คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 59 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การที่ตัวแทนผู้ขนส่งยกอายุความมีผลถึงผู้ขนส่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องในมูลสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์ผู้ส่งฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าถึงท่าเรือนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทายาทผู้กู้ & ความรับผิดทายาทผู้ค้ำประกัน - กรณีหนี้มูลความแห่งคดีเดียวกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทของพันโท ช. รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่พันโท ช. ค้ำประกันหนี้เงินกู้ของพันโท ป. ไว้แก่โจทก์ เมื่อความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เท่านั้น ทั้งผู้ค้ำประกันย่อมจะหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 และมาตรา 698 ความรับผิดของผู้ค้ำประกันในหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระนั้น เห็นได้ว่าเป็นมูลความแห่งคดีเดียวกันจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของพันโท ป. ผู้กู้ยกอายุความเกี่ยวแก่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ และปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีต่อพันโท ป. เจ้ามรดกขาดอายุความแล้วทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดแก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีจึงอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ขาดอายุความ ศาลย่อมพิพากษาให้มีผลถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ขาดนัดซึ่งจะต้องรับผิดในฐานะทายาทของพันโท ช. ผู้ค้ำประกันหนี้ของพันโท ป. แก่โจทก์ด้วยได้ แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดภายหลังโจทก์ได้รู้ถึงความตายของพันโท ช. เจ้ามรดกเมื่อยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755 วรรคสาม ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ร่วมและดอกเบี้ยสถาบันการเงิน: การยกข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมมีผลถึงกัน และอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท.
แม้จำเลยที่ 4 ผู้ฎีกาจะไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่หนี้ของจำเลยทั้งสี่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยร่วมคนอื่นยกข้อต่อสู้ไว้ จำเลยที่ 4 จึงได้รับผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59(1) ที่ให้ถือว่าเป็นการทำแทนจำเลยที่ 4 ด้วย
จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 30(2) ไม่ตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จากการกระทำโดยปราศจากอำนาจ และการแก้ไขดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
เมื่อศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าการโฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ฉบับหน้าเหลืองภาษาอังกฤษเป็นการโฆษณาของบริษัทอื่นไม่ใช่ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ และจำเลยที่ 1 ไม่ให้สัตยาบัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่แรกว่าไม่เคยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ผลแห่งการวินิจฉัยดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 มูลความแห่งคดีจึงมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อันจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) มาใช้บังคับจึงนำเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ให้การต่อสู้ไว้มิได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองบุคคลภายนอกและข้อยกเว้นความรับผิดกรณีอู่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มอบหมายให้ ช.ขับรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 ที่เอาประกันภัยไว้ต่อจำเลย ช. ขับไปชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยโจทก์ทั้งสองได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำฟ้อง ซึ่งระบุว่าจำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 สภาพแห่งข้อหาในกรณีของโจทก์ที่ 2 คือ จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ช. ขับรถยนต์กระบะที่โจทก์ที่ 1 ประกันภัยไว้ต่อจำเลยชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 เสียหายและมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระค่าซ่อมแซมแก่โจทก์ที่ 2 คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1 ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ" การที่โจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมจึงหาเป็นการนำไปให้ซ่อมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม แต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบแล้วอันเป็นส่วนสำคัญของสัญญาเช่าซื้อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไป ดังนั้นในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่ ไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์สินขณะทำสัญญา ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตามแต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไปดังนั้น ในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่นั้นไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกันไม่อาจเข้าใจได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59(1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องแบ่งมรดก: เริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการมรดกไม่ยกอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1620 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1629 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา 1300 มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027 เพียง 2 แปลง โดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใด จำเลยที่ 1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่ 1 จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2027เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอม ดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่ 2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่น ทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมา จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การจัดการมรดกเสร็จสิ้นเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1620วรรคหนึ่งและมาตรา1629เมื่อจำเลยที่1ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไปทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใดเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาทการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา1300มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027เพียง2แปลงโดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดจำเลยที่1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่10มกราคม2527โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่1จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่2027เมื่อวันที่2มีนาคม2530นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอมดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่นทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2มีนาคม2530ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดกจำเลยที่3ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่2ในเวลาต่อมาจึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่2อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่19กรกฎาคม2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า1ปีไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่2ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่1และที่2จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่3ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่าจำเลยที่1และที่2ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, ภูมิลำเนา, อายุความหนี้จากการรับทำงานและชำระหนี้แทนลูกหนี้, ลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี แห่งหนึ่ง และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่ 40 ดังกล่าวไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 355 หมู่ที่ 3แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่355 ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แห่งหนึ่งและยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ใด และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งย้ายออกไป หรือขอให้ทางราชการแก้ไขจำหน่ายชื่อออก แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะย้ายภูมิลำเนาออกจากบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดปราจีนบุรี ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 100 ดังกล่าวตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อีกแห่งหนึ่งด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการออกบัตรซื้อของเชื่อให้แก่สมาชิกผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่าง ๆ ในเครือห้างของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรซื้อของเชื่อนั้นเพื่อขายสินค้าและบริการโดยโจทก์จะชำระเงินแทนแล้วโจทก์มาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ในภายหลัง ในการออกบัตรนี้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อปรากฏว่าการให้บริการของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7) เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกบัตร จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเสริม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เช่นกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1)
of 4