คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ เป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอนและนำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา 8 (9) จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินล้นพ้นตัว: การทวงถามหนี้โดยชอบ และข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วยแล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ 2 มีผู้รับไว้แทน จำเลยจึงได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7602/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ และการล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์โดยตรง แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาโดยทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามเช็คที่ฟ้องจำนวน 431,103 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนี้จำนวน 1,565,486 บาท ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ โดยบันทึกดังกล่าวมิได้ระบุเลยว่าจำเลยกระทำการแทนบริษัท ซ. ที่จำเลยเป็นกรรมการบริษัทอยู่แสดงให้เห็นถึงการที่จำเลยทำบันทึกข้อตกลงเป็นส่วนตัวยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำนวน 1,565,486 บาท อีกคนหนึ่ง เมื่อโจทก์ไม่รู้เจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของจำเลยว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์เพียง 431,103 บาท ส่วนหนี้ที่เหลือจำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันบริษัท ซ. อันจะเป็เหตุให้การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตา 154 จำเลยจึงต้องผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและจำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ตกลงจำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,565,486 บาท ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยหรือบริษัท ซ. คนใดคนหนึ่งได้ การที่โจทก์ไม่เลือกใช้สิทธิบังคับเอกแก่บริษัท ซ. จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตแต่ไม่พบทรัพย์สินของจำเลย นอกจากจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 คดีแรกแล้วจำเลยยังถูกฟ้องในความผิดเดียวกันอีก 3 คดี ต่อมาจำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้ง 3 คดีดังกล่าว กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยเสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สสองคนขึ้นไปจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) (8) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกองทุนรวม และการใช้สิทธิฟ้องล้มละลายโดยชอบตามกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้แทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ แม้ไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดี
หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ และโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วและไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) แม้โจทก์จะยังมิได้นำยึดทรัพย์จำเลยทั้งสามตามหมายบังคับคดี แต่โจทก์ก็นำสืบว่าจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินให้บังคับชำระหนี้ได้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
จำเลยที่ 3 อ้างว่าตนรับราชการมีเงินเดือน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 มิได้นำเงินเดือนดังกล่าวมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดประกอบกับเงินเดือนของจำเลยที่ 3 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ทั้งการที่อ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินของ ป. ในราคา 6 ล้านบาทเศษ โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษแล้วนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกตกลงในสัญญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 ตกลงรับโอนที่ดินในวันที่ที่ระบุไว้ พร้อมกับชำระราคาที่ดินที่เหลืออีก 2 ล้านบาทเศษ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันและ ป. สามารถริบเงินมัดจำได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 3 ก็มิได้รับโอนและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จะโอนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพร้อมที่จะโอนที่ดินแปลงดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการทวงถามหนี้ตามกฎหมาย
ในการฟ้องคดีล้มละลายนั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยในการสืบของโจทก์นั้น โจทก์อาจจะสืบข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขแห่งข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 หรือนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 9(1) คดีนี้โจทก์อ้างว่าได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยไม่ชำระหนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) ทั้งนี้ โจทก์ทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้โดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ แต่ในทางนำสืบนั้นโจทก์มิได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่ามีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามโดยวิธีธรรมดาได้ ทั้งที่ปรากฏในชั้นฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง กรณีจึงยังรับฟังไม่ได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วตามมาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6983/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องแสดงหลักฐานหนี้สินล้นพ้นตัว แม้ฟ้องก่อนบังคับคดี แต่ต้องพิสูจน์ฐานหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายก่อนสิ้นระยะเวลาบังคับคดี แม้การฟ้องคดีล้มละลายจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าก่อนฟ้องจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9(1) เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงหนังสือของสำนักงานที่ดินที่ว่าได้ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองที่ดิน โดยพยานหลักฐานของโจทก์นอกจากนั้นไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย โจทก์ต้องพิสูจน์การไม่มีทรัพย์สินของจำเลย
แม้จำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนชื่อตัว แต่ยังคงอยู่ในบ้านที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน โดยมิได้ย้ายที่อยู่แต่อย่างใด ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หลบหนี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าพนักงานตำรวจต้องย้ายที่อยู่ไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชามิใช่เป็นการหลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่แต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์คงฟังได้แต่เพียงว่าโจทก์ไม่ทราบภูมิลำเนาที่แน่นอนของจำเลยทั้งสามและไม่สามารถที่จะสืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัวจากหนังสือทวงถามและการตรวจสอบทรัพย์สิน แม้มีระยะเวลาห่าง แต่ไม่มีทรัพย์สินเพิ่ม
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2531และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2532 เป็นการที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถาม ไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันแล้ว แม้หนังสือทวงถามครั้งที่สามและครั้งที่สี่ที่โจทก์ส่งให้จำเลยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 จะเป็นการส่งโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปจากบ้านที่ได้ส่งหนังสือแล้ว และมีระยะเวลาห่างจากการส่งหนังสือทวงถามในครั้งแรกและครั้งที่สองเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น แต่อย่างใด กรณีถือได้ว่าจำเลยต้องข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของลูกหนี้ร่วม: พิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเป็นรายบุคคล
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อโจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานเข้าสืบให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่นจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และการที่จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
of 8