พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อการฟ้องล้มละลาย
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน 2528 แต่จำเลยก็ยอมรับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2)(3)
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว การส่งคำบอกกล่าวโดยชอบ และการพิสูจน์ทรัพย์สิน
หนี้เงินกู้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์กำหนดระยะเวลาชำระคืนและมีข้อสัญญาว่าทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดคืนก่อนกำหนด การที่ทนายโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญากู้และทวงถามให้ชำระหนี้ รวม 2 ครั้งโดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และมีผู้รับไว้แทนจึงเป็นการส่งโดยชอบ สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันเลิกกันหนี้ของโจทก์จึงถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงตก เป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ รวมจำนวนถึง 637,431.30 บาท จำเลยที่ 1 เบิกความว่ามีอาชีพทำตะเกียบ ส่งประเทศไต้หวันตลอดจนมีทรัพย์สินหลายรายการและกำไรที่จะได้รับจากอาชีพที่ทำอยู่เกินกว่าที่เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ 2เบิกความว่ามีแผงลอย 2 แผงสำหรับขายของที่ตลาดถ้า โอนไปจะได้เงินประมาณ 150,000 บาท แต่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของจำเลยลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้เชื่อ ว่าเป็นความจริง คดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4988/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: แม้มีทรัพย์สินติดจำนอง แต่ยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้ ไม่ควรให้ล้มละลาย
เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่ดินจำนวนหลายแปลง ซึ่งแม้ที่ดินดังกล่าวจะติดจำนองทุกแปลง และจำเลยนำสืบว่าราคาที่แท้จริงมากกว่ามูลค่าจำนองโดยการประมาณของจำเลยเอง โดยไม่มีหลักฐานจากสำนักงานที่ดินมายืนยันสนับสนุน แต่จำเลยก็มีที่ดินอยู่มากแปลงซึ่งเมื่อรวมมูลค่ากันแล้ว ส่วนที่เกินจากการถูกบังคับจำนองก็น่าจะมีมูลค่าเหลืออยู่เป็นเงินจำนวนสูง นอกจากนี้จำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก และยังประกอบอาชีพมีรายได้ รวมทั้งจำเลยนำสืบได้อีกว่าช. ลูกหนี้โจทก์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ยังประกอบธุรกิจหากโจทก์บังคับคดีแก่ ช. ก็จะได้ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง สรุปแล้วจำเลยนำสืบมาพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ กรณีมีเหตุไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระงับด้วยการส่งมอบรถยนต์ ไม่เป็นหนี้ที่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ 290,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยยอมส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ ถ้าจำเลยชำระหนี้ครบถ้วนก็ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดและส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์แล้ว จึงไม่มีหนี้ที่จะบังคับคดีต่อไป โจทก์จะถือเอาจำนวนเงินในสัญญายอมจำนวน 240,000 บาท มาอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวยังไม่ได้ เพราะหากพิพาทกันในชั้นบังคับคดีต่อไปก็ยังไม่แน่นอนว่าจำเลยจะอ้างชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์อาจต้องยอมรับรถคืนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หนี้กู้ยืม, สัญญาเบิกเกินบัญชี, และการเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญา ผู้ให้กู้ต้องฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หลักเกณฑ์หนี้สิน, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, และการพิสูจน์สภาพหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญาผู้ให้กู้ต้อง ฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้ แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยเพียงแต่ อาศัยและช่วย ทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดย ไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใด อีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย: ผลของการบังคับคดีและการสะดุดหยุดอายุความ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2519 โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 ภายในสิบปี จึงขาดอายุความบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ได้บังคับคดีมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 ได้เงินมาชำระหนี้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2522 โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 20 มีนาคม 2530 เฉพาะคดีจำเลยที่ 1ขาดอายุความจึงไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ส่วนคดีของจำเลยที่ 2 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีและหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกำหนดจำนวนแน่นอนเกินกว่า 50,000 บาท จึงมีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทน, สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลาย: การรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันเมื่อบริษัทมอบอำนาจให้ตัวแทนทำสัญญา
บริษัท ค.ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ค. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำ ในฐานะตัวแทนของบริษัท เมื่อสัญญาโอนขายลดเช็คไม่มีข้อจำกัด ว่าเช็คที่บริษัท ค. นำมาขายลดให้แก่โจทก์จะต้องเป็นเช็คลูกค้าของบริษัทเท่านั้น และตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ระบุความรับผิดของจำเลยรวมถึงหนี้ตามเช็คของบุคคลอื่นที่บริษัท ค. ได้นำมาขายลดแก่โจทก์ด้วย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งบริษัท ค. เป็นหนี้โจทก์อยู่ 2 ล้านบาทเศษ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาภาพถ่ายเช็คและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าถือไม่ได้ว่าบริษัท ค. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ ซึ่งปัญหานี้โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ หาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้นไม่ โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว อย่างไรก็ตามปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินเฉพาะที่ดินพร้อมด้วยอาคารอันเป็นที่ตั้งบริษัท ค. ซึ่งติดจำนองอยู่เป็นเงิน 2,500,000 บาทที่ดินและอาคารดังกล่าวราคาประมาณ 5,000,000 บาท และเป็นสินสมรส เมื่อบังคับใช้หนี้จำนองแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยในฐานะสามีย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของเพียงครึ่งหนึ่งคือไม่เกิน 1,250,000 บาทซึ่งน้อยกว่าจำนวนหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้.