คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงตามกฎหมาย หากมีพยานหลักฐานว่าลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ ศาลต้องดำเนินการสืบพยาน
การพิจารณาคดีล้มละลาย ย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด โดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้นย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงจากพยานหลักฐานรอบด้านก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การพิจารณาคดีล้มละลาย ย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่าในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้นศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยเด็ดขาดโดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้น ย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การพิสูจน์ฐานะลูกหนี้และการมีทรัพย์สินพอชำระหนี้เป็นปัจจัยสำคัญ
ประเด็นสำคัญในคดีล้มละลายมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าพันบาทหรือไม่ (หลังจากใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 แล้ว จำนวนหนี้สินต้องไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท)เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่ จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคำพิพากษาที่ยกฟ้องเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ตามเอกสารที่โจทก์อ้างฟ้อง จำเลยได้ยืมเงินไปจากโจทก์ แต่การยืมตามเอกสารบางฉบับ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยไม่ได้รับสภาพหนี้ จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความนั้นไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดแน่นอน เพราะจำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยล้มละลาย แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่คำวินิจฉัยที่ว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์และหนี้ตามเอกสารบางฉบับยังไม่ขาดอายุความ อาจมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาคัดค้านได้ (ข้อกฎหมายวรรคท้ายนี้ สรุปจากผลที่ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นสำคัญ แม้ศาลวินิจฉัยเรื่องหนี้สิน แต่ไม่กระทบผลคำพิพากษา
ประเด็นสำคัญในคดีล้มละลายมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าพันบาทหรือไม่ (หลังจากใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 แล้ว จำนวนหนี้สินต้องไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท). เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว. การที่จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่. จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคำพิพากษาที่ยกฟ้องเปลี่ยนแปลงไป.
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ตามเอกสารที่โจทก์อ้างฟ้อง จำเลยได้ยืมเงินไปจากโจทก์. แต่การยืมตามเอกสารบางฉบับ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว. จำเลยไม่ได้รับสภาพหนี้.จึงขาดอายุความ. ส่วนหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความนั้นไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดแน่นอน. เพราะจำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด. ไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยล้มละลาย. แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่คำวินิจฉัยที่ว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์และหนี้ตามเอกสารบางฉบับยังไม่ขาดอายุความ. อาจมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาคัดค้านได้. (ข้อกฎหมายวรรคท้ายนี้ สรุปจากผลที่ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ได้ ทำให้ไม่ต้องพิจารณาหนี้สิน
ประเด็นสำคัญในคดีล้มละลายมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าพันบาทหรือไม่ (หลังจากใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2501 แล้ว จำนวนหนี้สินต้องไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่ จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคำพิพากษาที่ยกฟ้องเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ตามเอกสารที่โจทก์อ้างฟ้อง จำเลยได้ยืมเงินไปจากโจทก์ แต่การยืมตามเอกสารบางฉบับ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยไม่ได้รับสภาพหนี้จึงขาดอายุความ ส่วนหนี้ที่ไม่ขาดอายุความนั้น ไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดแน่นอน เพราะจำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยล้มละลาย แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่คำวินิจฉัยที่ว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์และหนี้ตามเอกสารบางฉบับยังไม่ขาดอายุความ อาจมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาคัดค้านได้
