คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นอุปสรรคในการต่อสู้คดีล้มละลาย ห้ามมิให้รื้อฟื้นข้อต่อสู้เดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้องจริง จำเลยจะอ้างเหตุผลอันเป็นข้อต่อสู้เดิมในคดีก่อนขึ้นมาคัดค้านเพื่อขอให้ศาลรื้อฟื้นปัญหาเรื่องความรับผิดของจำเลยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งต่อการฟ้องล้มละลาย จำเลยไม่อาจยกเหตุต่อสู้เดิมได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้องจริง จำเลยจะอ้างเหตุผลอันเป็นข้อต่อสู้เดิมในคดีก่อนขึ้นมาคัดค้านเพื่อขอให้ศาลรื้อฟื้นปัญหาเรื่องความรับผิดของจำเลยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งต่อคดีล้มละลาย: จำเลยถูกปิดปากมิให้โต้แย้งหนี้เดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้องจริง จำเลยจะอ้างเหตุผลอันเป็นข้อต่อสู้เดิมในคดีก่อนขึ้นมาคัดค้านเพื่อขอให้ศาลรื้อฟื้นปัญหาเรื่องความรับผิดของจำเลยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลของโจทก์ในคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่ศาลอาจงดสืบพยานได้
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเรื่องทิ้งฟ้องหรือการขาดนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้วการที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดต่อมาจึงมิใช่กรณีจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องหรือขาดนัดพิจารณา แต่เป็นกรณีที่โจทก์ไม่มาตรงตามกำหนดนัดเพื่อสืบพยานโจทก์ต่อไปถือได้เพียงว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบเพิ่มเติมจากที่ได้สืบไปแล้ว ซึ่งศาลอาจสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียได้เท่านั้น ไม่ชอบที่จะจำหน่ายคดีโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
หนี้ตามเช็คพิพาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีรวมเข้าด้วย แต่หนี้ดังกล่าวเกิดจากมูลหนี้เดิมที่ห้างจำเลยที่ 1 ซื้ออาหารสัตว์ไปจากโจทก์แล้วค้างชำระ และห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวในเงินที่ค้างชำระนั้นรวมเข้าไปด้วย กรณีมิใช่เป็นเรื่องการกู้ยืมเงิน จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้ล้มละลายได้
ห้างจำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารฯ โดยระบุผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินไว้คือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คน พร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทพร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ด้วย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้นั้น จะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 หากไม่ได้ความจริงตามมาตราดังกล่าว หรือจำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้องเมื่อเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.16 เป็นพยานเอกสารที่อาจแสดงได้ว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานนั้นตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านั้นได้ แม้จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้อีกฝ่ายหนึ่งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยที่นำสืบมามีเหตุผลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด แม้จำเลยที่ 4 จะไม่มีทรัพย์สินเลย แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กรณีก็มีเหตุไม่ควรให้จำเลยที่ 4 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และสถานะทางธุรกิจของลูกหนี้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000 บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิม แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8(9) ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้นศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แม้มีเหตุตามกฎหมายก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งปรากฏว่าบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิมดังนี้ แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: พฤติการณ์ประวิงหนี้และเจตนาชะลอการชำระหนี้เป็นเหตุให้ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจำนวน 9 ล้านบาทเศษและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังร่วมกันเป็นหนี้โจทก์อีก 9 ล้านบาทเศษด้วย พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองได้พยายามหน่วงเหนี่ยวการชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งยังให้ภริยาจำเลยที่ 1 ผลัดเปลี่ยนกันยื่นคำร้องขัดทรัพย์อันเป็นอุปสรรคต่อการบังคับคดีของโจทก์ แสดงถึงเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้ให้เนิ่นนานออกไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่จำเลยฎีกาอ้างว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้เป็นหลักประกันแล้ว หรืออ้างว่าทางราชการตีราคาหลักทรัพย์ของจำเลยที่วางประกันต่อโจทก์มีราคสูงมากขึ้นก็ดี เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขายไปแล้ว ข้ออ้างของจำเลยยังไม่เป็นที่แน่นอนที่จะให้ฟังได้เช่นนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: พฤติการณ์ประวิงหนี้, ขัดขวางบังคับคดี, และทรัพย์สินจำนองสูงกว่าหนี้ ไม่เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจำนวน 9 ล้านบาทเศษและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังร่วมกันเป็นหนี้โจทก์อีก 9 ล้านบาทเศษด้วยพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองได้พยายามหน่วงเหนี่ยวการชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งยังให้ภริยาจำเลยที่ 1 ผลัดเปลี่ยนกันยื่นคำร้องขัดทรัพย์อันเป็นอุปสรรคต่อการบังคับคดีของโจทก์ แสดงถึงเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้ให้เนิ่นนานออกไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การที่จำเลยฎีกาอ้างว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้เป็นหลักประกันแล้ว หรืออ้างว่าทางราชการตีราคาหลักทรัพย์ของจำเลยที่วางประกันต่อโจทก์มีราคาสูงมากขึ้นก็ดีเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดไปแล้วข้ออ้างของจำเลยยังไม่เป็นที่แน่นอนที่จะให้ฟังได้เช่นนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3733/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัวและการพิสูจน์ทรัพย์สินที่อาจชำระหนี้ได้
การโอนการขายสิทธิการเช่าตึกแถวจำเลยจะต้องขอนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้โอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสามารถโอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวนั้นได้ จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกนอกจากสิทธิการเช่าตึกแถว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
of 20