คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3733/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: หนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินที่อาจขายได้ แต่ยังต้องรอความยินยอมจากเจ้าของทรัพย์ก่อน
การโอนการขายสิทธิการเช่าตึกแถวจำเลยจะต้องขออนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้โอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสามารถโอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวนั้นได้ จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกนอกจากสิทธิการเช่าตึกแถว ถือได้ว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีสะดุดอายุความ
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2516 โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2516จากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการชั้นบังคับคดีโดยยึดทรัพย์จำเลยและประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดหลายครั้งและศาลอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ได้เงินจากการขายทอดตลาดมาหักหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2517 การดำเนินการชั้นบังคับคดีนับแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2516 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2517 เป็นการดำเนินการภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทั้งเป็นการกระทำอื่นใด นับว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องและเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงนับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2517 ตามความในมาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2517 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แม้จะกำหนดจำนวนได้ แต่ยังไม่สมควรสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หากข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน อันโจทก์อาจนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ แต่หนี้ดังกล่าวอาจถูกกลับหรือแก้โดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ข้อเท็จจริงยังไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ จึงยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่เป็นเหตุให้ล้มละลายจนกว่าจะสิ้นสุด
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน อันโจทก์อาจนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ แต่หนี้ดังกล่าวอาจถูกกลับหรือแก้โดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ข้อเท็จจริงยังไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ จึงยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 14.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายหุ้น ค้ำประกัน และการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์กับจำเลยที่ 1อยู่ที่การประกอบกิจการ ซื้อและขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงเป็นครั้งคราวมากกว่า ประสงค์ให้มีการโอนหุ้น แม้การซื้อขายหุ้นเช่นนี้จะไม่มีการโอนหุ้น ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129ก็หาเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย โจทก์ในฐานะตัวแทนย่อมเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมชดใช้เงินที่ได้ออกทดรอง รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย อย่างอื่นตามสัญญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองตกเป็น ลูกหนี้โจทก์อันอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า30,000 บาท(ตามกฎหมายเดิม) และไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายหุ้น ค้ำประกัน และการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องหนี้และการพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ที่การประกอบกิจการ ซื้อและขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงเป็นครั้งคราวมากกว่า ประสงค์ให้มีการโอนหุ้น แม้การซื้อขายหุ้นเช่นนี้จะไม่มีการโอนหุ้นตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็หาเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย โจทก์ในฐานะตัวแทนย่อมเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมชดใช้เงินที่ได้ออกทดรอง รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย อย่างอื่นตามสัญญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองตกเป็น ลูกหนี้โจทก์อันอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 30,000 บาท (ตามกฎหมายเดิม) และไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: หนี้เดิมแปลงเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอม แม้ทรัพย์สินถูกยึดโดยรัฐ ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้
การรับช่วงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 ได้แก่การเอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน การที่ทรัพย์สินของสามีจำเลยและของจำเลยตกไปเป็นของรัฐตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาลไม่ใช่เป็นการช่วงทรัพย์และไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้อง ชำระหนี้แก่โจทก์ไม่
มูลหนี้เดิมในคดีล้มละลายเกิดจากสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างบ้านพักของจำเลยอันเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ได้ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ เพื่อโจทก์จะได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลัง ก็เป็นสิทธิอันชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้แก่โจทก์ ในคดีแพ่งดังกล่าว มิใช่เกิดจากการสมยอมโดยปราศจากมูลหนี้อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94 เมื่อหนี้เดิมได้แปลงมาเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอมจึงหาทำให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอชำระได้ไม่และแม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วถึงร้อยละ 79.01 เมื่อปรากฏว่าจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านสามแสนบาทเศษ และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ และทรัพย์สินของจำเลยถูกยึดไปเป็นของรัฐหมดแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8, 9 จำเลยนำสืบไม่ได้ว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าสามีจำเลยและจำเลยจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนตามที่ร้องขอหรือไม่ คดีจึงมีเหตุสมควรให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนและการพิทักษ์ทรัพย์: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหุ้นส่วนที่เหลือไม่ต้องพิสูจน์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4 ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาด แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วน: ผลกระทบต่อความรับผิดของหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วและหุ้นส่วนที่ยังคงเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยในคดีล้มละลาย: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้ว vs. หุ้นส่วนที่ยังคงเป็นอยู่
จำเลยที่2และที่4เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่1แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่1ให้ล้มละลายจำเลยที่2และที่4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่1ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแม้จำเลยที่2และที่4มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1068ก็ตามแต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่2และที่4มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่2และที่4เด็ดขาด จำเลยที่5เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่1ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อห้างจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่1และจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำ้องนำสืบว่าจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกรณีมีเหตุที่จำเลยที่5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89อีก.
of 20