คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม: การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นรายบุคคล แม้มีทรัพย์สินร่วมกัน
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนเมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์แม้จำเลยที่1มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินพอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1เมื่อจำเลยที่2ถูกบังคับยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา8(5)การที่จำเลยที่1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลายตามมาตรา14ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ก่อนฟ้องโจทก์ส่งหนังสือทวงถามจำเลย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์แจ้งว่าเลิกกิจการแล้ว โจทก์จึงประกาศทวงหนี้ทางหนังสือพิมพ์ จำเลยก็ไม่ติดต่อมายังโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่อยู่อาศัยและปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อโจทก์ให้พนักงานของโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินฝากกับธนาคารโจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำมาหักลดยอดหนี้แล้ว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข.
เฉพาะยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่ชัดเจนระหว่างวันที่ 27กันยายน 2525 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2525 หักทอนแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 55,709.50 บาท หากคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราต่ำที่สุดที่โจทก์ขอมาคืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 ปี เป็นเงิน 130,917.33 บาทเมื่อนำเงินฝากของจำเลยจำนวน 56,337.59 บาท มาหักชำระหนี้แล้ว จำเลยก็ยังคงเป็นหนี้โจทก์อีก 74,579.73 บาท เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า50,000 บาท เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 14 ส่วนจำนวนหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระเพียงใดเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายถูกต้องตามภูมิลำเนา และผลของการสันนิษฐานบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิง หุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว
ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ
การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ก.ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การตีราคาหลักประกัน, ภูมิลำเนาจำเลย, และข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1ที่ 2 ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิงหุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ 50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 8(4) ก. ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: แม้มีหนี้ถึงที่สุด แต่ศาลพิจารณาเหตุไม่สมควรให้ล้มละลายได้ หากลูกหนี้มีโอกาสชำระหนี้และไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง
เมื่อศาลแพ่งมีคำพิพากษาคดีที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายและคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และคดีชั้นร้องขอพิจารณาใหม่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวย่อมต้องผูกพันคู่ความจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันและมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินให้พึงยึดมาชำระหนี้ได้อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 แต่จำเลยที่ 2เป็นนายทหารยศนาวาอากาศตรี อายุเพียง 40 ปีเศษ ยังมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไปอีก หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งอันเป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องล้มละลาย เป็นหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเข้าทำงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาจำเลยที่ 2 มิใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนเองโดยแท้ ประกอบกับจำเลยที่ 2มีรายได้จากเงินเดือนเดือนละ 10,500 บาท โดยไม่ปรากฏว่ามีหนี้สินอื่น และเหตุที่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ก็น่าเชื่อว่าเพราะจำเลยที่ 2 เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 100,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันเท่านั้นซึ่งจะเห็นได้จากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้มีการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวใหม่ และยืนยันตลอดมาตั้งแต่เมื่ออ้างตนเองเป็นพยานว่าพร้อมชำระเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่โจทก์ทันที เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสียเลยจึงมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลร้ายต่อจำเลยได้
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ทั้งสองเด็ดขาดในคดีนี้แล้ว มีเจ้าหนี้อื่นอีกสองรายได้ยื่นขอรับ ชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่ เกิดจากทางนำสืบของคู่ความก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจนำมาใช้เป็นผลร้ายต่อลูกหนี้
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดในคดีนี้แล้ว มีเจ้าหนี้อื่นอีกสองรายได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เกิดจากทางนำสืบของคู่ความก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: อำนาจฟ้อง, การยอมรับเอกสาร, และสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ถ. ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยจำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้องแล้ว ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ชั้นพิจารณาศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แสดงว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน ยังค้างชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน8,538,400.98 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีล้มละลาย พิจารณาจากทรัพย์สินและรายได้ของจำเลย
การที่จำเลยยังมีที่ดินและยังประกอบกิจการโรงพิมพ์อยู่นั้นแสดงว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอยู่มาก และยังประกอบกิจการมีรายได้จึงมีทางขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เคยเสียภาษีเงินได้นั้น มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่าจำเลยไม่มีรายได้สำหรับเงินฝาก แม้จำเลยจะนำมาฝากก่อนเบิกความ 2 วัน ก็ถือเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์อาจบังคับชำระหนี้ได้ แม้จำเลยเป็นหญิงมีสามี ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นสินสมรสจะต้องแบ่งครึ่ง จึงไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์นั้น เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีที่จะต้องว่ากล่าวกันภายหลัง ยังไม่อาจทราบว่าหนี้ที่จำเลยค้างชำระเมื่อบังคับคดีพอชำระหนี้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย แม้การทวงถามหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากมีหลักฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนฟ้องไม่ เมื่อโจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง แม้การทวงถามจะไม่ชอบด้วยมาตรา 8(9) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลาย
of 8