คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทเมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ร่วมเป็นบิดาของผู้ตาย โจทก์ร่วมจึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้นก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้เข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม เนื่องจากอาจทำให้พยานหลักฐานเสียหาย
โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยอาจทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียหายได้จึงไม่เป็นการสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีแทนผู้ตาย: ภริยาจำเลยไม่อาจเป็นผู้ดำเนินคดีได้เนื่องจากอาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลย อาจทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียหายได้ จึงไม่เป็นการสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพบุคคลโจทก์ก่อนศาลมีคำสั่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
การร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 6 จะต้องปรากฏว่า โจทก์มีสภาพบุคคลเป็นผู้วิกลจริต และไม่มีผู้อนุบาลแต่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตและไม่มีผู้อนุบาลได้ถึงแก่ความตายระหว่างไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีสภาพบุคคลของโจทก์จึงสิ้นสุดลงไปแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้แทนเฉพาะคดี ผู้ร้องจึงขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ไม่ได้ อนึ่ง แม้ขณะที่โจทก์ถึงแก่ความตายผู้ร้องในฐานะผู้ร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อนแล้วในนามของโจทก์ แต่ในขณะที่โจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลยังไม่ได้ตั้งผู้ร้องเป็นแทนเฉพาะคดีของโจทก์จะถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: จำเลยยิงผู้ตายเพื่อป้องกันภัยจากการถูกทำร้ายจากทั้งผู้ตายและบิดา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและฆ่าเด็กชายป.โดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำคุก 2 ปีริบของกลางคำขอนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคืนของกลางแก่เจ้าของ ดังนี้ ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ในส่วนที่เด็กชาย ป. ถูกฆ่า โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาเด็กชายป. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในฐานะผู้เข้าจัดการแทนเด็กชายป. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ต่อมาโจทก์ร่วมตายลง ว.พี่ชายเด็กชายป.ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ร่วมหามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 ไม่เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กชายป.ซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฆ่าเด็กชายป. โจทก์ร่วมมีอาวุธเหล็กแหลมเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยเดินถอยหลังเมื่อโจทก์ร่วมเข้าไปหาห่างประมาณ 5-6 เมตร จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า1 นัด และยิงลงที่พื้นอีก 1 นัด เด็กชายป. ผู้ตายถือไม้ขนาดเท่าแขนวิ่งเข้าไปจะตีจำเลย เหตุเกิดในเวลากลางคืน ภยันตรายที่ละเมิดต่อกฎหมายใกล้จะเกิดกับจำเลยทั้งสองด้าน ในขณะนั้นจำเลยตัวคนเดียวในเวลาที่คับขันไม่อาจคาดหมายได้ว่าภยันตรายจะเกิดขึ้นกับตนนั้นมีมากน้อยเพียงใด จำเลยใช้อาวุธปืนที่อยู่ในมือยิงไปทางเด็กชาย ป. ซึ่งเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดภยันตรายต่อจำเลยที่ใกล้ชิดที่สุดก่อนเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีโอกาสเลือกที่จะป้องกันโดยวิธีอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมผู้ตาย และการรอการลงโทษหลังชดใช้ค่าเสียหาย
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้
เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วม & เหตุบรรเทาโทษจากเช็คพิพาท
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้ เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของผู้จัดการมรดกแทนโจทก์ร่วม และเหตุรอการลงโทษจากชดใช้ค่าเสียหาย
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้ เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์แทน
ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วตายลง แม้ผู้ร้องจะเป็นพี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายซึ่งเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตายด้วยก็ตาม แต่ผู้ร้องมิใช่บุคคลตามป.วิ.อ. มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายโดยอนุโลมต่อไปได้ ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ หรือคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายไม่.
of 5