พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชนกันทำให้ถึงแก่ชีวิต ศาลพิพากษาโทษจำเลยทั้งสอง
จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกสิบล้อในช่องเดินรถด้านซ้ายมีรถบรรทุกสิบล้อแล่นตามหลังหนึ่งคันและรถบรรทุกหกล้อที่จำเลยที่ 1 ขับตามมาอีกหนึ่งคัน การที่จำเลยที่ 2 ขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา อันเป็นระยะกระชั้นชิดกับช่วงที่จำเลยที่ 1 จะขับรถแซง โดยจำเลยที่ 2 มิได้ระมัดระวังดูรถที่แล่นตามมาทางด้านขวาให้ปลอดภัยเสียก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะให้สัญญาณไฟเลี้ยวหรือไม่ก็ตาม และการที่จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกหกล้อด้วยความเร็วสูงมากแซงรถบรรทุกสิบล้อคันหนึ่ง และจะแซงรถจำเลยที่ 2 ในคราวเดียวกัน โดยปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถของจำเลยที่ 2 ซึ่งเปลี่ยนช่องเดินรถออกมาทางขวา ดังนี้ เหตุชนกันจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใด เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ของผู้ตาย จึงไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้สืบสันดาน & การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ความแตกต่างของการกระทำ
โจทก์เป็นบุตรของผู้ตายตามความเป็นจริงแม้จะไม่ใช่ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ย. ว่าจะแทงจำเลย แต่ไปถูกผู้ตายคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ขณะที่ ย. จะ แทงจำเลย จำเลยได้จับตัวผู้ตายเหวี่ยงมาบังตัวไว้และ ผลักไปข้างหน้า เป็นเหตุให้ผู้ตายถูก ย.แทงถึงแก่ความตายดังนี้การกระทำของ ย. และจำเลยเป็นคนละส่วน กัน และในคดีก่อนจำเลยก็มิได้ ถูกฟ้องด้วย ฟ้อง โจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุตรตามความเป็นจริง, ฟ้องซ้ำ, และการพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ
โจทก์เป็นบุตรของผู้ตายตามความเป็นจริง แม้จะไม่ใช่ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ย. ว่าจะแทงจำเลยแต่ไปถูกผู้ตายคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ขณะที่ ย. จะ แทงจำเลย จำเลยได้จับตัวผู้ตายเหวี่ยงมาบังตัวไว้และ ผลักไปข้างหน้า เป็นเหตุให้ผู้ตายถูก ย. แทงถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของ ย.และจำเลยเป็นคนละส่วนกัน และในคดีก่อนจำเลยก็มิได้ถูกฟ้องด้วย ฟ้อง โจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2497)
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ย. ว่าจะแทงจำเลยแต่ไปถูกผู้ตายคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ขณะที่ ย. จะ แทงจำเลย จำเลยได้จับตัวผู้ตายเหวี่ยงมาบังตัวไว้และ ผลักไปข้างหน้า เป็นเหตุให้ผู้ตายถูก ย. แทงถึงแก่ความตาย ดังนี้การกระทำของ ย.และจำเลยเป็นคนละส่วนกัน และในคดีก่อนจำเลยก็มิได้ถูกฟ้องด้วย ฟ้อง โจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้จัดการแทนผู้เสียหาย การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องเมื่อผู้จัดการแทนตาย
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: การวินิจฉัยประมาทในคดีอาญาเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในคดีแพ่งได้
ศาลทหารพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยโจทก์เป็นผู้เสียหายว่า เท่าที่โจทก์นำสืบยังมีข้อสงสัยฟังไม่ได้สนิทใจว่าเหตุที่เกิดเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังของจำเลย จำต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย โจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธพีพิจารณาความอาญามาตรา 46(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1134,1135/2509) และคำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์ไม่มีพยานสืบให้ศาลเห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว จะฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งให้ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1674/2512)
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อผู้ตาย จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นนายจ้างไม่ต้องรับผิดไปด้วย
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อผู้ตาย จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นนายจ้างไม่ต้องรับผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ประมาทจากเหตุสุดวิสัย ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ศาลทหารพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยโจทก์เป็นผู้เสียหายว่า เท่าทีโจทก์นำสืบยังมีข้อสงสัยฟังไม่ได้สนิทใจว่าเหตุที่เกิดเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังของจำเลย จะต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย โจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1134, 1135/2509) และคำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ศาลเห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว จะฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งให้ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1674/2512)
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อผู้ตาย จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดไปด้วย
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อผู้ตาย จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของเจ้าของสิทธิที่ถูกละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานสอบสวน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้นได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้นดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้นดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง. จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้บุพการีตามความเป็นจริง แม้มิได้เป็นผู้บุพการีโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้บุพการีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)นั้น หมายถึงผู้บุพการีตามความเป็นจริง
โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ผู้ตายอายุ 17 ปียังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมา แต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516)
โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ผู้ตายอายุ 17 ปียังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมา แต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของ 'ผู้บุพการีตามความเป็นจริง' แม้มิได้เป็นบุพการีโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้บุพการีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้นหมายถึง ผู้บุพการีตามความเป็นจริง
โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายผู้ตายอายุ 17 ปียังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมาแต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงแก่ความตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516)
โจทก์กับนางลั่นแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายผู้ตายอายุ 17 ปียังเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรอยู่เรือนเดียวกันและอยู่ในความปกครองของโจทก์กับนางลั่น โจทก์เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดว่าผู้ตายเป็นบุตรของตน และเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ผู้ตายตลอดมาแต่โจทก์ไม่เคยยื่นคำร้องต่ออำเภอรับรองผู้ตายว่าเป็นบุตร แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงแก่ความตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516)