟ้องโจทก์ครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้เฉพาะอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งเท่านั้น จะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดรวมทั้งอุทธรณ์ส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี-การขยายเวลาวางเงินซื้อทรัพย์-คำสั่งกรมบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตตามคำสั่งศาลเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิม โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ย่อมมีอำนาจดำเนินการใดๆ ในชั้นบังคับคดี รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองใหม่ได้
คดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดระหว่างที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ การที่ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่มอีกร้อยละ 5.5 และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลืออีกครั้งระหว่างการไต่สวนคำร้องขอของโจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไปจนกว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจะถึงที่สุด อันเป็นไปตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน ข้อ 14 ที่ระบุว่า ในกรณีที่มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อทรัพย์ประสงค์จะได้รับเงินคืนและผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้คืนเงินให้ผู้ซื้อ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อโดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย หากศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยคำสั่งนี้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อ 85 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมบังคับคดีขยายกำหนดเวลาชำระเงินได้ตามที่เห็นสมควร หากทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงมากหรือมีเหตุผลพิเศษประการอื่น คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ตายมีสิทธิจัดการได้ ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้จัดการมรดก
จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้
of 13