พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ เกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ ดังนี้ แม้โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึด ทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมา ขอรับชำระหนี้อีก หนี้ของเจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีการบังคับคดีแต่ไม่ทันอายุความ
เจ้าหนี้จึงยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีก ดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การติดตามและเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิ แม้มีการจดทะเบียนโอน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 6 และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดิน แม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 เป็นโฉนดที่ดินปลอม แต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอม กับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 และที่ 5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ตาม จำเลยที่ 4และที่ 5 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้
คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ.ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9 และ193/30
ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้
คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ.ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9 และ193/30
ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวง ตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้เสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2522 และส่งมอบงานงวดที่ 2 ให้เสร็จภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 คือ วันที่3 ตุลาคม 2522 จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว ดังนั้น อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532จึงเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 164 เดิม|มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา 188 เดิม(มาตรา 193/10 ที่แก้ไขใหม่)