พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายวงแชร์: สัญญาโดยปริยายและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายวงกับลูกวง
ความรับผิดของนายวงในการเล่นแชร์นั้นย่อมแล้วแต่ตกลงสัญญากัน จะเป็นโดยตรงหรือโดยปริยาย คือ อาศัยระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่เคยเล่นกันมาก็ได้ และจะอ้างประเพณีการเล่นแชร์มาใช้ก็ได้ในเมื่อหมายถึงการตกลงเล่นแชร์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติกันมานั่นเอง จึงถือว่าได้ตกลงโดยปริยายเช่นนั้น
นายวงแชร์รับเงินลงแชร์จากลูกวง แล้วออกใบรับเงินซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อให้ยึดถือไว้ เงินที่รวบรวมจากลูกวงนั้นนายวงเอาไปให้ผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยผู้ที่ประมูลได้นั้นต้องทำหนังสือสัญญากู้เงินให้นายวงไว้เท่ากับจำนวนที่ผู้นั้นจะต้องส่งเงินแชร์ต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายดังนี้ ทำให้นายวงมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากผู้ทำสัญญากู้ดังว่าเป็นเงินของนายวงเองลูกวงคนอื่นๆ หาได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยไม่ การที่นายวงรับเงินจากลูกวงจึงเป็นการรับโดยมีข้อตกลงโดยปริยายว่านายวงจะเป็นผู้รับผิดคืนเงินนี้ให้เมื่อลูกวงนั้นๆ ประมูลได้ หรือรับเป็นมือท้าย นายวงจึงต้องรับผิดในเงินที่รับไปจากลูกวงแล้วและนายวงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงคนกลางเพราะลูกวงไม่ได้ตกลงเล่นแชร์กันเอง แต่เล่นกับนายวง
นายวงจ่ายเงินให้ผู้ประมูลได้โดยทำสัญญาเป็นลูกหนี้นายวงนายวงจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันอย่างค้ำประกันลูกหนี้ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นค้ำประกันธรรมดา
ลูกวงที่ต้องส่งเงินลงแชร์ให้นายวงเดือนละ 1,000 บาท แม้จะส่งจริงไม่ถึง 1,000 บาทเพราะหักดอกเบี้ยที่นายวงจะพึงไปเก็บจากผู้ประมูลได้มาชำระให้ไว้เสียเลย เมื่อส่งเงินลงแชร์ได้ 10 ครั้งแล้วแชร์ล้ม ลูกวงมีสิทธิอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของนายวงอยู่เป็นจำนวนแน่นอนคือ 10,000 บาทได้
นายวงแชร์รับเงินลงแชร์จากลูกวง แล้วออกใบรับเงินซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อให้ยึดถือไว้ เงินที่รวบรวมจากลูกวงนั้นนายวงเอาไปให้ผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยผู้ที่ประมูลได้นั้นต้องทำหนังสือสัญญากู้เงินให้นายวงไว้เท่ากับจำนวนที่ผู้นั้นจะต้องส่งเงินแชร์ต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายดังนี้ ทำให้นายวงมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากผู้ทำสัญญากู้ดังว่าเป็นเงินของนายวงเองลูกวงคนอื่นๆ หาได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยไม่ การที่นายวงรับเงินจากลูกวงจึงเป็นการรับโดยมีข้อตกลงโดยปริยายว่านายวงจะเป็นผู้รับผิดคืนเงินนี้ให้เมื่อลูกวงนั้นๆ ประมูลได้ หรือรับเป็นมือท้าย นายวงจึงต้องรับผิดในเงินที่รับไปจากลูกวงแล้วและนายวงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงคนกลางเพราะลูกวงไม่ได้ตกลงเล่นแชร์กันเอง แต่เล่นกับนายวง
นายวงจ่ายเงินให้ผู้ประมูลได้โดยทำสัญญาเป็นลูกหนี้นายวงนายวงจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันอย่างค้ำประกันลูกหนี้ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นค้ำประกันธรรมดา
ลูกวงที่ต้องส่งเงินลงแชร์ให้นายวงเดือนละ 1,000 บาท แม้จะส่งจริงไม่ถึง 1,000 บาทเพราะหักดอกเบี้ยที่นายวงจะพึงไปเก็บจากผู้ประมูลได้มาชำระให้ไว้เสียเลย เมื่อส่งเงินลงแชร์ได้ 10 ครั้งแล้วแชร์ล้ม ลูกวงมีสิทธิอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของนายวงอยู่เป็นจำนวนแน่นอนคือ 10,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีใช้หนี้ที่ดินจำนองไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปโดยมีผู้อื่นจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์ฟ้องจำเลยและผู้จำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินกู้และดอกเบี้ย ถ้าไม่ใช้ให้ผู้จำนองใช้แทนโดยให้ไถ่ถอนจำนองหรือชายทอดตลาดที่ดินเอาเงินใช้ จำเลยไม่ใช้และไม่มีทรัพย์ให้ยึด โจทก์จึงยึดที่ดินที่จำนอง แต่ยังไม่ทันขายทอดตลาด ผู้จำนองได้ตกลงโอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่ง หักแล้วยังมีหนี้ค้างชำระอยู่อีก การที่ผู้จำนองโอนที่ดินจำนองให้โจทก์นี้เป็นการเอาที่ดินจำนองตีใช้หนี้ระหว่างโจทก์ผู้รับจำนองกับผู้จำนอง ไม่ใช่กรณีเอาทรัพย์จำนองหลุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 หรือเอาออกขายทอดตลาดตามมาตรา 728 จึงนำมาตรา 733 มาบังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้เงินกู้ชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อจำเลยยังเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่า 1,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินให้ยึดมาชำระหนี้ ศาลก็พิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดได้
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีใช้หนี้ที่ดินจำนอง ไม่ทำให้หนี้เงินกู้ระงับ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปโดยมีผู้อื่นจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์ฟ้องจำเลยและผู้จำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินกู้และดอกเบี้ย ถ้าไม่ใช้ให้ผู้จำนองใช้แทนโดยให้ไถ่ถอนจำนองหรือขายทอดตลาดที่ดินเอาเงินใช้ จำเลยไม่ใช้และไม่มีทรัพย์ให้ยึดโจทก์จึงยึดที่ดินที่จำนอง แต่ยังไม่ทันขายทอดตลาดผู้จำนองได้ตกลงโอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่ง หักแล้วยังมีหนี้ค้างชำระอยู่อีกการที่ผู้จำนองโอนที่ดินจำนองให้โจทก์นี้เป็นการเอาที่ดินจำนองตีใช้หนี้กันระหว่างโจทก์ผู้รับจำนองกับผู้จำนอง ไม่ใช่กรณีเอาทรัพย์จำนองหลุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 729 หรือเอาออกขายทอดตลาดตามมาตรา 728 จึงนำมาตรา 733 มาบังคับไม่ได้เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ไปเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ก็ย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้เงินกู้ชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อจำเลยยังเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่า 