คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินเดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัย แม้เป็นที่มือเปล่าก็ยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ขาดอายุความ
ที่ดินแม้จะเป็นที่มือเปล่าเมื่อปรากฎว่าผู้ครอบครองเคยปลูกเรือนเสาไม้แก่นฝาขัดแตะหลังคาจากมีรั้งไม่ไผ่ล้อมรอบ ให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่นับ 10 ปี เพิ่งรื้อไปปลูกในที่ดินเมื่อ 8 ปีมาแล้ว ทั้งโดยรอบก็เป็นที่บ้านดังนี้ ย่อมถือได้ว่าที่นี้สภาพเคยเป็นที่บ้านมาแล้วจึงได้รับความคุ้มครองตาม ก.ม.ลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 โจทก์ฟ้องเมื่อจำเลยเข้าแย่งการครอบครองเพียงปีเศษคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ที่ ๆ ยังมีผู้ครอบครองอยู่มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าผู้ใดจะเข้าจับจองทับที่ซึ่งมีผู้ครอบครองอยู่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696-698/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิที่ดินจากตราจอง: การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องและการกลับเป็นที่ว่างเปล่า
ที่ดินมีตราจองก่อน พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 นั้น แม้เจ้าพนักงานจะได้ตราไว้ว่า "ได้ทำประ โชน์แล้ว" หรือตราไว้ว่า "ทำประโชน์สมควรแก่เนื้อที่" แล้วศาลฎีกาก็เห็นว่า ตราจองชะนีดนี้ถ้าผู้ถือตราจองได้ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมาโดยมิได้ละทิ้งจนถึงวันประกาศใช้ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แล้ว มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงรับรองว่า ผู้ถือตราจองมีกรรมสิทธิที่ดินตามตราจองนั้น.
ฉะนั้นเมื่อก่อนออก พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 เจ้าของที่ดินตามตราจอง แม้ที่ตราไว้ว่า " ได้ทำ ประโยชน์แล้ว" ก็ตาม ถ้าได้ทอดทิ้งไม่ทำให้เป็นประโยชน์เกิน 3 ปีแล้ว ที่ดินนั้นก็กลับเป็นที่ว่างเปล่าตามเดิม และ แม้จะโอนให้ใคร ๆต่อไป จะเป็นการโอนทางทะเบียนหรือไม่ก็ดี ผู้รับโอนก็ย่อมไม่ได้สิทธิอะไรในที่ดินนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน: สิทธิคืนเป็นของผู้ถูกเวนคืนเดิม ไม่ใช่ผู้รับโอนภายหลัง
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดยพ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯ กรรมสิทธิ์ย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินนั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักกฎหมายในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯมาตรา 4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างสะพานหรือถนนแล้วนั้นหมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นตัวเงินให้เท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิคืนเมื่อไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ & ผู้มีสิทธิรับคืน
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดย พ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ กรรมสิทธิย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่ศูนย์เสียทรัพย์นั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักก.ม.ในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้ว ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน ฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ ม.4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างสพานหรือถนนแล้วนั้น หมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นต้วเงินให้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983-986/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในไม้สักบนที่ดินของแผ่นดิน แม้มีการครอบครองและปลูกสร้างบ้านเรือนโดยไม่ได้รับอนุญาต
ป่าสักของแผ่นดินนั้น แม้จะมีผู้ไปครอบครองและปลูกบ้านเรือนอยู่โดยไม่ได้ร้องขอเหยียบย่ำจับจองแต่อย่างใดแล้ว ก็ไม่มีสิทธิจะตัดฟันไม้สักในบริเวณนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อเขตที่ดินไม่ตรงกับโฉนด การไม่สุจริตของผู้ซื้อ
โจทก์จำเลยต่างซื้อที่ดินมีโฉนด ซึ่งอยู่ติดต่อกันคนละโฉนดแล้วต่างเข้าปกครองตามเขตที่ผู้ขายเดิมครอบครองมา ทั้งสองฝ่ายภายหลังรังวัดสอบเขตตามโฉนดกันจึงปรากฎว่าเขตที่ดินที่โจทก์ปกครองตั้งแต่ซื้อตลอดมานั้นล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของจำเลยส่วนหนึ่ง ดังนี้เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้ปกครองที่ดินส่วนที่ล้ำเข้าไปนั้นเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยจะอ้าง ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1299,1300 มาคุ้มครองจำเลยโดยจำเลยจะเอาทีส่วนที่โจทก์ปกครองนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินโดยมือเปล่าและการคุ้มครองตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 หากยังไม่ถึง 9-10 ปี
ผู้ที่ได้ครอบครองที่บ้านที่สวนอยู่โดยมือเปล่าก่อนมีป.ม.ก.ม.แพ่งและพาณิชย์และ ก.ม.ว่าด้วยการออกโฉนดที่ดินนั้น ได้รับความคุ้มครองตาม ก.ม.ลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 คือสละที่ดินไปยังไม่ถึง 9 ปี 10 ปี ก็ยังไม่ขาดสิทธิในที่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงกรรมสิทธิในที่ดินที่ได้จากการยกให้และการครอบครอง การเปลี่ยนแปลงสภาพคดีจากคำร้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
ยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินที่มีโฉนด ซึ่งมีผู้ยกให้ตนปกครองมาจนได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1382 และขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนให้ผู้ร้องนั้น เมื่อบิดาผู้ร้องคัดค้านโต้แย้งเข้ามาทำให้คดีแปรสภาพเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 188(4) ก็ตามและการที่ผู้คัดค้านเข้ามามีฐานะเป็นคู่ความ ไม่ใช่เป็นการกระทำของผู้ร้อง ดังนั้นจึงเรียกไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟ้องบุพพการีของตน คดีจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน แม้ได้รับอนุญาตจับจอง หากไม่ทำประโยชน์และมีผู้อื่นครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่อง ย่อมมีสิทธิเหนือกว่า
ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จับจองที่ดิน ผู้รับจะต้องทำประโยชน์ในที่นั้น ถ้าไม่ได้ทำ และมีผู้อื่นเข้าทำอยู่ในที่นั้น จนได้รับใบเหยียบย่ำ และได้จดทะเบียนสิทธิไว้ที่อำเภอหลายปีแล้ว ดังนี้ ผู้ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จับจอง จะฟ้องขับไล่ผู้นั้นไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจับจองที่ดินรกร้างและการฟ้องร้องขัดขวางสิทธิ
ประชาชนมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าได้ เมื่อมีผู้ร้องคัดค้านอ้างว่าเป็นที่ดินของผู้คัดค้าน เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับใบเหยียบย่ำตามกฎหมาย ผู้ร้องก็มีสิทธิฟ้องร้องผู้คัดค้านผู้มาขวางสิทธิของตนได้
of 3