คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยมูลหนี้ หากจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอ ชำระหนี้ได้
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวกรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา9ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการตกลงชำระหนี้และการถอนฟ้องล้มละลาย
คำแถลงของโจทก์ที่ขอถอนการยึดและการบังคับคดีมีข้อความว่า".....ขณะนี้โจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้ว และได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้วโจทก์ไม่ประสงค์บังคับคดีนี้ต่อไป จึงขอถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ และขอถอนการบังคับคดีเสียทั้งสิ้นต่อไปด้วย ฯลฯ" ข้อความดังกล่าวชัดแจ้งว่า โจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเพราะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองเป็นที่พอใจแล้วตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกัน ดังนี้เมื่อโจทก์ตกลงยกหรือปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยแล้ว หนี้ส่วนที่เหลือจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 340 โจทก์ไม่อาจจะนำหนี้ดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเนื่องจากตกลงชำระหนี้เป็นที่พอใจ ย่อมทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คำแถลงของโจทก์ที่ขอถอนการยึดและการบังคับคดีมีข้อความว่า"ขณะนี้โจทก์และจำเลยตกลงกันได้แล้วและได้รับชำระหนี้เป็นที่พอใจแล้วโจทก์ไม่ประสงค์บังคับคดีนี้ต่อไปจึงขอถอนการยึดทรัพย์คดีนี้และขอถอนการบังคับคดีเสียทั้งสิ้นต่อไปด้วยฯลฯ"ข้อความดังกล่าวชัดแจ้งว่าโจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์และการบังคับคดีเพราะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองเป็นที่พอใจแล้วตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันดังนี้เมื่อโจทก์ตกลงยกหรือปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยแล้วหนี้ส่วนที่เหลือจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340โจทก์ไม่อาจจะนำหนี้ดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้เช็คเป็นโมฆะ และไม่มีผลผูกพันทางหนี้
หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทจำเลยก็น่าจะเขียนวันที่สั่งจ่ายใหม่ด้วยลายมือของตนเองเหมือนกันที่ได้กรอกข้อความลงในรายการตามเช็คต่อหน้าโจทก์ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องใช้ตราประทับลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คในเมื่อวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกจำเลยก็เขียนด้วยลายมือของตนเองและเมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อที่กำกับไว้ใต้ตราประทับกับลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกและประทับตราลงวันที่ใหม่เมื่อเช็คพิพาทมีแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ปรากฏตัวผู้แก้ไขและการแก้ไขดังกล่าวถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยจำเลยผู้ต้องรับผิดตามเช็คมิได้ยินยอมด้วยเช็คดังกล่าวจึงเป็นอันเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเมื่อเช็คอันเป็นมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คได้จำเลยจึงมิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา9ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องพิเคราะห์ฐานะหนี้สินที่แท้จริง แม้มีเหตุสันนิษฐานตามกฎหมายก็ต้องมีหลักฐานสนับสนุน
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)ขและ(5)เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้นมาตรา14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน174,733.68บาทและมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี2519ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม4คนจะต้องรับผิดเพียง46,262.43บาทเท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวยขวายดำเนินการฟ้องจำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ10ปีจึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิดเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่30ธันวาคม2529โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใดรอจนกระทั่งปี2538จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายพฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี2529ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง174,733.68บาทอีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่นมิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรงผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้องดังนี้ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องพิสูจน์ฐานะหนี้สินล้นพ้นตัวจริง แม้มีเหตุสันนิษฐานตามกฎหมาย
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4)ข และ (5) เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้น มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง
จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้น เป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม 4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวนขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีล้มละลายต้องพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของผู้ล้มละลาย ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4)ข และ (5) เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้นมาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน 174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวยขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ 10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายพฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี ย่อมหมดสิทธิฟ้องล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดี เมื่อทรัพย์ดังกล่าวไม่พอชำระหนี้และหนี้ที่เหลืออยู่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายใน 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฎีกา และการกำหนดจำนวนหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่งจำหน่ายคดี มิใช่เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
กรณีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา132 (1) ไม่ได้บังคับว่าศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอไป บทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
ปัญหาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ให้การไว้และมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ล้วนแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจริง หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวสามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนแน่นอนได้ จึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบ
of 20