คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย เพื่อยืนยันฐานะหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้น มิใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8 เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย ดังนั้นถ้าปรากฏเพียงว่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วรวม 2 ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นมาสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใด ทั้งจำเลยได้นำสืบว่าหนี้ระงับแล้วและจำเลยอยู่ในฐานะจะชำระหนี้ได้ จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยในคดีล้มละลาย: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้ว vs. หุ้นส่วนที่ยังคงเป็นอยู่
จำเลยที่2และที่4เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่1แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่1ให้ล้มละลายจำเลยที่2และที่4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่1ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแม้จำเลยที่2และที่4มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1068ก็ตามแต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่2และที่4มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่2และที่4เด็ดขาด จำเลยที่5เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่1ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อห้างจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่1และจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำ้องนำสืบว่าจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกรณีมีเหตุที่จำเลยที่5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนและการพิทักษ์ทรัพย์: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหุ้นส่วนที่เหลือไม่ต้องพิสูจน์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4 ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาด แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วน: ผลกระทบต่อความรับผิดของหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วและหุ้นส่วนที่ยังคงเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเพื่อพิสูจน์สภาพบุคคลล้มละลาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายถึงมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องว่า เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วมีจำนวนแน่นอนเกินกว่า 30,000 บาทถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมด แต่ทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการจำนองไว้ เจ้าหนี้จำนองได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิไว้ต่อศาล ทรัพย์สินอื่นๆ ก็มีราคาไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9 ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบด้วยพระราบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่ต้องบรรยายให้เข้าหลักเกณฑ์แห่งข้อสันนิษฐานตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา 8 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามาเป็นเวลาถึงสิบปีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยก็เพิกเฉย แม้จำเลยจะมีสิทธิการเช่าซื้อบ้านและที่ดิน หากโจทก์นำยึดมาก็อาจจะขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ไม่ได้ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อไม่ยินยอม รายได้จากการทำงานของจำเลยก็ยังห่างไกลกับจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ ทั้งจำเลยไม่เคยกระทำการใดอันแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยสุจริต ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้จำนวนแน่นอนโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามาเป็นเวลาถึงสิบปีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยก็เพิกเฉย แม้จำเลยจะมีสิทธิการเช่าซื้อบ้านและที่ดิน หากโจทก์นำยึดมาก็อาจจะขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ไม่ได้ถ้าผู้ให้เช่าซื้อไม่ยินยอม รายได้จากการทำงานของจำเลยก็ยังห่างไกลกับจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ ทั้งจำเลยไม่เคยกระทำการใดอันแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยสุจริต ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า30,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้จำนวนแน่นอนโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีถึงที่สุดและการเป็นลูกหนี้ตามประมวลรัษฎากร การไม่อุทธรณ์ทำให้การประเมินมีผลผูกพัน
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากกรมสรรพากรแล้ว แต่มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จำเลยจะมายกขึ้นต่อสู้ในคดีที่ถูกกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพราะเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ เพราะเงินรายรับไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีทำให้การประเมินถึงที่สุด และจำเลยต้องรับผิดหนี้ภาษีตามกฎหมาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากกรมสรรพากรแล้วแต่มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่ง ประมวลรัษฎากรนั้น จำเลยจะมายกขึ้นต่อสู้ในคดีที่ถูกกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพราะเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ เพราะเงินรายรับไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่
of 8