คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 5 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ร้องทุกข์เอง หากไม่ใช่ ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันครอบครองเงินของ ฮ. และเบียดบังยักยอกเงินจำนวนดังกล่าวไป การกระทำที่โจทก์กล่าวหานี้เกิดขึ้นขณะที่ ฮ. ยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นการกระทำต่อ ฮ. เจ้าของทรัพย์ ฮ.จึงเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2 (4) และมีอำนาจร้องทุกข์ตามมาตรา 3 (1) ประกอบมาตรา 2 (7) แม้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะมีคำสั่งให้ ฮ. เป็นผู้เสมือนคนไร้ความสามารถ แต่ ฮ. ยังสามารถดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เหมือนเช่นบุคคลทั่วไปได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้พิทักษ์ ประกอบกับ ฮ. มิได้ถูกจำเลยทั้งสี่ทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ อันจะทำให้โจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีอำนาจจัดการแทนได้ตามมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งไม่ได้เป็นผู้เสียหายเป็นผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานยักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ จึงถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบที่จะทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนในความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้และถือเท่ากับว่ายังไม่มีการสอบสวน ย่อมส่งผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8871/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจเป็นโจทก์
ผู้ตายบุกรุกเข้าไปในบ้านของจำเลยโดยถือมีดดาบยาวประมาณ 1 เมตร เข้าไปหา ฉ. บิดาจำเลยแล้วใช้มีดดาบดังกล่าวฟัน ฉ. เป็นเหตุให้ ฉ. ได้รับอันตรายแก่กาย เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุบุกรุกเข้าไปทำร้ายร่างกาย ฉ. ก่อน ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วมและประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีรถชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและผู้ตายต่างขับรถมาด้วยความประมาท ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-288/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ตายประมาทเองไม่มีอำนาจฟ้อง – ประเมินความประมาทของผู้ขับขี่และผู้เสียหาย
เมื่อพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบกับรอยห้ามล้อยาวถึง 20.30 เมตร และความเสียหายของรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งได้รับความเสียหายตรงบริเวณกันชนด้านขวามือผู้ขับยุบไปค่อนข้างมากแล้ว เชื่อว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรซึ่งการขับรถด้วยความเร็วสูงมาถึงทางร่วมทางแยกก็มิได้ลดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลง เป็นการขับรถโดยประมาทอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่จำเลยห้ามล้อไม่น่าจะเกิดจากการที่จำเลยหักหลบหลุมตรงบริเวณปากทางแยกเป็นสำคัญ เพราะตามภาพถ่ายหมาย จ.5 สำนวนหลัง เห็นได้ชัดว่าหลุมดังกล่าวล้ำเข้ามาในผิวจราจรของช่องเดินรถที่จำเลยขับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหลบหลุมถึงขนาดล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวน เชื่อว่าเหตุที่จำเลยขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนเพราะหักหลบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตัดหน้า จุดชนอยู่ตรง ๆ กับปากทางแยก ชนถูกรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตรงฝาครอบแบตเตอรี่ขวามือผู้ตาย น่าเชื่อว่าผู้ตายยังมิได้ตั้งลำรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ตนจะเข้าไป ทั้งตามคำเบิกความของ อ. ก็ได้ความว่า เมื่อ อ. และผู้ตายขับรถมาถึงปากทางแยก อ. เห็นรถยนต์ที่จำเลยขับแล่นมาอยู่ห่างรถที่ อ. ขับ 30 ถึง 40 เมตร อ. จึงหยุดตรงปากทางแยก ไม่ขับออกไปในถนนที่เกิดเหตุ แต่ผู้ตายขับออกไปจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยขับมาชน เห็นได้ว่าถ้าผู้ตายระมัดระวังโดยยังไม่ขับออกไปเหมือน อ. ก็จะไม่ถูกจำเลยขับรถยนต์ชน ยิ่งกว่านั้นตามคำเบิกความของ ถ. จ. และ ท. พยานโจทก์ทั้งสองที่เบิกความว่าผู้ตายขับในลักษณะพุ่งออกไปอันเป็นลักษณะของการขับรถออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อจำเลยเห็นจึงห้ามล้อตั้งแต่อยู่ห่าง 20 ถึง 30 เมตร พฤติการณ์เช่นนี้ แม้จุดชนอยู่ห่างจากเส้นแบ่งช่องเดินรถประมาณ 1.40 เมตร ดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกา ก็ไม่เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ตายมิได้ประมาทที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าทั้งผู้ตายและจำเลยต่างขับรถโดยประมาท ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย เมื่อผู้ตายก็เป็นผู้ขับรถโดยประมาท ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 5 (2) และ 3 (2) เมื่อไม่มีอำนาจฟ้องฎีกา ก็ไม่อาจขอให้ไม่รอการลงโทษดังที่ฎีกาขึ้นมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่ถึงแก่ความตาย: ผู้จัดการแทนไม่ใช่ผู้เสียหายจริง จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อ
นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. เป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตายและโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปด้วยความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 นั้นชอบแล้ว เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหายเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์นั้นไม่ชอบ ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยและผู้ร้องที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4992/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายจากเหตุละเมิด และการพิจารณาข้อเท็จจริงเรื่องความประมาท
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกหกล้อโดยเห็นอยู่แล้วว่าในช่องเดินรถด้านหน้าช่องเดินรถเดียวกับจำเลยมีรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ซึ่งมี ส. เป็นผู้ขับ กำลังขับสวนทางมา จำเลยยังคงขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรโดยไม่ชะลอความเร็วของรถให้ช้าลง เป็นเหตุให้รถที่จำเลยขับพุ่งเข้าเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับจนล้มลง รถทั้งสองคันได้รับความเสียหายและ ส. ถึงแก่ความตายทันที ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า ผู้ตายมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ดังนั้น ตามฟ้องของโจทก์ถือว่า ผู้ตายเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ข. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายจึงมีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)
แม้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่รถทั้งสองคันชนกันมิได้เกิดขึ้นจากความประมาทของจำเลย แต่เกิดจากความประมาทของผู้ตายก็ตาม แต่โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวว่า เหตุเกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว ซึ่งโจทก์ร่วมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ว่า เหตุเกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีขับรถประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาท และอำนาจโจทก์
ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์กระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตาย ขณะเดียวกันผู้ตายก็ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถของจำเลยประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกันเช่นนี้ จำเลยจึงขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปได้
ผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม: การเข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องมีอำนาจตามกฎหมาย และความสัมพันธ์กับความเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 แต่ตามคำฟ้องไม่ได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ แม้โจทก์ร่วมทั้งสองจะยื่นคำร้องอ้างว่าการทำร้ายของจำเลยทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา โดยโจทก์ไม่คัดค้านการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ตาม แต่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุนานเกือบ 9 เดือน และบาดแผลที่เป็นสาเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายก็มิใช่บาดแผลที่ผู้เสียหายถูกจำเลยทำร้ายตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็มิได้ยืนยันแน่นอนว่าบาดแผลที่ทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายเกิดจากการกระทำของจำเลยจริงดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบุพการีของผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน, ปลอมเอกสาร, และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย; ศาลฎีกาแก้โทษและวินิจฉัยอำนาจฟ้อง
ในคดีความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ซึ่งผู้เสียหายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว ผู้บุพการีไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือเข้าร่วมกับพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องแทนผู้เสียหาย เพราะไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) ประกอบมาตรา 5 (2) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกับพวกร่วมกันนำเอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายและแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้เสียหายลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วนำไปกรอกข้อความว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้จำเลยยื่นขอจดทะเบียนโอนที่ดินของผู้เสียหายให้แก่จำเลยโดยเสน่หา เป็นการกระทำความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 และเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 แต่การกระทำความผิดดังกล่าวก็เพื่อโอนที่ดินเป็นของจำเลยซึ่งเป็นเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจใช้สิทธิแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 29 ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 42 และมาตรา 43 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้โดยอนุโลมไม่ได้ การที่ จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของ ห. โจทก์ร่วม ขอเข้ารับมรดกความของ ห. ซึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ ห. เข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของ ห. หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่าง ห. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 ไม่ เพราะ ห. เป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีนี้
of 11