1,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินให้ยึดมาชำระหนี้ ศาลพิพากษาในพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระหนี้มีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่ได้โอนหนี้ และการจำหน่ายคดีเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส. 30,000 บาท ได้ออกเช็คเป็นการชำระหนี้ให้ก็ขึ้นเงินไม่ได้ และเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจนจำเลยที่ 1 ต้องเปลี่ยนเช็คให้ใหม่เรื่อยมา ในที่สุดได้ทำสัญญาให้แก่โจทก์ว่าจะผ่อนใช้หนี้ 62,000 บาทให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้จะฟังว่าหนี้รายนี้สมบูรณ์เพียงต้นเงิน 30,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะไป หนี้ 30,000 บาทนี้ก็ยังผูกพันจำเลย โจทก์ได้ทวงถามสองครั้งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แม้จะทวงถามให้ชำระ 62,000 บาท เกินไปกว่าจำนวนที่ลูกหนี้ต้องผูกพัน จำเลยก็ไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ และมีพฤติการณ์ที่ฟังได้ ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด
แม้จำเลยจะไม่ใช่ลูกหนี้โจทก์ แต่เอกสารผ่อนชำระหนี้และค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องแสดงว่าโจทก์เป็นตัวเจ้าหนี้เอง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันระบุให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้เองแล้ว ก็ไม่ต้องพิสูจน์ว่าโจทก์รับโอนหนี้มาอย่างไร โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย (เป็นคดีล้มละลาย) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ความจึงปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามคดีอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งคดีนั้นศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนคำสั่งในคดีนี้ ศาลสูงย่อมสั่งจำหน่ายคดี
แม้จำเลยจะไม่ใช่ลูกหนี้โจทก์ แต่เอกสารผ่อนชำระหนี้และค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องแสดงว่าโจทก์เป็นตัวเจ้าหนี้เอง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันระบุให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้เองแล้ว ก็ไม่ต้องพิสูจน์ว่าโจทก์รับโอนหนี้มาอย่างไร โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย (เป็นคดีล้มละลาย) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ความจึงปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามคดีอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งคดีนั้นศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนคำสั่งในคดีนี้ ศาลสูงย่อมสั่งจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย, การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น, และการนำสืบพยานนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก่อนดำเนินการพิจารณา (ตามที่คู่ความขอ) ทุกเรื่อง ถ้าศาลเห็นว่า การวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ผู้อ้างเลย คือจำเป็นจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป แล้ว จะสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาก็ได้
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ ต้องประกอบด้วยเหตุใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้มพ้นตัว เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 8
เมื่อบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์แล้วไม่ชำระ และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้มพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้คนอื่นอยู่อีก และยังไม่ชำระหนี้ ดังนี้ เป็นการสืบในประเด็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ใช่สืบนอกประเด็น
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ ต้องประกอบด้วยเหตุใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้มพ้นตัว เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 8
เมื่อบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์แล้วไม่ชำระ และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้มพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้คนอื่นอยู่อีก และยังไม่ชำระหนี้ ดังนี้ เป็นการสืบในประเด็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ใช่สืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเพียงพอต่อการฟ้องล้มละลาย
โจทก์จะนำเช็คมาเป็นมูลฟ้องในเรื่องกู้ยืมเงินเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม แม้จะใช้เป็นเอกสารแสดงหนี้สินได้ ศาลไม่รับฟังการฟ้องโดยอ้างเช็คเป็นหลักฐานการกู้ยืม
โจทก์จะนำเช็คมาเป็นมูลฟ้องในเรื่องกู้ยืมเงินเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน การมีหนี้สินเพียงอย่างเดียวไม่พอ
หลักกฎหมายในการที่จะฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ จะต้องประกอบพร้อมทั้ง 3 ประการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.9 มิใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานในม.8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานในม.8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามกฎหมาย การมีหนี้สินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
หลักกฎหมายในการที่จะฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ จะต้องประกอบพร้อมทั้ง 3 ประการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา9 มิใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานใน มาตรา 8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานใน มาตรา 8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: ที่พักอาศัยและการมีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยไม่ใช้หนี้โจทก์และเจ้าหนี้อื่น กับไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สมบัติเท่าไรแน่ดังนี้สันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวได้. ในคดีล้มละลายโจทก์ฟ้องว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่จังหวัดพระนคร เมื่อจำเลยต่อสู้ว่ามีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอื่น โจทก์สืบว่า พักอยู่ในจังหวัดพระนครและประกอบธุระกิจในจังหวัดพระนครได้ ไม่เป็นการสืบนอกประเด็น.