คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเพื่อพิสูจน์สภาพบุคคลล้มละลาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายถึงมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องว่า เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วมีจำนวนแน่นอนเกินกว่า 30,000 บาทถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมด แต่ทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการจำนองไว้ เจ้าหนี้จำนองได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิไว้ต่อศาล ทรัพย์สินอื่นๆ ก็มีราคาไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9 ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบด้วยพระราบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่ต้องบรรยายให้เข้าหลักเกณฑ์แห่งข้อสันนิษฐานตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา 8 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายจากหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามาเป็นเวลาถึงสิบปีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยก็เพิกเฉย แม้จำเลยจะมีสิทธิการเช่าซื้อบ้านและที่ดิน หากโจทก์นำยึดมาก็อาจจะขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ไม่ได้ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อไม่ยินยอม รายได้จากการทำงานของจำเลยก็ยังห่างไกลกับจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ ทั้งจำเลยไม่เคยกระทำการใดอันแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยสุจริต ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้จำนวนแน่นอนโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษามาเป็นเวลาถึงสิบปีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยก็เพิกเฉย แม้จำเลยจะมีสิทธิการเช่าซื้อบ้านและที่ดิน หากโจทก์นำยึดมาก็อาจจะขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ไม่ได้ถ้าผู้ให้เช่าซื้อไม่ยินยอม รายได้จากการทำงานของจำเลยก็ยังห่างไกลกับจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ ทั้งจำเลยไม่เคยกระทำการใดอันแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยสุจริต ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า30,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้จำนวนแน่นอนโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีถึงที่สุดและการเป็นลูกหนี้ตามประมวลรัษฎากร การไม่อุทธรณ์ทำให้การประเมินมีผลผูกพัน
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากกรมสรรพากรแล้ว แต่มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จำเลยจะมายกขึ้นต่อสู้ในคดีที่ถูกกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพราะเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ เพราะเงินรายรับไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีทำให้การประเมินถึงที่สุด และจำเลยต้องรับผิดหนี้ภาษีตามกฎหมาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากกรมสรรพากรแล้วแต่มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 แห่ง ประมวลรัษฎากรนั้น จำเลยจะมายกขึ้นต่อสู้ในคดีที่ถูกกรมสรรพากรเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพราะเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ เพราะเงินรายรับไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดี: การร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี ทำให้สิทธิในการบังคับคดีไม่ขาดอายุความ
เมื่อโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับต่อไปจนกว่าการบังคับจะแล้วเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้ร่วม และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบ นั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา หาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อน ถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่ จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่ะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม & การบังคับคดี – สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกหนี้จากลูกหนี้แต่ละคน & การฟ้องล้มละลาย
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบนั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อนถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดหนี้สินล้นพ้นตัวในคำฟ้อง เพียงแต่ระบุตามกฎหมาย
ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายนั้น เจ้าหนี้เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(1) และระบุข้อความอื่นตามมาตรา 9(2) และ 9(3) ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว เจ้าหนี้ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างไร ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพันตัว
of 20