พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนดในใบส่งของ และการคิดดอกเบี้ยโดยไม่ต้องเตือน
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้าพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยตามที่ระบุไว้ในใบส่งของว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า โจทก์ส่งมอบสินค้าครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2540 และครั้งหลังเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จำเลยจึงต้องชำระราคาครั้งแรกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 และครั้งหลังในวันที่ 17 สิงหาคม 2540 จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระตามกำหนด ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการเรียกร้องเงินคืนเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน พร้อมตึกแถวสามชั้นครึ่งหนึ่งคูหากับจำเลยในราคา 3,200,000 บาท โจทก์ชำระเงินดาวน์ในวันทำสัญญา 300,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระเมื่อจำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จ แต่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อจำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จพร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีหน้าที่รับโอนตึกแถวพร้อมที่ดินดังกล่าวและชำระราคาส่วนที่เหลือแก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลย แม้ทั้งโจทก์และจำเลยต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้แก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ก็ตาม แต่ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยจะสามารถจัดการขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้เป็นผลสำเร็จได้ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินให้พร้อมเพื่อชำระให้แก่จำเลย แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสืออันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จและพร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์เกือบ 1 ปี อันเป็นการบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรแล้ว หนังสือดังกล่าวมีข้อความระบุชัดว่า หากล่วงพ้นกำหนดเวลา 15 วันแล้ว โจทก์ไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ จำเลยขอถือเอาหนังสือฉบับนั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ชำระเงินภายในเวลาที่จำเลยกำหนด สัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นอันเลิกกันเมื่อล่วงพ้น 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือทวงถาม อันเป็นผลจากการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยสมัครใจตกลงเลิกสัญญาต่อกันไม่ โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
เงินดาวน์ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้
โจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง ซึ่งผลแห่งการนี้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน ให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าว ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความเสียหายที่จำเลยจะได้รับจากการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้น จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
เงินดาวน์ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้
โจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง ซึ่งผลแห่งการนี้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน ให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าว ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความเสียหายที่จำเลยจะได้รับจากการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้น จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินโบนัสตามผลดำเนินงาน สัญญาจ้างกำหนดสิทธิขั้นต่ำ และผลของการผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจ้างกำหนดสิทธิที่โจทก์จะได้รับเงินโบนัสจากจำเลยว่า "เงินโบนัสตามผลดำเนินงานของบริษัท โดยบริษัทจะจ่ายเงินโบนัสให้อย่างน้อยปีละ 1 เท่าของเงินเดือน ในวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี" ย่อมหมายความว่า บริษัทจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์จำนวนมากน้อยตามผลการดำเนินงานของบริษัท แต่อย่างน้อยต้องจ่ายปีละ 1 เท่าของเงินเดือน โดยจ่ายให้แก่โจทก์ในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินโบนัสของปี 2541 ให้แก่โจทก์ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง มาตรา 7 และ 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7002/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดรองการใช้บัตรเครดิต: สัญญาทำการงาน อายุความ 2 ปี เริ่มนับจากผิดนัด
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ และนำบัตรที่โจทก์ออกให้ไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้ากับเบิกเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารในระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน 2532ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2532 หลายครั้ง โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลย แต่จำเลยไม่ชำระคืนให้โจทก์ โจทก์จึงยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของจำเลยและทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้ง จำเลยไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้า และเบี้ยปรับผิดสัญญาในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 113,245.77 บาท โดยโจทก์ได้แนบสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีมาท้ายฟ้องเพื่อให้จำเลยตรวจสอบด้วยแล้ว ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นรายละเอียดแห่งหนี้ที่แสดงรายการที่จำเลยนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้ซื้อสินค้าบริการและเบิกเงินสดในแต่ละครั้งไว้ ซึ่งรายการดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นสถานที่ใดและในวันใด ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าอัตราดอกเบี้ยขณะที่จำเลยผิดสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้เท่าไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสด โจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกที่ธนาคารโจทก์โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วย และการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 (7)
