คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364-7365/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ในสำนวนหลังของศาลชั้นต้นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้วโจทก์และจำเลยที่8(โจทก์และจำเลยในสำนวนหลัง)มิได้ยื่นอุทธรณ์ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในสำนวนแรกยื่นอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์เกี่ยวกับสำนวนคดีหลังจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค1เกี่ยวกับจำเลยที่8จึงไม่ชอบและไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่8ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแก้ไข/เพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการไม่มีคำขอให้ริบของกลาง โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรมอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6 การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 56 วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 และ 15 เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมาและคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้วจึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถของโจทก์ร่วมผู้เยาว์และการแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีอาญา
ผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ต้องกระทำโดยผู้แทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3, 5 และ 6การที่ผู้เสียหายซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยลงชื่อแต่งตั้งทนายความด้วยตนเองแต่ลำพังเพื่อให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณานั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่จะสั่งให้เแก้ไขความบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 56 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 6และ 15
เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เยาว์มิได้เป็นผู้ฎีกาขึ้นมา และคดีไม่อาจทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องของโจทก์หรือไม่เปลี่ยนแปลงไป และเมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมมีอายุเกินกว่า 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องสั่งให้แก้ไขในข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีชุลมุนต่อสู้และการฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ตาม ป.อ.มาตรา 299 ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาจำกัดเฉพาะโจทก์/โจทก์ร่วม การฎีกาขอลงโทษจำเลยโดยผู้ไม่เกี่ยวข้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วมในคดีอาญา: การยุติสิทธิเมื่อมิได้อุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้อง
ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็หมายถึงยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยเมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีของโจทก์ร่วมจึงยุติลง ฉะนั้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็คและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์บริษัทหลักทรัพย์ กรณีเช็คไม่มีเงินจ่าย
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าหุ้นให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 46 หรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการมีอำนาจร้องทุกข์ของผู้ทรงเช็ค
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าหุ้นให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 46 หรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความประมาทในคดีขับรถชน และสิทธิของโจทก์ร่วมที่จำกัดเฉพาะความเสียหายทางอาญา
โจทก์มีแต่ร้อยตำรวจโท พ.เบิกความว่าได้รับแจ้งว่ามีคนถูกรถยนต์ชนจึงไปที่เกิดเหตุ และได้ทำแผนที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ นอกจากนี้โจทก์มีคำให้การชั้นสอบสวนของนาย ว.ซึ่งให้การเพียงว่าพบหญิงลักษณะถูกรถชนนอนหมดสติอยู่ในถนนจึงนำส่งโรงพยาบาล แต่หญิงดังกล่าวถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยโจทก์ไม่มีพยานใดแสดงว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทสำหรับบันทึกการตกลงเรื่องค่าเสียหายที่มีข้อความว่าฝ่ายสามีผู้ตายเรียกค่าเสียหาย 500,000 บาท แต่ฝ่ายจำเลยเสนอให้เพียง50,000 บาท ก็ไม่ใช่ข้อชี้ไปถึงว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท ส่วนจำเลยมีตัวจำเลยและนาย ส.เป็นพยานเบิกความปฏิเสธว่าเหตุรถยนต์ชนผู้ตายไม่ได้เกิดจากความประมาทของจำเลย ดังนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีได้ก็ถือว่าให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 291 เท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดนี้ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,78,157,160 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เป็นโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ได้และไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาความผิดนี้ ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 22