คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดเล่นแชร์เกิน 3 วง และความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายที่ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลย เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ ก็จะตกได้แก่ผู้นั้น กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมต่อไปอีกและหากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็ต้องรับผิดแทน ซึ่งเป็นความผิดในทางแพ่งจำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้นมิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีจำเลยเป็นนายวงแชร์ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่าสามวงจึงเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ. 2534 มาตรา 4,6,17 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้เฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่ชัดเจนในการบรรยายฟ้องทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยตามกรรมหลายกรรมต่างกันได้
ในคดีที่ฟ้องโจทก์มีหลายข้อหา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะข้อหาความผิดตามฟ้องซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น และการที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมา ต้องถือว่าเป็นการรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตามฟ้องที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเช่นเดียวกัน
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) แต่ละข้อหาแยกเป็นข้อย่อยมาให้ชัดเจน เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน แม้ในตอนต้นโจทก์จะบรรยายฟ้องรวมกันมาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ก็บรรยายอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 90 มาด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้อง ข้อ (ก) ในแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) เป็นความผิดหลายกรรมหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 59 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ประกอบมาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมและผลของการบอกเลิกสัญญาต่อคดีเช็ค: การพิจารณาคุณสมบัติโจทก์และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
สำนวนคดีที่ห้าถึงที่สิบ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว ส่วนสำนวนคดีที่สามและที่สี่ แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 3 เข้าร่วมเป็นโจทก์เนื่องจากคำฟ้องทั้งสองสำนวนดังกล่าวโจทก์ที่ 3 ไม่ใช่ผู้เสียหายด้วย โจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเช่นกันการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน หามีผลให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ทุกสำนวนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกันไม่
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัย
ตามฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ผู้เสียหายขับเป็นเหตุให้ จ. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ส่วน พ. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157,160 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดแต่ก็พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและพิพากษาจำคุกจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195ประกอบด้วยมาตรา 225 ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลยและให้พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของจำเลย กับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ & สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในคดีอาญา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรแม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึง รายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยก รายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบ การใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้ โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมย่อม มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์ เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ + สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหาย
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร แม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึงรายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกรายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบการใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
ในการเจรจาเรื่องค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 เจรจาแทนฝ่ายผู้ต้องหา มีการตกลงใช้ค่าเสียหายแก่ญาติของผู้ตายเป็นเงิน 150,000 บาท หลังจากนั้นมีการจ่ายเงิน 100,000 บาท ที่บริษัทจำเลยที่ 1 บ.มารดาผู้ตาย และ จ.บิดาผู้ตายได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายที่บริษัทจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาทที่โจทก์ที่ 1 และ บ.แถลงในรายงานกระบวนพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้น ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ โจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 3 เป็นจำเลยว่าร่วมกันได้รับชดใช้เงินจากจำเลยที่ 3 อีก 60,000 บาท ไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลยที่ 3 ต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3แล้ว แต่สำหรับโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์โดยโจทก์ที่ 1 ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทนนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 แทนโจทก์ที่ 2 การประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1574 (12) หากมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจกระทำได้ การประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2
ปัญหาเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นเรื่องกระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบกับมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม กรณีทรัพย์สินเป็นของนิติบุคคล
คำร้องของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นระบุว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้รับคำร้องและอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้แล้วแม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าทรัพย์ตามที่ระบุในคำฟ้องเป็นของ ณ. แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งมี ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและจำเลยนำสืบปฏิเสธว่า อ.กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์ร่วมซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมนำมาฝากไว้ซึ่งไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ ดังนี้ไม่เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ร่วมด้วยเหตุว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย
of 22