คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 224 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 345 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาและการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อไม่มีข้อตกลงเรื่องจำนวนค่าตอบแทน ศาลมีอำนาจกำหนดตามผลงาน
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษา ทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครง-การทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลย-ที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ ค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษาทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครงการทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8157/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของลูกจ้าง-นายจ้าง, ค่าปลงศพ, ความรับผิดร่วม, ดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพให้โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ ว.จะเป็นผู้จ่ายแทนโจทก์โดย ว.ไม่ได้เรียกร้องเงินนี้และโจทก์ไม่ได้ชำระเงินจำนวนนี้แก่ ว.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ไม่ให้กระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 แต่จำเลยที่ 2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 426
หนี้ละเมิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8157/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ละเมิด
จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายจำเลยที่2มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคหนึ่งดังนั้นแม้ว.จะเป็นผู้จ่ายแทนโจทก์โดยว.ไม่ได้เรียกร้องเงินนี้และโจทก์ไม่ได้ชำระเงินจำนวนนี้แก่ว.ก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากจำเลยที่2ได้ จำเลยที่2เป็นนายจ้างของจำเลยที่1มีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลจำเลยที่1ไม่ให้กระทำการใดๆอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นเมื่อจำเลยที่2ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในผลแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425แต่จำเลยที่2มีสิทธิที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่1ได้ตามมาตรา426 หนี้ละเมิดจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา206จำต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ7ครึ่งต่อปีตามมาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิพระภิกษุให้กู้ยืมเงิน และการพิจารณาคดีสัญญาที่ถูกกล่าวอ้างว่าเกิดจากข่มขู่
การที่โจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุนำเงินส่วนตัวออกให้บุคคลกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยนั้น ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดห้ามไว้ พระภิกษุก็เป็นบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย การให้กู้ยืมเงินก็เป็นการสงเคราะห์ผู้ที่เดือดร้อนได้ทางหนึ่งอีกทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 224 บัญญัติว่า หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์มีสิทธินำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อคดียังมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลยทั้งสองและพิพากษาคดีในวันเดียวกัน ข้อเท็จจริงในคำฟ้องคำให้การและเอกสารที่ศาลชั้นต้นรับไว้จึงไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่ชำระหนี้, ค่าขนส่ง, การผิดสัญญาซื้อขาย, สิทธิเรียกคืนเงินมัดจำและค่าปรับ
สัญญาซื้อขายไม้ซุงกระยาเลยกำหนดให้จำเลยทั้งสองผู้ขายส่งมอบไม้ซุงที่โรงงานของบริษัทโจทก์ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นสถานที่ที่โจทก์และจำเลยทั้งสองแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะชำระหนี้ ณ สถานที่นั้นตามป.พ.พ. มาตรา 324 เมื่อจำเลยทั้งสองส่งมอบไม้ซุงให้โจทก์ ณ สถานที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจเรียกค่าขนส่งไม้ซุงจากโจทก์ได้ กรณีไม่ต้องด้วยป.พ.พ.มาตรา 464 ซึ่งโจทก์ผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งไม้ซุงให้ครบจำนวนตามสัญญาแก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำส่วนที่เหลือและเรียกค่าปรับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้ซุง: สถานที่ส่งมอบกำหนดสิทธิค่าขนส่งและผลของการผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายไม้ซุงกระยางเลยกำหนดให้จำเลยทั้งสองผู้ขายส่งมอบไม้ซุงที่โรงงานของบริษัทโจทก์สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นสถานที่ที่โจทก์และจำเลยทั้งสองแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจำชำระหนี้ณสถานที่นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา324เมื่อจำเลยทั้งสองส่งมอบไม้ซุงให้โจทก์ณสถานที่ดังกล่าวแล้วจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจเรียกค่าขนส่งไม้ซุงจากโจทก์ได้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา464ซึ่งโจทก์ผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งไม้ซุงให้ครบจำนวนตามสัญญาแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำส่วนที่เหลือและเรียกค่าปรับได้เมื่อจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนไม่ครบถ้วนและการคิดดอกเบี้ย: โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ทั้งหมด แม้จำเลยจะเสนอชำระบางส่วน
จำเลยทั้งสองค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ 161,973.60 บาท หนี้ครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยที่ 1 จะบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน 65,331 บาท ไม่ได้ การที่โจทก์ไม่ยอมรับชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัด โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้น เงิน 65,331 บาท จากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนและการคิดดอกเบี้ย: โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแม้จำเลยเสนอชำระหนี้บางส่วนไม่ได้
จำเลยทั้งสองค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ 161,973.60 บาท หนี้ครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยที่ 1 จะบังคับให้โจทก์รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน 65,331 บาท ไม่ได้ การที่โจทก์ไม่ยอมรับชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัด โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในต้น เงิน 65,331บาท จากจำเลยทั้งสองได้.
of 35