โจทก์จำเลยได้ตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ไว้ว่า เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนไปแล้ว โจทก์จัดส่งใบแจ้งยอดบัญชีให้จำเลยทราบโดยคิดยอดหนี้ทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ปรากฏว่าใบแจ้งยอดบัญชีครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ดังนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่6 ธันวาคม 2532 โจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536จึงเกิน 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบกิจการค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสด โจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกที่ธนาคารโจทก์โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ด้วย และการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 (7)
โจทก์จำเลยได้ตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ไว้ว่า เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนไปแล้ว โจทก์จัดส่งใบแจ้งยอดบัญชีให้จำเลยทราบโดยคิดยอดหนี้ทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ปรากฏว่าใบแจ้งยอดบัญชีครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2532 ดังนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่6 ธันวาคม 2532 โจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536จึงเกิน 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ศาลมีสิทธิบังคับคดี และประเด็นการยึดทรัพย์สินสมรส
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน ช่วง 3 เดือนแรก คือเดือนธันวาคม 2536 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2537 เดือนละ 10,000บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2537 เป็นต้นไปเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่ 20 มกราคม 2537 เป็นเงิน 5,000 บาท และในวันที่ 24 มกราคม2537 อีก 5,000 บาท เป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด ถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที แม้จะชำระภายหลัง
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่15ของเดือนช่วง3เดือนแรกคือเดือนธันวาคม2536เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2537เดือนละ10,000บาทตั้งแต่เดือนมีนาคม2537เป็นต้นไปเดือนละ15,000บาทจนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่15ธันวาคม2536ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่20มกราคม2537เป็นเงิน5,000บาทและในวันที่24มกราคม2537อีก5,000บาทเป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อธ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรสในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วยและถ้าเป็นของธ.จริงก็เป็นเรื่องของธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้นปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกาทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคแรกจำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยชอบ แม้ต่างจากตกลงวิธีชำระเดิม
การที่คู่ความตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าโดยนำเงินค่าเช่าเข้าบัญชีเงินฝากประจำของ ว. สามีโจทก์ เป็นวิธีการชำระหนี้เพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลย แต่เมื่อจำเลยนำค่าเช่าไปขอชำระให้โจทก์ที่บ้านของโจทก์โดยตรงภายในเวลาที่กำหนดไว้ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วโจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ไม่อาจจะดำเนินการขอบังคับคดีแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยต้องส่งมอบในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งาน
ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท (ทาวน์เฮาส์) จำนวน 2 ห้อง ในสภาพที่ดีพร้อมที่ดินให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด หากผิดนัดยอมชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยได้โอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด แต่บ้านหลังหนึ่งยังไม่มีฝ้าเพดานห้องน้ำและทั้งสองหลังไม่อาจใช้ไฟฟ้าได้เพราะยังไม่ได้ติดตั้งมิเตอร์ บ้านพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย บ้านที่มีสภาพดีจะต้องมีสภาพเข้าอยู่อาศัยเป็นปกติสุขได้ ไฟฟ้ามีความจำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องจัดการให้เรียบร้อยสมบูรณ์ก่อนส่งมอบ จำเลยมีเวลาเกือบ 5 เดือน ในการปฎิบัติตามสัญญา แต่หาได้ตรวจสอบดูแลสภาพของบ้านพิพาทก่อนว่ามีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง หรือไม่สมบูรณ์เพื่อจะปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบไม่ แสดงว่าไม่นำพาจะปฏิบัติตามสัญญาให้ครบถ้วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่ดีแล้ว และมิใช่ข้อบกพร่องเล็กน้อย หรืออยู่นอกเหนือสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ ศาลบังคับคดีได้ตามฟ้องเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมมีใจความว่าจำเลยยอมชำระเงิน35,000บาทให้แก่โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นงวดงวดแรกชำระเป็นเงิน40,000บาทภายใน5เดือนนับแต่วันทำสัญญางวดหลังชำระอีก35,000บาทภายใน4เดือนโดยนับต่อจากงวดแรกหากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใดให้โจทก์บังคับคดีได้ตามฟ้องทันทีข้อความตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมมีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงิน75,000บาทให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นสองงวดแต่ละงวดจะต้องชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้หากจำเลยผิดนัดชำระเงินไม่ว่าในงวดใดจำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระเงินตามที่โจทก์ฟ้องจำนวน150,000บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยเมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกโจทก์จึงมีสิทธิร้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้จำนวน150,000บาทพร้อมดอกเบี้ยแม้ต่อมาจำเลยได้นำเงินไปวางชำระหนี้ให้โจทก์จำนวน78,202บาทแต่เป็นการวางชำระหนี้ยังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีสิทธิบังคับคดีตามจำนวนที่ฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมมีใจความว่า จำเลยยอมชำระเงิน 75,000 บาท ให้แก่โจทก์ โดยแบ่งชำระเป็นงวด งวดแรกชำระเป็นเงิน 40,000 บาท ภายใน 5 เดือน นับแต่วันทำสัญญา งวดหลังชำระอีก 35,000 บาท ภายใน 4 เดือน โดยนับต่อจากงวดแรกหากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใดให้โจทก์บังคับคดีได้ตามฟ้องทันที ข้อความตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า จำเลยจะต้องชำระเงิน75,000 บาท ให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นสองงวด แต่ละงวดจะต้องชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากจำเลยผิดนัดชำระเงินไม่ว่าในงวดใด จำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระเงินตามที่โจทก์ฟ้อง จำนวน 150,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 150,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย แม้ต่อมาจำเลยได้นำเงินไปวางชำระหนี้ให้โจทก์จำนวน 78,202 บาทแต่เป็นการวางชำระหนี้ยังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้