(ข้อกฎหมายวรรคท้ายนี้ สรุปจำนวนผลที่ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498-1499/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้สินและการพิสูจน์สถานะล้มละลาย: จำเลยต้องปฏิเสธหนี้ชัดเจน โจทก์ต้องพิสูจน์สถานะล้มละลาย
คำให้การจำเลยระบุบ่งชัดโดยเฉพาะว่าขอปฏิเสธหนี้สินตามที่โจทก์อ้างมาเป็นจำนวนรายละ 20,000 บาทนั้น ย่อมมีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงหนี้ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะไม่อ้างรายละเอียดว่าจำเลยปฏิเสธหนี้ของโจทก์เพาะเหตุใด ก็มีผลเพียงแต่จำเลยไม่มีข้ออ้างที่จะเป็นประเด็นข้อนำสืบต่อสู้คดีเท่านั้น แต่ไม่ทำให้กลายเป็นว่าจำเลยรับตามฟ้องโจทก์
หนี้ที่จำเลยประนีประนอมกับเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเดิม และยังค้างชำระอยู่บ้างนั้น ไม่ควรนำมาเป็นเหตุให้จำเลยล้มละลายอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498-1499/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ในคดีล้มละลาย: โจทก์ต้องพิสูจน์หนี้จริง & หนี้เก่าไม่ถือเป็นเหตุล้มละลาย
คำให้การจำเลยระบุบ่งชัดโดยเฉพาะว่าขอปฏิเสธหนี้สินตามที่โจทก์อ้างมาเป็นจำนวนรายละ 20,000 บาทนั้น ย่อมมีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงหนี้ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะไม่อ้างรายละเอียดว่าจำเลยปฏิเสธหนี้ของโจทก์เพราะเหตุใด ก็มีผลเพียงแต่จำเลยไม่มีข้ออ้างที่จะเป็นประเด็นข้อนำสืบต่อสู้คดีเท่านั้น แต่ไม่ทำให้กลายเป็นว่าจำเลยรับตามฟ้องโจทก์
หนี้ที่จำเลยประนีประนอมกับเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเดิม และยังค้างชำระอยู่บ้างนั้น ไม่ควรนำมาเป็นเหตุให้จำเลยล้มละลายอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายวงแชร์: สัญญาโดยปริยายและการรับรองหนี้
ความรับผิดของนายวงในการเล่นแชร์นั้น ย่อมแล้วแต่ตกลงสัญญากัน จะเป็นโดยตรงหรือโดยปริยาย คือ อาศัยระเบียบหรือวิธีปฎิบัติที่เคยเล่นกันมาก็ได้ และจะอ้างประเพณีการเล่นแชร์มาใช้ก็ได้ในเมื่อหมายถึงการตกลงเล่นแชร์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติกันมานั่นเอง ซึ่งถือว่าได้ตกลงโดยปริยานเช่นนั้น
นายวงแชร์รับเงินลงแชร์จากลูกวง แล้วออกใบรับเงินซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อให้ยึดถือไว้ เงินที่รวบรวมจากลูกวงนั้น นายวงเอาไปให้ผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยผู้ที่ประมูลได้นั้นต้องทำหนังสือสัญญากู้เงินให้นายวงไว้เท่ากับจำนวนที่ผู้นั้นจะต้องส่งเงินแชร์ต่อไปจนถึงเดือนสุดท้าย ดังนี้ ทำให้นายวงมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากผู้ทำสัญญากู้ดังว่าเป็นเงินของนายวงเอง ลูกวงคนอื่น ๆ ทำได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยไม่ การที่นายวงรับเงินจากลูกวงจึงเป็นการรับโดยมีข้อตกลงโดยปริยายว่านายวงจะเป็นผู้รับผิดคืนเงินนี้ให้เมื่อถูกวงนั้น ๆ ประมูลได้ หรือรับเป็นมือท้าย นายวงจึงต้องรับผิดในเงินที่รับไปจากลูกวงแล้ว และนายวงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นคนกลางเพราะลูกวงไม่ได้ตกลงเล่นแชร์กันเอง แต่เล่นกับนายวง
นายวงจ่ายเงินให้ผู้ประมูลได้โดยทำสัญญาเป็นลูกหนี้นายวง นายวงจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันอย่างค้ำประกันลูกหนี้ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นค้ำประกันธรรมดา
ลูกวงที่ต้องส่งเงินลงแชร์ให้นายวงเดือนละ 1,000 บาท แม้จะส่งจริงไม่ถึง 1,000 บาทเพราะหักดอกเบี้ยที่นายวงจะต้องไปเก็บจากผู้ประมูลได้มาชำระให้ไว้เสียเลย เมื่อส่งเงินลงแชร์ได้ 10 ครั้ง แล้วแชร์ล้ม ลูกวงมีสิทธิอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของนายวงอยู่เป็นจำนวนแน่นอนคือ 10,000 บาทได้
of 20