พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การเข้าเป็นคู่ความแทน, การรังวัดที่ดินผิดพลาด, และผลกระทบต่อทายาทผู้มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันรังวัดสอบเขตผิดไปจากแนวเขตที่ดินและทางเกวียนเดิมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ที่ 1, 2 ซื้อจากโจทก์ที่ 3 และการรังวัดนั้นได้กระทำมาก่อนตั้งแต่ที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 ตามคำฟ้องและคำเบิกความพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องพอที่จะเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1, 2 ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิ์ไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 1, 2 แพ้คดี ประกอบกับรูปคดีกรณีโจทก์ที่ 3 นี้ ถึงแม้จะไม่เป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย โจทก์ที่ 1, 2 ก็ยังขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้ โจทก์ที่ 3 จึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้ว ควรรับฟ้องของโจทก์ที่ 3 ไว้พิจารณาต่อไป ฉะนั้น การที่ก่อนพ้นเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์ที่ 3 ถึงแก่กรรม ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และให้นัดสืบพยานโจทก์ไป ดังนี้ เป็นการตัดสิทธิ์บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 สมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทั้งคดีส่วนแพ่งและอาญา แต่เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น ในการที่จะกำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาต่อไปได้ในความผิดอันยอมความได้
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วตายลง ภายหลังที่ศาลฎีกาได้ส่งคำพิพากษาไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อจะอ่านให้คู่ความฟังแล้วนั้น หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้คดีอาญาระงับไปไม่ เมื่อคดีมาถึงศาลฎีกาและโจทก์ตายเมื่อได้ดำเนินคดีมาครบถ้วนบริบูรณ์แล้วศาลฎีกาย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาต่อเมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกาสามารถพิจารณาคดีความผิดอันยอมความได้ต่อไปได้
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วตายลงภายหลังที่ศษลฎีกาได้ส่งคำพิพากษาไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อจะอ่านให้คู่ความฟังแล้วนั้น หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้คดีอาญาระงับไปไม่ เมื่อคดีมาถึงศาลฎีกาและโจทก์ตายเมื่อได้ดำเนินคดีมาครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ศาลฎีกาย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้โจทก์ถึงแก่กรรม ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีได้
คดีความผิดอาญาแผ่นดินที่ราษฎรเป็นโจทก์ จำเลยฎีกา ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ถึงแก่กรรม นั้นก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ฉะนั้น ศาลฎีกาจึงทำการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาแผ่นดินเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรม: ศาลฎีกาสามารถพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
คดีความผิดอาญาแผ่นดินที่ราษฎรเป็นโจทก์จำเลยฎีกา ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ถึงแก่กรรม นั้น ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่า โจทก์ไ+ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ฉะนั้น ศาลฎีกาจึงทำการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2504
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องระหว่างบุตรกับบิดามารดา: ข้อห้ามผู้ฟ้องแทนบุพการี
บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลย หาว่าร้องเรียนเท็จแจ้งความเท็จระหว่างพิจารณาบิดาตาย บุตรจึงร้องขอรับมรดกความแทนบิดาดังนี้ นับได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพการีของตนต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีระหว่างบุตรกับมารดาแทนบุพพการี ขัดต่อหลักกฎหมาย
บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลย หาว่าร้องเรียนเท็จแจ้งความเท็จ ระหว่างพิจารณาบิดาตาย บุตรจึงร้องขอรับมรดกความแทนบิดาดังนี้ ก็นับได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพพการีของตน ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา, การพิสูจน์หลักฐาน, และการอนุญาตฎีกาของผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาซึ่งเคยนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จะถูกย้ายไปอยู่ศาลอื่นก็ตาม ถ้าหากยังคงเป็นผู้พิพากษาอยู่ ก็ย่อมอนุญาตให้คู่ความในคดีนั้นฎีกาได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา221.
คดีของโจทก์มีพะยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพะยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพะยานเอกสารสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพะยานเอกสารนั้น ๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฎว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรม ทายาทหรือผู้จัดการมฤดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้อง เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพะยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉะบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมฤดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้น จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ.
คดีของโจทก์มีพะยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพะยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพะยานเอกสารสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพะยานเอกสารนั้น ๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฎว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรม ทายาทหรือผู้จัดการมฤดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้อง เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพะยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉะบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมฤดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้น จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังเจ้าของสิทธิถึงแก่กรรม และการอนุญาตฎีกาของผู้พิพากษาที่ย้ายศาล
ผู้พิพากษาซึ่งเคยนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จะถูกย้ายไปอยู่ศาลอื่นก็ตาม ถ้าหากยังคงเป็นผู้พิพากษาอยู่ ก็ย่อมอนุญาตให้คู่ความในคดีนั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คดีของโจทก์มีพยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพยานเอกสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพยานเอกสารนั้นๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรมทายาทหรือผู้จัดการมรดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ
คดีของโจทก์มีพยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพยานเอกสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพยานเอกสารนั้นๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรมทายาทหรือผู้จัดการมรดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายของโจทก์หลังฎีกา: กระบวนการยุติธรรมและผู้ดำเนินคดี
ในคดีที่จำเลยฎีกา. แต่โจทก์ตายเสียก่อนรับสำเนาเพื่อแก้ฎีกา. ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบถามว่าโจทก์ตายจริงหรือไม่ และใครจะเป็นผู้ดำเนินคดีต่อไป. ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2485.