คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ และการพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3)โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ไม่ว่าหนี้จะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะยังไม่ถึงกำหนดชำระตามคำบังคับก็ตามโจทก์ก็นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือทวงหนี้และการพิพากษาให้ล้มละลาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดให้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อนหลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันที่ทวงถาม และสะดุดหยุดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งหนี้
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม ผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อน-หลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: มูลหนี้ตามเช็ค, เหตุไม่สมควรล้มละลาย, พฤติการณ์ชำระหนี้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญากู้เงินไว้ต่อมาจำเลยขอกู้เพิ่มและออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้ยืมเงินและมูลหนี้ตามเช็คด้วย มิใช่ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงินเพียงอย่างเดียว แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 622,000 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว แต่ในชั้นขอรับชำระหนี้คงมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 2 ราย คือโจทก์และธนาคาร ก. เฉพาะหนี้ของธนาคาร ก. จำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันด้วย จำเลยรับราชการครูระดับ 7 ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับเงินเดือน เดือนละ8,895 บาท ภรรยาจำเลยรับราชการครูระดับ 2 เงินเดือน เดือนละ5,745 บาท จำเลยถือหุ้นสหกรณ์ครูเป็นเงิน 50,000 บาท สามารถกู้เงินจากสหกรณ์ได้ในวงเงิน 100,000 บาท จำเลยเพิ่งใช้สิทธิกู้เพียง40,000 บาท บิดามารดาจำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่บ้าน และที่นาราคาประมาณ 1,500,000 บาท มารดาภรรยาจำเลยมีที่ดิน 5 แปลง ราคาประมาณ 2,000,000 บาท ชั้นขอประนอมหนี้จำเลยขอประนอมหนี้โดยยอมชำระหนี้ถึงร้อยละ 90 และไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดข้อตกลงตามคำขอประนอมหนี้ พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยสามารถขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้คดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: พิจารณาฐานะทรัพย์สินและรายได้ของจำเลยเพื่อวินิจฉัยความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งนักสำรวจดิน 6 กรมพัฒนาที่ดินนอกจากมีรายได้ประจำจากเงินเดือนยังประกอบกิจการค้าขายอาหารร่วมกับภรรยา บ้านของจำเลยแม้จะปลูกอยู่ในที่ดินบุคคลอื่นและรถยนต์อยู่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อแต่ทั้งบ้านและสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยย่อมนำไปแสวงหาประโยชน์ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก จำเลยจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ มิได้เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ในคดีล้มละลายต้องเสียเพียง 50 บาท ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) โจทก์เสียมา 200 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด หากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีหนี้โจทก์เกินห้าหมื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านตามประเด็นดังกล่าวหรืออุทธรณ์ฎีกาว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามความใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ฎีกาว่าได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนเช็คถึงกำหนด การที่โจทก์ยอมรับเช็คดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ยอมขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยแล้วและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผู้ใดอีก ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นที่จำเลยฎีกาก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะแม้จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์เพียงคนเดียว แต่เมื่อหนี้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 9 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกฟ้อง
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมิใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงดังนี้ แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม 2 ครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินที่สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยังมีหนี้สินกับโจทก์อีก 2,895,577.87บาท ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ 8088/2535 และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งในคดีหมายเลขดำที่ ล.1038/2533 ซึ่งรวมหนี้สินของจำเลยทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 7,000,000 บาทเศษ โดยจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ โจทก์มิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีต้องครบถ้วนก่อนฟ้อง
แม้มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเดิมจะมาจากการใช้สิทธิเรียกร้องในการติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยก็ตาม แต่เมื่อศาลอาญาพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แล้ว การบังคับคดีก็จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ว่าด้วยการบังคับคดี โจทก์จึงอ้างสิทธิเรียกร้องในการติดตามเอาทรัพย์คืน ซึ่งไม่มีอายุความมาใช้หาได้ไม่แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 การที่โจทก์ขอศาลออกหมายบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยมิได้มีการดำเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องพิจารณาเอาความจริงตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีสิทธิเรียกร้องบังคับคดีได้ก่อน หากหมดสิทธิแล้ว ก็ไม่มีสิทธิฟ้องล้มละลาย
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม2518 ศาลอาญาออกหมายบังคับคดีลงวันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์จำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การบังคับคดีมิได้หมายความแต่เพียงว่าโจทก์ดำเนินการให้ศาลออกหมายบังคับคดีเท่านั้นแต่หมายถึงโจทก์ต้องไปแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์จำเลยทั้งสองมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหมายบังคับคดีด้วย จึงจะสมบูรณ์ เมื่อปรากฏตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ได้จึงแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์ขอศาลออกหมายบังคับคดีภายในสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยมิได้มีการดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองตามขั้นตอนให้ครบถ้วนจนถึงขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวและจำนวนหนี้ที่แน่นอน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภรรยากันและเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วไม่ชำระ โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้ธนาคาร ก. ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอีก 3 คดี ซึ่งยังไม่มีการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองย้ายที่อยู่หลายครั้งโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบอีกทั้งจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ที่สามารถคำนวณได้แน่นอนพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ซึ่งพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) บัญญัติให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลาย 50 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา ซึ่งพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท.
of 20