คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีความผิดส่วนตัว และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ
โจทก์ร่วมเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้มาครั้งหนึ่งแล้วแต่ในคดีนั้นโจทก์ร่วมไม่มาตามกำหนดนัด ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ผลแห่งคดีที่โจทก์ร่วม ยื่นฟ้องจำเลยดังกล่าวนั้น ทำให้โจทก์ร่วมจะฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ เมื่อเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวย่อมตัดอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการตามมาตรา 166 วรรคท้าย สิทธิของพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องจำเลยในมูลกรณีเดียวกันไว้แล้วเป็นอันระงับไปโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าพนักงานอัยการฟ้องก่อนหรือหลังจากที่ศาลยกฟ้องคดีของโจทก์ร่วม เมื่อพนักงานอัยการถูกตัดอำนาจฟ้องย่อมจะดำเนินคดีต่อไปไม่ได้ ต้องยกฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วม
การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มาศาล ขอให้ศาลยกคดีของตนขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ แต่ถอนคำร้องเสียเท่ากับไม่มีการยื่นคำร้องจะแปลว่าคำร้องที่โจทก์ยื่นและถอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมประสงค์จะถอนคดีที่ตนฟ้องเพื่อเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการร้องทุกข์: การที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อหน่วยงานที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
รองเลขาธิการ ก.ต.ป. (คณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ) ไม่มีอำนาจหน้าที่อย่างเช่นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและมิได้เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งจะรับคำร้องทุกข์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้เสียหายร้องเรียนไปยังรองเลขาธิการ ก.ต.ป. ในคดีความผิดต่อส่วนตัว จึงมิใช่เป็นการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องและเมื่อพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง คำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดเช็ค: ผู้ทรงเช็ค ณ วันปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นผู้เสียหาย แต่เพียงผู้เดียว
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมสลักหลังส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ให้ ซ. ซ. นำเช็คไปยื่นเข้าบัญชีที่ธนาคาร ธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ธนาคารปฏิเสธนั้นเป็นวันเกิดเหตุ เพราะความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อขณะนั้น ซ.เป็นผู้ทรงเช็ค ซ.จึงเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะได้ชำระเงินตามเช็คให้ ซ.ไปแล้ว ก็ไม่ก่อให้โจทก์ร่วมเกิดสิทธิเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ การสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้ร้องทุกข์จึงไม่ชอบ เท่ากับไม่มีการสอบสวนตามกฎหมาย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าเป็นโจทก์ร่วม
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในคดีเช็ค: สิทธิร้องทุกข์เป็นของผู้ทรงเช็ค ณ วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมสลักหลังส่งมอบเช็คนั้นชำระหนี้ให้ ซ. ซ. นำเช็คไปยื่นเข้าบัญชีที่ธนาคาร ธนาคารผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ธนาคารปฏิเสธนั้นเป็นวันเกิดเหตุเพราะความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อขณะนั้น ซ. เป็นผู้ทรงเช็ค ซ. จึงเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะได้ชำระเงินตามเช็คให้ ซ. ไปแล้วก็ไม่ก่อให้โจทก์ร่วมเกิดสิทธิเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ การสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้ร้องทุกข์จึงไม่ชอบเท่ากับไม่มีการสอบสวนตามกฎหมาย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าเป็นโจทก์ร่วม(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: เจ้าของรถที่เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องเอง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาท ชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 29, 66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสีย โดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีความเสียหายจากอุบัติเหตุ: เจ้าของรถไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรงหากไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกเพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสียโดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาของผู้เสียหายที่ได้รับกระทบจากคำเบิกความเท็จ ซึ่งเชื่อมโยงกับคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ป.ในข้อหาฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายว่า ป. ขับรถยนต์มาด้วยความเร็วปกติและได้ลดความเร็วลงเมื่อถึงทางโค้ง พอรถแฉลบผู้ตายสะดุ้งตื่นร้องโวยวาย และคว้ามือ ป. เป็นเหตุให้รถแฉลบจากถนนพลิกคว่ำ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอ้างว่าเป็นบุตรผู้ตาย ได้ยื่นฟ้องป. เป็นคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายเนื่องจาก ป. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตาย และได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่ ป.เป็นจำเลยดังกล่าวเช่นนี้ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีนี้โดยตรงและมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ เพราะผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว และคำเบิกความเท็จในข้อสำคัญของจำเลยนี้ในคดีอาญาดังกล่าว ย่อมกระทบกระเทือนถึงผลของคดีแพ่งที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องป. โดยศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาเพื่อเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงไว้แล้ว ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยเรื่องเดียวกันนั้นเป็นคดีใหม่ ผู้เสียหายจึงถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้แล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องเห็นได้ว่าการที่ผู้เสียหายถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 36 พนักงานอัยการจึงยังมีอำนาจฟ้องจำเลยและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไป จึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่าเพื่อนำไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจและจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้นเพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า มิได้เอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ ก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องเพื่อเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ และความผิดฐานฉ้อโกงที่ต้องมีเจตนาหลอกลวง
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงไว้แล้ว ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยเรื่องเดียวกันนั้นเป็นคดีใหม่ ผู้เสียหายจึงถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้แล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้อง เห็นได้ว่าการที่ผู้เสียหายถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 พนักงานอัยการจึงยังมีอำนาจฟ้องจำเลยและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไป จึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่าเพื่อนำไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจและจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้นเพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า มิได้เอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ ก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11-15/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเช็คที่ชำระหนี้แทนภายหลังเช็คเด้ง ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อยาให้แก่บริษัท ท. เมื่อเช็คขึ้นเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม. ผู้จัดการบริษัท ท.ได้เอาเงินส่วนตัวของ ม. ชำระให้บริษัท ท. แทนไปแล้วรับเช็คดังกล่าวมา ดังนี้ม. ได้รับเช็คนั้นมาหลังจากความผิดเกิดขึ้นแล้ว ม. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
of 22