คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: พฤติการณ์หนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอีก 3 คดี ซึ่งยังไม่มีการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองย้ายที่อยู่หลายครั้งโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1) บัญญัติให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายห้าสิบบาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาซึ่งพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าว 50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินล้นพ้นตัว: จำเลยมีหนี้หลายรายและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์เป็นเงิน 266,304 บาทและเป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่นอีก 3 ราย เป็นเงิน 92,250 บาทเศษ จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นของจำเลยได้ แม้จำเลยจะมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ไม่พอฟังว่าสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด จำเลยจึงเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะมีรายได้แต่ไม่เพียงพอชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์เป็นเงิน 266,304 บาทและเป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่นอีก 3 ราย เป็นเงิน 92,250 บาทเศษจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นของจำเลยได้แม้จำเลยจะมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ไม่พอฟังว่าสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด จำเลยจึงเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาบุคคลล้มละลาย: ทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ ไม่ถือเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยมีทรัพย์สินเป็นห้องชุดจำนวน 135 ห้อง มีราคาประมาณ200,000,000 บาท ถึง 300,000,000 บาท จำเลยเป็นหนี้โจทก์เพียง 1,400,000 บาทเศษ และเป็นหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประมาณ 110,000,000 บาท นอกจากนี้จำเลยได้นำเงินสดจำนวน1,834,000 บาท มาแสดงต่อหน้าศาล แสดงว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งต่อคดีล้มละลาย: หนี้เดิมไม่สามารถนำมาฟ้องล้มละลายได้อีก
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง จึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันตนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง มีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีแพ่งผูกพันคดีล้มละลาย หนี้เดิมไม่อาจนำมาฟ้องซ้ำได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรกเมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันคนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องมีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย: ความสามารถชำระหนี้เป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย
จำเลยเป็นข้าราชการครูระดับ 6 ได้รับเงินเดือนในอัตรา7,200 บาท จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ซึ่งรับราชการครูด้วยกันหลายครั้งรวม 60,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้ล้มละลายโดยไม่ได้ฟ้องเป็นคดีแพ่งก่อน และไม่ได้ทวงถามผู้ค้ำประกัน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยได้นำเงินมาวางศาล 10,000 บาท เพื่อชำระหนี้โจทก์ โจทก์ไม่รับนอกจากเป็นหนี้โจทก์จำเลยยังเป็นหนี้ธนาคารอีกสองแห่งแห่งละ30,000 บาท ซึ่งจำเลยได้ชำระไปบ้างแล้วคงค้างเงินต้นรายละ20,575 บาท และ 19,544 บาท ส่วนหนี้นาง อ. และนาง น.รายละ 10,000 บาท จำเลยก็ได้ผ่อนชำระไป 2,300 บาท และ 1,100 บาทตามลำดับ ส่วนหนี้รายอื่นอีก 20,000 บาท เจ้าหนี้นั้นยังไม่ทวงถามและยังไม่ฟ้องเพราะต้องการเงินก้อน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้และยังมีความสามารถชำระหนี้ได้อันเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยอมรับหนี้และขอผ่อนผัน
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาท โจทก์ทวงถามรวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยเพิกเฉย ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ขอเวลาสามเดือนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระยอมรับว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 อีก เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และไม่ปรากฏเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้สินและการพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากจำเลยไม่พิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาท โจทก์ทวงถามรวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยเพิกเฉย ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องขอเวลาสามเดือนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระยอมรับว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 อีก เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และไม่ปรากฏเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะโต้แย้งยอดหนี้ แต่ยอมรับหนี้เดิม
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน2528 แต่จำเลยก็รับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นโจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(2)(3) โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวนก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
of 20