คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 746

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179-5180/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานจำเลย และการนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสารชำระหนี้
เมื่อศาลล่างทั้งสองไม่ได้นำเอาคำเบิกความของพยานโจทก์ตามบัญชีระบุพยาน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นหลังจากที่สืบพยานจำเลยเสร็จแล้วมาวินิจฉัยในการฟังข้อเท็จจริง ฉะนั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ฉบับดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบว่าใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้างเป็นการออกให้เพื่อการชำระหนี้จำนวนใดได้ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารและไม่เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก) และ (ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินเฉพาะเมื่อมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์ต่อทรัพย์สินนั้นเท่านั้น แม้เจ้าของเดิมมีหนี้อื่นก็ไม่อาจใช้สิทธิยึดหน่วงได้
ผู้จำนองชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้วผู้รับจำนองจะยึดโฉนดไว้ไม่จดทะเบียนรับไถ่และคืนโฉนดแก่ผู้จำนองไม่ได้การที่ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้เจ้าของร่วมคนอื่นในหนี้รายอื่น ไม่ทำให้มีสิทธิ ยึดหน่วงโฉนดไว้ได้ผู้จำนองฟ้องบังคับให้จดทะเบียนไถ่จำนองและ เรียกโฉนดคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612-615/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่าย-ปฏิเสธการจ่ายเงิน-การออกเช็คแทนกัน-การรับผิดตามเช็ค-หน้าที่พิสูจน์
โจทก์กู้เงินจำเลยและจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน ต่อมาโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้จำเลยเพื่อชำระหนี้จำนองดังกล่าวบางส่วน และจำเลยได้รับเงินตามเช็คนั้นแล้วดังนี้ แม้มิได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองบางส่วนแต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ว่าผู้รับจำนองยินยอมให้แบ่งไถ่ถอนจำนองได้ทั้งการจำนองที่ดินนี้เป็นการจำนองเพื่อประกันเงินกู้ การผ่อนชำระต้นเงินกู้บางส่วนหาต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ผลตามกฎหมายจึงมิใช่ว่าโจทก์มิได้ชำระหนี้เงินกู้ให้จำเลยดังจำเลยอ้าง
กรณีคู่ความซึ่งมีหน้าที่นำสืบพยานภายหลังต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคแรก(ข) นั้น หมายความว่าเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำ หรือหนังสือซึ่งพยานที่มาเบิกความได้กระทำขึ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำพยานมาสืบก่อน แต่ตัวโจทก์ซึ่งจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คให้ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่จะมาเบิกความแม้จะมีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้มาเบิกความต่อศาลก็ตามก็มิใช่ผู้ที่จำเลยออกเช็คให้โดยตรง จึงมิใช่กรณีที่จำเลยต้องถามค้านไว้ก่อนตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยแทนเช็คฉบับก่อนที่จำเลยอ้างว่าหายไปเมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำเช็คฉบับที่อ้างว่าหายนั้นไปขึ้นเงินได้แล้วโจทก์ไม่ต้องรับผิดตามเช็คฉบับพิพาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612-615/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองบางส่วน, เช็คค้ำประกัน, และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับชำระหนี้
โจทก์กู้เงินจำเลยและจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน ต่อมาโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้จำเลยเพื่อชำระหนี้จำนองดังกล่าวบางส่วน และจำเลยได้รับเงินตามเช็คนั้นแล้ว ดังนี้ แม้มิได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองบางส่วน แต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ว่าผู้รับจำนองยินยอมให้แบ่งไถ่ถอนจำนองได้ ทั้งการจำนองที่ดินนี้เป็นการจำนองเพื่อประกันเงินกู้ การผ่อนชำระต้นเงินกู้บางส่วนหาต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ ผลตามกฎหมายจึงมิใช่ว่าโจทก์มิได้ชำระหนี้เงินกู้ให้จำเลยดังจำเลยอ้าง
กรณีคู่ความซึ่งมีหน้าที่นำสืบพยานภายหลังต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคแรก (ข) นั้น หมายความว่าเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำ หรือหนังสือซึ่งพยานที่มาเบิกความได้กระทำขึ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำพยานมาสืบก่อน แต่ตัวโจทก์ซึ่งจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็คให้ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่จะมาเบิกความ แม้จะมีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้มาเบิกความต่อศาลก็ตาม ก็มิใช่ผู้ที่จำเลยออกเช็คให้โดยตรง จึงมิใช่กรณีที่จำเลยต้องถามค้านไว้ก่อนตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยแทนเช็คฉบับก่อนที่จำเลยอ้างว่าหายไป เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำเช็คฉบับที่อ้างว่าหายนั้นไปขึ้นเงินได้แล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องรับผิดตามเช็คฉบับพิพาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองเมื่อมีการยกทรัพย์ชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 521/2493,1112/2493)
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ ส. จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนเมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไปจำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองการจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองเมื่อมีการยกทรัพย์ชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของ. ส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์(อ้างฎีกาที่ 521/2493,1112/2493).
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น. หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป. ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ. ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้. โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่.
การที่ พ.ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ส. จำนองไว้กับพ.ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน. เมื่อพ.กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382.สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไป.จำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง. การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่. เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว. หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1). ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอก.ซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746. การจำนองก็ไม่ระงับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองจากการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์ จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 521/2493, 1112/2493)
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้ โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ ส. เอาที่พิพาทที่ ส.จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน เมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. จึงระงับไป จำเลยจะเถียงกันว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744 (1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่า เมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนอง: สัญญาจำนองเป็นหลัก สารบัญญัติในสัญญาสำคัญกว่าพยานหลักฐานอื่น แม้มีการตกลงนอกสัญญา
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้ สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้ สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้น เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้น จำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง 16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอาสารสัญญากู้ที่ลูหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจำได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่น ๆ เป็ฯไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้อง แต่เมื่องสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างมากน้องเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่น ๆ นอกสัญญาจำนอง ดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลย+ถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องของให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็ฯประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่าง ๆ กัน ผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอ-ต่อศาลขอแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดี ศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง.
of 3