พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสำคัญผิด และสิทธิในการอายัดรถยนต์ของผู้สุจริต
ก่อนนำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ จำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานรถยนต์ที่มีผู้นำมาขอแลกว่า หมายเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ตรงกับในทะเบียนรถยนต์ และรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้ขอแลกนำมาแสดงก็ตรงกับผู้ขอแลกซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของรถไม่ปรากฏว่าทะเบียนรถมีพิรุธว่าเป็นของปลอม หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขอแลกไม่ใช่เจ้าของรถ แม้จำเลยจะไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนยังกองทะเบียน กรมตำรวจ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์โดยสำคัญผิด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้ประโยชน์แก่ตน จำเลยย่อมมีสิทธิอายัดรถยนต์พิพาทหรือทะเบียนรถยนต์พิพาทได้ เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต จำเลยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสุจริตในการทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ และสิทธิในการอายัดทรัพย์
ก่อนทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์จำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานรถยนต์ที่มีผุ้นำมาขอแลกว่าหมายเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ตรงกับในทะเบียนรถยนต์และรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้ขอแลกนำมาแสดงก็ตรงกับผู้ขอแลกซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของรถไม่ปรากฏว่าทะเบียนมีพิรุธว่าเป็นของปลอมหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขอแลกไม่ใช่เจ้าของรถแม้จำเลยจะไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนยังกองทะเบียนกรมตำรวจก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์โดยสำคัญผิดด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนจำเลยย่อมมีสิทธิอายัดรถยนต์พิพาทหรือทะเบียนรถยนต์พิพาทได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตจำเลยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ การใช้สิทธิอายัดรถยนต์โดยสุจริต
จำเลยซื้อรถยนต์พิพาทมาจากป. แต่ยังไม่ได้โอนทะเบียนเป็นชื่อจำเลยต่อมามีผู้อ้างว่าชื่อธ. นำรถยนต์มาขอแลกเปลี่ยนกับรถยนต์พิพาทจำเลยก็ตกลงแลกเปลี่ยนให้หลังจากนั้นโจทก์ได้รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จากชายคนหนึ่งอีก2วันต่อมาจำเลยทราบว่าทะเบียนรถที่ธ. นำมาแลกเปลี่ยนเป็นทะเบียนปลอมเจ้าของรถที่แท้จริงไม่ใช่ธ. จำเลยจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและขออายัดรถยนต์พิพาทไว้เมื่อได้ความว่าก่อนตกลงแลกเปลี่ยนรถกันจำเลยได้ตรวจดูเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ที่ธ. นำมาขอแลกเปลี่ยนแล้วปรากฏว่าตรงกับในทะเบียนรถและรูปถ่ายในบัตรประชาชนที่นำมาแสดงเหมือนกับผู้ที่อ้างว่าเป็นธ. ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วแม้จะถือว่านิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์พิพาทตกเป็นโมฆะเพราะทำด้วยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยจึงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตน และย่อมมีสิทธิในการขออายัดรถยนต์พิพาทได้โดยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในนิติกรรม: ตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญหรือไม่ พิจารณาจากเจตนาและความจำเป็นในการไถ่คืน
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะและตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญแต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนางอ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจโจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นางอ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อนแต่นางอ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมรรับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทยนิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะนั้นคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นางอ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญคงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้นการที่นางอ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกันเพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้วเหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะคดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากไม่โมฆะ แม้ผู้รับซื้อฝากมอบอำนาจต่อบุคคลอื่น หากผู้ขายไม่ได้เจาะจงตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะ และตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ แต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนาง อ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจ โจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นาง อ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อน แต่นาง อ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมารับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทย นิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะ นั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นาง อ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญ คงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น การที่นาง อ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกัน เพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้ว เหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะ คดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนาง อ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจ โจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นาง อ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อน แต่นาง อ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมารับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทย นิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะ นั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นาง อ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญ คงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น การที่นาง อ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกัน เพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้ว เหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะ คดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ตามยอม และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องในการเพิกถอนสัญญา
ทายาททำหนังสือรับภาระหนี้สินของเจ้ามรดกต่อเจ้าหนี้แล้วไม่ชำระเจ้าหนี้ฟ้องขอให้บังคับตามหนังสือนี้แล้วทำยอมกัน ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดโจทก์ซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลจะมาฟ้องขอเพิกถอนหนังสือรับภาระหนี้สินนั้นไม่ได้หนี้ตามหนังสือนี้ได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิขึ้นใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่มีหนี้เดิมเหลืออยู่ที่โจทก์จะขอให้เพิกถอนได้
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องได้
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ตามยอมและการไม่มีอำนาจฟ้องหลังสัญญาประนีประนอม
ทายาททำหนังสือรับภาระหนี้สินของเจ้ามรดกต่อเจ้าหนี้แล้วไม่ชำระเจ้าหนี้ฟ้องขอให้บังคับตามหนังสือนี้แล้วทำยอมกัน ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดโจทก์ซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลจะมาฟ้องขอเพิกถอน หนังสือรับภาระหนี้สินนั้นไม่ได้หนี้ตามหนังสือนี้ได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิขึ้นใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่มีหนี้เดิมเหลืออยู่ที่โจทก์จะขอให้เพิกถอนได้
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องได้
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อนำกลับมาเป็นมรดกชำระหนี้ และความรับผิดของทายาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ต.ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตายโดยขอให้ทายาทของต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น. แม้ปรากฏว่าขณะฟ้องต. ไม่มีทรัพย์มรดก และทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่นนั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ ตกทอดได้แก่ตน. การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต.ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว.แต่ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์.แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่. หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิด ชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม หรือมาตรา 1490 ใหม่. ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับต.แล้ว. และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง. กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต. มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่ เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อม เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้. แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อ จำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ และการสำคัญผิดที่ไม่ถึงขั้นโมฆะ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