พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาในความผิดที่เกิดในทะเลหลวง ต้องรอการร้องขอจากผู้เสียหาย และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
ความผิดเกิดขึ้นในทะเลหลวง นอกราชอาณาจักรไทย ศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 8(4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8(ก) แต่คดีนี้ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครบ้าง และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ได้ ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ ที่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษก็เฉพาะผู้เสียหายทั้งสี่ที่ถูกปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเท่านั้น ฉะนั้น จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ คงลงโทษได้เฉพาะข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งผู้เสียหายทั้งสี่ได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้วเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้ในข้อ 1 ก. แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าซึ่งอยู่ในข้อ 1 ข. เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดและขวานเป็นอาวุธในการปล้นทรัพย์โดยใช้เรือยนต์ซึ่งใช้ในการประมงเป็นยานพาหนะเท่านั้น ไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคท้าย ได้เพราะเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อการทำผิดเท่านั้น หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ได้ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดูเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 เข้ามาเทียบกับเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกแล้วลูกเรือประมงลำที่ 3 ขึ้นไปพาพวกของผู้เสียหายทั้งสี่ที่เป็นหญิง 6 คน ขึ้นไปบนเรือประมงลำที่ 3 เสร็จแล้วเรือประมงลำที่ 3และลำที่ 4 จึงแล่นออกไป หลังจากนั้นจำเลยกับพวกขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ 20 คน นั้น ยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์ เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไปเจตนาที่จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาข้อกฎหมายเหล่านี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายบุคคลหลายคนเป็นกรรมเดียว และสิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา
จำเลยทั้งสี่ได้ทำร้ายผู้ตาย โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และส.โดยมีเจตนาที่จะทำร้ายบุคคลดังกล่าวทุกคนไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นใครลักษณะของเจตนากระทำความผิดจึงเป็นอันเดียวเกิดขึ้นในวาระเดียวกันและต่อเนื่องกันตลอด แม้กระทำหลายครั้งต่อหลายบุคคลก็อยู่ภายในเจตนาเดียวกันนั้น มิใช่หลายเจตนา การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยทั้งสี่ฝ่ายหนึ่ง ผู้ตายและโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 กับ ส.อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจวิวาททำร้ายซึ่งกันและกัน ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหาย ว.ภริยาผู้ตาย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายด้วยดังนั้น ว.และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 จึงไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927-1928/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง: โจทก์ในคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง
คดีสำนวนหลังซึ่งจำเลยเป็นโจทก์เป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านในปัญหาข้อนี้ แต่กลับฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท และฎีกาเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหาย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อัยการศาลทหารกรุงเทพได้ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าอัยการศาลทหารกรุงเทพฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่คู่ความรายเดียวกับโจทก์ในคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพผลของคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพย่อมไม่ผูกพันโจทก์ ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา.
อัยการศาลทหารกรุงเทพได้ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดต่อรัฐ โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าอัยการศาลทหารกรุงเทพฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่คู่ความรายเดียวกับโจทก์ในคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพผลของคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพย่อมไม่ผูกพันโจทก์ ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734-1735/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การพิสูจน์ความเสียหายและการจัดการแทนผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และบรรยายต่อมาว่าจนบัดนี้ผู้เสียหายอาจถึง แก่ความตายไปแล้ว กับที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ว่าไม่ทราบว่าผู้เสียหายเป็นตาย ร้ายดีอย่างไร โดย ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายถูก ทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บและไม่ได้ยืนยันว่าผู้เสียหายถึง แก่ความตายไปแล้วจริง จึงมิใช่กรณีที่ผู้เสียหายถูก ทำร้ายถึง ตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)แม้ผู้ร้องจะเป็นมารดาของผู้เสียหาย ก็ไม่อาจเข้ามาจัดการแทนผู้เสียหายโดย การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของผู้สืบสันดานแทนผู้เสียหาย และอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ในคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตาย ลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะ คดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของทายาทและผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738-3739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่งได้หรือไม่: ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 1 ถูกอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (อัยการจังหวัดมหาสารคาม) ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดมหาสารคาม) ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ และไม่หยุดช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ มาตรา 160 วรรคแรก ส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทยกฟ้อง คดีถึงที่สุด ดังนั้นปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บาดเจ็บในคดีอาญาหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาของศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดมหาสารคาม) ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(8) โดยอัยการได้ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 และไม่มีความรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 อ้างว่าเป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ด้วยส่วนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถคันเกิดเหตุนั้น ในคดีอาญามิใช่เป็นผู้บาดเจ็บจากการที่รถชนกัน และมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายโดยการจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4), 5(2) และมิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738-3739/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ความรับผิดทางละเมิดจากการชนรถ และขอบเขตการผูกพันตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 1 ถูกอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 3(อัยการจังหวัดมหาสารคาม) ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดมหาสารคาม)ฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ และไม่หยุดช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ มาตรา 160 วรรคแรก ส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทยกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้นปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บาดเจ็บในคดีอาญาหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาของศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดมหาสารคาม) ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(8) โดยอัยการได้ฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 54และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2และไม่มีความรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2อ้างว่าเป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ด้วยส่วนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถคันเกิดเหตุนั้น ในคดีอาญามิใช่เป็นผู้บาดเจ็บจากการที่รถชนกัน และมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายโดยการจัดการแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4),5(2) และมิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน ผลของคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1ในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชนกันหลายฝ่าย ผู้ขับขี่ทั้งสองมีความผิด และสิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์
จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถด้านซ้ายมีรถบรรทุกสิบล้อแล่นตามหลังหนึ่งคันและรถบรรทุกหกล้อที่จำเลยที่ 1 ขับตามมาอีกหนึ่งคัน การที่จำเลยที่ 2 ขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา อันเป็นระยะกระชั้นชิดกับช่วงที่จำเลยที่ 1 จะขับรถแซง โดยจำเลยที่ 2 มิได้ระมัดระวังดูรถที่แล่นตามมาทางด้านขวาให้ปลอดภัยเสียก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะให้สัญญาณไฟเลี้ยวหรือไม่ก็ตาม และการที่จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกหกล้อด้วยความเร็วสูงมากแซงรถบรรทุกสิบล้อคันหนึ่ง และจะแซงรถจำเลยที่ 2 ในคราวเดียวกัน โดยปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถของจำเลยที่ 2 ซึ่งเปลี่ยนช่องเดินรถออกมาทางขวา ดังนี้ เหตุชนกันจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชนกันทำให้ถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาความรับผิดของทั้งสองฝ่าย
จำเลยที่2ขับรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถด้านซ้ายมีรถบรรทุกสิบล้อแล่นตามหลังหนึ่งคันและรถบรรทุกหกล้อที่จำเลยที่1ขับตามมาอีกหนึ่งคันการที่จำเลยที่2ขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวาอันเป็นระยะกระชั้นชิดกับช่วงที่จำเลยที่1จะขับรถแซงโดยจำเลยที่2มิได้ระมัดระวังดูรถที่แล่นตามมาทางด้านขวาให้ปลอดภัยเสียก่อนแม้จำเลยที่2จะให้สัญญาณไฟเลี้ยวหรือไม่ก็ตามและการที่จำเลยที่1ขับรถบรรทุกหกล้อด้วยความเร็วสูงมากแซงรถบรรทุกสิบล้อคันหนึ่งและจะแซงรถจำเลยที่2ในคราวเดียวกันโดยปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถของจำเลยที่2ซึ่งเปลี่ยนช่องเดินรถออกมาทางขวาดังนี้เหตุชนกันจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดเมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา5(2)ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง.