พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิวาทร่วมกันทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเป็นผู้เสียหายและอุทธรณ์คดีอาญาได้
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ร่วมกับจำเลยสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ย่อมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 30 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ขอให้กำหนดโทษจำเลยสูงขึ้น จึงต้องบังคับโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5232/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ และอำนาจในการฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ก่อเหตุ
เมื่อโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยด่าว่ามารดาจำเลยด้วยถ้อยคำรุนแรงและพูดท้าทายจำเลยเป็นทำนองให้ไปต่อสู้กันในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกโจทก์ร่วมข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ดังนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด และไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ม. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการกับยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และ มาตรา 44/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานะผู้เสียหาย
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2 ) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19816/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยและการมีอำนาจเป็นโจทก์: การโอนกรรมสิทธิ์ต้องมีการตรวจรับสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักปุ๋ยของสหกรณ์การเกษตร ด. ผู้เสียหายที่เป็นของนายจ้างไป แต่กลับได้ความตามทางพิจารณาเกี่ยวกับทางปฏิบัติในการซื้อปุ๋ยของสหกรณ์การเกษตร ด. ผู้ขายว่า ต้องมีการขนส่งปุ๋ยมาตรวจนับ ณ ที่ทำการของสหกรณ์การเกษตร ด. ก่อนการชำระค่าปุ๋ยตามจำนวนที่ตรวจนับได้ ดังนี้ถือว่าสหกรณ์การเกษตร ด. และผู้ขายซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาเอาการตรวจนับปุ๋ย ณ ที่ทำการของสหกรณ์การเกษตร ด. เป็นสาระสำคัญในการโอนกรรมสิทธิ์ปุ๋ยกัน เมื่อปุ๋ยตามฟ้องสูญหายไประหว่างขนส่งก่อนการตรวจนับ กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงยังไม่ตกเป็นของสหกรณ์การเกษตร ด.
แม้คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่เมื่อสหกรณ์การเกษตร ด. ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
แม้คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่เมื่อสหกรณ์การเกษตร ด. ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14793/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารและการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายโดยตรง
จำเลยปลอมเอกสาร เอกสารราชการ และเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ โดยลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมและทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ แล้วนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปใช้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขายฝาก ไถ่ถอนการขายฝาก และขายที่ดินของโจทก์ร่วม 2 แปลง ทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย แม้ฟ้องโจทก์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับที่ตั้งที่ดินของโจทก์ร่วมและไม่ได้แนบสำเนาโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ร่วมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร เอกสารราชการ และเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และใช้เอกสารปลอมดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุ จำเลยป้องกันตนเองและผู้อื่นจากการถูกทำร้าย จึงไม่มีความผิดฐานฆ่า
ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุและวิ่งไล่ทำร้าย ร. จากโรงลิเกจนไปถึงที่เกิดเหตุ แล้วใช้มีดฟันแขน ร. ได้รับบาดเจ็บและเตะถีบ ร. จนล้มลงแล้วใช้อาวุธปืนจ่อ ร. พร้อมจะยิงและพูดว่ามึงตายอันเป็นการหมายเอาชีวิต ร. นับว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายใกล้จะถึงจำเลยได้ห้ามปรามแล้ว แต่ผู้ตายไม่เชื่อฟัง ในสถานการณ์เช่นนั้นการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันทีทันใดจึงเป็นการยับยั้งการกระทำของผู้ตาย และป้องกันชีวิต ร. ทั้งจำเลยยิงปืนเพียงนัดเดียว ถือได้ว่าจำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
สำหรับคดีส่วนแพ่งนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงหาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. มารดาผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิดำเนินคดีแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ตลอดจนไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
สำหรับคดีส่วนแพ่งนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงหาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. มารดาผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิดำเนินคดีแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ตลอดจนไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8694/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์
ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องย่อมหมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายในกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม คดีของโจทก์ร่วมจึงยุติลง แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะอนุญาตให้ฎีกาได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 245 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การไม่ยื่นคำร้องเข้าร่วมในสำนวนคดีทำให้ไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันกับอีก 2 คดี โดยโจทก์ร่วมที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4249/2546 ของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่โจทก์ร่วมที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีนี้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 7 ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันสามสำนวนและโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายทั้งสามสำนวนก็ตาม เมื่อโจทก์ร่วมที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาสำนวนคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 โจทก์ร่วมที่ 3 จึงไม่ใช่โจทก์ร่วมในสำนวนคดีนี้ โจทก์ร่วมที่ 3 จะอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 7 ไม่ได้ ส่วนการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีนี้กับอีก 2 คดี ดังกล่าวรวมกัน เป็นอำนาจของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 25 ซึ่งเป็นคนละเรื่องแยกต่างหากจากกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9555/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีการกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: เฉพาะรัฐเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดี
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา โดยได้บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ รวมถึงการปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าว ดังนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมทั้งแปดไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8871/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจเป็นโจทก์
ผู้ตายบุกรุกเข้าไปในบ้านของจำเลยโดยถือมีดดาบยาวประมาณ 1 เมตร เข้าไปหา ฉ. บิดาจำเลยแล้วใช้มีดดาบดังกล่าวฟัน ฉ. เป็นเหตุให้ ฉ. ได้รับอันตรายแก่กาย เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุบุกรุกเข้าไปทำร้ายร่างกาย ฉ. ก่อน ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225