พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: จำเลยยิงผู้ตายเพื่อป้องกันภัยจากการถูกทำร้ายจากทั้งผู้ตายและบิดา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและฆ่าเด็กชายป.โดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำคุก 2 ปีริบของกลางคำขอนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคืนของกลางแก่เจ้าของ ดังนี้ ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ในส่วนที่เด็กชาย ป. ถูกฆ่า โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาเด็กชายป. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในฐานะผู้เข้าจัดการแทนเด็กชายป. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ต่อมาโจทก์ร่วมตายลง ว.พี่ชายเด็กชายป.ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ร่วมหามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 ไม่เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กชายป.ซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฆ่าเด็กชายป. โจทก์ร่วมมีอาวุธเหล็กแหลมเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยเดินถอยหลังเมื่อโจทก์ร่วมเข้าไปหาห่างประมาณ 5-6 เมตร จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า1 นัด และยิงลงที่พื้นอีก 1 นัด เด็กชายป. ผู้ตายถือไม้ขนาดเท่าแขนวิ่งเข้าไปจะตีจำเลย เหตุเกิดในเวลากลางคืน ภยันตรายที่ละเมิดต่อกฎหมายใกล้จะเกิดกับจำเลยทั้งสองด้าน ในขณะนั้นจำเลยตัวคนเดียวในเวลาที่คับขันไม่อาจคาดหมายได้ว่าภยันตรายจะเกิดขึ้นกับตนนั้นมีมากน้อยเพียงใด จำเลยใช้อาวุธปืนที่อยู่ในมือยิงไปทางเด็กชาย ป. ซึ่งเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดภยันตรายต่อจำเลยที่ใกล้ชิดที่สุดก่อนเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีโอกาสเลือกที่จะป้องกันโดยวิธีอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การพิจารณาความเสียหายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมแถลงรับว่าเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในมูลคดีเกี่ยวกับคดีนี้ว่าทำร้ายร่างกายจำเลยทั้งสองคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโจทก์ร่วม คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีนี้วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ดังนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมรับว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยในคดีนี้เมื่อยังไม่ได้ความว่าโจทก์ร่วมวิวาททำร้ายร่างกายกับจำเลย ประกอบกับคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่สมควรด่วนวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นนี้ เสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอำนาจโจทก์ร่วมในคดีจราจร และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43, 45, 157 และ ป.อ. มาตรา 300 สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตพอแปลความหมายได้ว่าอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 300
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้รับเช็คในฐานะผู้แทนห้างหุ้นส่วน ไม่มีอำนาจเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ร่วมได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้แทน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: เมื่อไม่เคยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมดสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง หมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความผิดกรรมเดียวในคดีขับรถประมาท และอำนาจการเป็นโจทก์ร่วม
เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่แล้ว การที่โจทก์ร่วมที่ 1 จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้หรือไม่ ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อที่ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนประมาทด้วย การที่จำเลยขับรถจะเลี้ยวซ้าย แต่ไม่นำรถเข้าชิด ขอบทางเดินรถด้านซ้าย กลับเลี้ยวรถโดยตัดหน้ารถโจทก์ร่วมที่ 1 ในระยะกระชั้นชิดจนเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกัน ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามได้รับอันตรายสาหัสและรถที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับไปรับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำในครั้งคราวเดียวที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันอันเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่เป็นการกระทำผิดสำเร็จแต่ละตอนแยกจากกันเป็นความผิดต่างกรรมกันไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คำขอคืนเงินในคดีอาญาแล้ว ห้ามฟ้องเรียกเงินเดิมอีก
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกและมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย และโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีนั้นได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีอาญาและมีคำขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินที่ยักยอกด้วยแล้ว ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีดังกล่าวและคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินจำนวนเดียวกันนี้คืนจากจำเลยอีก จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่งและอาญา: ห้ามฟ้องซ้ำเมื่อคดีอาญายังไม่สิ้นสุดและมีคำขอทางแพ่ง
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐาน ยักยอกและมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ เงินแก่ผู้เสียหาย และโจทก์ซึ่ง เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นได้ เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย จึงมีความหมายโดย นิตินัยว่าโจทก์ได้ ฟ้องจำเลยในคดีอาญาและมีคำขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้ เงินที่ยักยอกด้วย แล้ว ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีดังกล่าวและคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินจำนวนเดียว กันนี้คืนจากจำเลยอีก จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1) ประกอบด้วยพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยมีเหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงตาม ป.อ.มาตรา 72 และการพิพากษาโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุ 16 ปี
การที่ผู้ตายเมาสุราและได้ บังคับขู่เข็ญโดยใช้ มือผลักอก จำเลยหลายครั้งเพื่อให้จำเลยไปดื่ม สุราด้วย และท้าทายให้ยิงกันพร้อมกับทำท่าล้วงอาวุธปืนเมื่อจำเลยวิ่งหนี ผู้ตายยังวิ่งไล่ตามไปอีก จำเลยจึงใช้ อาวุธปืนยิงทันที ถือ ได้ ว่าจำเลยกระทำไปเพราะถูก ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วย เหตุอันไม่ เป็นธรรม ตามป.อ. มาตรา 72 พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯมาตรา 772 และข้อหาฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 แม้ศาลจะอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีด้วย ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ เฉพาะ ในข้อหาฆ่าผู้อื่นเท่านั้นเพราะโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในข้อหาดังกล่าว ส่วนข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายจึงไม่อาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดียักยอกเงินค่าสินค้า: เงินตกเป็นของใครเมื่อใด?
จำเลยรับเงินค่าสินค้าไว้ในฐานะตัวแทนของโจทก์ร่วมผู้ขาย เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วหาใช่เป็นเจ้าของเงินนั้นต่อไปไม่เมื่อจำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วมโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ อันเป็นความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์พนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมย่อมขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้