คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายที่ถึงแก่ความตายก่อนศาลมีคำสั่ง ศาลไม่อาจตั้งได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต.และมีอำนาจฟ้องคดีแทน ต.เมื่อปรากฏว่าต. ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้วศาลก็ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต.ได้เพราะต.ไม่ใช่ผู้วิกลจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างต่อไป ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้วิกลจริตซึ่งผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้นั้น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายความรวมถึงกรณีนี้ซึ่งผู้เสียหายได้ตายไปเสียก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีสำหรับผู้วิกลจริตต้องกระทำก่อนการเสียชีวิตของผู้เสียหาย
การร้องขอตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้วิกลจริตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 นั้น ต้องเป็นกรณีผู้วิกลจริตยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้นการที่ ต. ผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องของตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์แล้ว ดังนี้ ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของSต. ได้
ผู้แทนเฉพาะคดีที่ฟ้องแทนผู้เสียหายจะมีอำนาจว่าคดีแทนผู้เสียหายที่ตายลงต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 นั่น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้ก่อนแล้วที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายรวมถึงกรณีผู้เสียหายได้ตายไปก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทและผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของผู้สืบสันดานแทนผู้เสียหาย และอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ในคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตาย ลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 56 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะ คดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของบุตรนอกกฎหมายและอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ในคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้จัดการแทนผู้เสียหาย การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องเมื่อผู้จัดการแทนตาย
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคดีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรม และทายาทไม่รับมรดกความ
คดีอาญา (ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177) แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและทายาทของผู้มรณะไม่ติดใจรับมรดกความ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคดีต่อไปได้แม้โจทก์ถึงแก่กรรม และทายาทไม่รับมรดกความ
คดีอาญา (ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177) แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและทายาทของผู้มรณะไม่ติดใจรับมรดกความ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาแผ่นดินแม้โจทก์มรณะ ศาลยังดำเนินคดีได้ การแก้น้อยต้องห้ามฎีกา
ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะ 3 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้โจทก์มรณะก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180(ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง),181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181(2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,181(2) จำคุก 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาแผ่นดินแม้โจทก์มรณะ ศาลยังดำเนินคดีได้ การแก้น้อยในชั้นฎีกา
ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะ 3 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้โจทก์มรณะก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180 (ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) 181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181 (2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 181 (2) จำคุก4ปีลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
of 5