พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4286/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องหนี้ผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม: การทวงถามหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ถ้าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้รวมสามครั้ง แต่ในการทวงถามสองครั้งแรก ยังไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ตามขั้นตอนในคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น จำเลยชอบที่จะ ปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามหนังสือทวงถามทั้งสองครั้งได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามโดยชอบเพียงครั้งเดียวยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีตามกฎหมาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
เมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบฟังได้ว่าจำเลยต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วก็เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำพยานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การและยังขาดนัดพิจารณาอีกด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการบังคับคดี เมื่อระยะเวลาในการบังคับคดีใกล้จะสิ้นสุดจึงมาฟ้องคดี ทำให้มีการคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมาและเป็นจำนวนมากนั้น เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต จะถือเป็นกรณีที่มีเหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวและเหตุสมควรมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
หนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรการโอนที่ดินยังเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกว่า โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนภายหลังจากจำเลยทั้งสองผิดนัดหรือไม่เพียงใดดังนั้นในชั้นนี้หนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรการโอนที่ดินจึงยังไม่เป็นหนี้ที่สามารถกำหนด จำนวนที่แน่นอนได้ โจทก์จะนำมารวมเป็นหนี้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 รับราชการเป็นอาจารย์ระดับ 7 มีเงินเดือน ๆ ละ 14,070 บาทและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินราคาประมาณ 1,300,000 บาท แม้จะติดจำนองสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน 800,000 บาท แต่ราคาที่ดินก็ยังสูงกว่าหนี้จำนองที่มีอยู่ ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อโจทก์เพียง 200,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ในคดีเดิมที่โจทก์จำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในหนี้เพียง 337,500 บาท และดอกเบี้ยตามกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 692 ราคาทั้งแปลง 12,000,000 บาทและโจทก์รับโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะเบิกความว่าจำเลยที่ 1จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่โจทก์เป็นเงินอีก 700,000 บาท แต่มูลค่าของราคาที่ดินที่โจทก์ได้รับเห็นได้ชัดว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยในจำนวนที่สูงกว่าหนี้เดิมมากอันเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว นับได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 1ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: ลูกหนี้ร่วมกันมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ยังไม่เพียงชำระหนี้ได้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่ง สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว, เสนอประนีประนอมหนี้, และการไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
การที่โจทก์ได้มีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้โจทก์แล้วสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันและจำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแล้ว ไม่ชำระหนี้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่มีทรัพย์สินอื่นอันจะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานแล้วว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)(9) นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่า ว่าจำเลยเสนอขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์และต่อบริษัทธนาคาร อ. ที่ฟ้องเรียกหนี้ประมาณ 800,000,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 เองก็ยอมรับว่าไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินได้ ดังนี้ เป็นกรณีลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามมาตรา 8(8) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ เมื่อจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีทรัพย์สิน พอสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลย ทั้งสี่ล้มละลาย ศาลจึงต้องสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ทั้งสี่เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของผู้ค้ำประกัน การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการตีราคาหลักประกัน
พ.และย. ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ น. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆตามที่ระบุไว้ รวมทั้งมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายทุกศาลแทนโจทก์ได้ ขณะ พ. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจนั้น พ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลให้ น. มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลายแทนโจทก์ได้ทั้งหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท อันแสดงว่าโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการแทนโจทก์ได้มากกว่าครั้งเดียวดังนี้ ตราบใดโจทก์ยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว น. ย่อมมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ทั้งหมดแทนโจทก์ได้ตลอดไป แม้ต่อมาภายหลังขณะยื่นฟ้องนั้นพ. จะมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์อีกต่อไปก็ตามเพราะการที่ พ.และย. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์นั้นเป็นการมอบอำนาจในนามโจทก์ น. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ขายลดเช็คตามสัญญาขายลดเช็คพร้อมดอกเบี้ย หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนที่โจทก์ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 10(2) ที่ให้กระทำเช่นนั้น เพียงแต่เมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาทก็ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งและนำยึดหลักประกันออกขายทอดตลาดก่อน ที่จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีอยู่แล้วขณะค้ำประกันและที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้า โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาทเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 8,423,598.91บาท โจทก์ตีราคาหลักประกันเป็นเงิน 3,856,300 บาทเมื่อหักกันจำนวนหนี้ดังกล่าวเงินยังขาดอยู่ 4,567,298.91บาท อันเป็นจำนวนเงินที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายได้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่จำเลยที่ 2นำสืบว่า มีรถยนต์บรรทุกหลายคันคงมีแต่จำเลยที่ 2คนเดียวเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้เห็นว่าเป็นความจริง ส่วนจำเลยที่ 2นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ประกอบการขนส่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังวินิจฉัยมาข้างต้นหาใช่ไม่มีหน้าที่ต้องรับชำระหนี้แก่โจทก์ดังที่จำเลยที่ 2ฎีกาไม่ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้ล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องคดีเรียกหนี้ตามคำพิพากษา แม้เวลาผ่านไป 10 ปี
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตา 193/32มาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความล้มละลาย: การฟ้องภายใน 10 ปีสะดุดอายุความเดิม
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาและการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาและการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาและการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาและการที่การฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลง ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับ
เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้อีกซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนที่โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7248/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริง ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย และพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของลูกหนี้
ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8 นั้น เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง ข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้จะรับฟังว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 72,915.75 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ตาม แต่มูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้นั้นเป็นมูลหนี้เกิดขึ้นในปี 2532 ซึ่งยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 36,077.25 บาทเท่านั้น โจทก์รอจนกระทั่งปี 2539 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2532 ทำให้ต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 72,915.75 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยปรากฏว่าบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นของจำเลยปิดประตูใส่กุญแจอยู่ในลักษณะทิ้งร้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้เข้าไปตรวจดูว่ามีทรัพย์สินอื่นใดบ้างกลับแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในบ้านและโจทก์ก็มิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปทำการยึดทรัพย์สินมาเบิกความสนับสนุนให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดได้จริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย