คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้
ปัญหาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ให้การไว้และมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ หนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าเป็นหนี้ดังกล่าวจริงจึงผูกพันจำเลยทั้งสามและหนี้นั้นสามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนแน่นอนได้จึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนโดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เรื่องอายุความ การฟ้องล้มละลายเกินกำหนดสิทธิ
กำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิใช่เรื่องอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระหนี้ให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีจากจำเลยที่2ภายใน10ปีนับแต่วันครบกำหนดดังกล่าวแต่โจทก์นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่2ขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นกำหนด10ปีแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่2ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นเอนกประการซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ฉะนั้นก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา10ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ศาลยกฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ2,850,000บาทและหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ28,000บาทกับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยแต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่งโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา4กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องเปิดโอกาสลูกหนี้แสดงความสามารถชำระหนี้
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลาย ย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นอเนกประการ ซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ ฉะนั้น ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ 2,850,000 บาท และหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ 28,000บาท กับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย แล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้ร่วม และข้อยกเว้นการบรรยายฟ้องเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ฎีกาจำเลยที่ 4 ที่ว่า ศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 10 (2) แม้จำเลยที่ 4 มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4 มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ ในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน เมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์ จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระ คำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนอง จำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 10 (2)
จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4 ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ จำเลยที่ 3และที่ 4 ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกัน, การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ร่วม, และการยกข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวข้อง
ฎีกาจำเลยที่4ที่ว่าศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา10(2)แม้จำเลยที่4มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่4มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยหากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วนเมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระคำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนองจำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา6โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา10(2) จำเลยที่3และที่4เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่1และที่2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วนส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่2ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่2กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้และจำเลยที่2ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยที่2จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้จำเลยที่3และที่4ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิลูกหนี้ร่วมและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)และมาตรา1087จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า50,000บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันทีมิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89แต่ทางเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและสิทธิในการฟ้องล้มละลาย: หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันที มิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 แต่ทางเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 11 เมษายน2523 ให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันทำยอม โจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยภายในสิบปีนับแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2523อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคับคดีแก่จำเลยได้เป็นต้นไป ตามนัย ป.วิ.พ.มาตรา 271 แม้จะปรากฎว่าโจทก์ได้ขอให้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 20พฤศจิกายน 2523 แล้วนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2523 ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2524 ก็ตาม ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีเมื่อหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2523 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งแจ้งประเมินภาษีโดยวิธีโฆษณาเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ และผลของการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าให้แก่จำเลยที่1ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วแต่ส่งไม่ได้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ผู้นำส่งรายงานว่าไม่มีผู้รับกรณีเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะส่งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ชอบที่จะเลือกส่งตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งในสองวิธีตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสามการที่โจทก์ลงโฆษณาแบบแจ้งการประเมินในหนังสือพิมพ์ท้องที่จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินตามความในวรรคท้ายแห่งบทกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์การประเมินจึงมีผลให้หนี้ภาษีอากรตามฟ้องเป็นหนี้เด็ดขาดและมีจำนวนแน่นอนเกินกว่าห้าแสนบาทขึ้นไปจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1จะกลับมาปฏิเสธว่าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบหรือจำนวนหนี้ไม่ถูกต้องอีกหาได้ไม่ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดให้จำเลยที่1ชำระเงินค่าภาษีอากรตามที่ประเมินแก่โจทก์ภายในกำหนด30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโจทก์ได้ส่งแบบแจ้งการประเมินให้จำเลยที่1ทราบโดยวิธีโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2528ซึ่งถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีในวันที่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อายุความจึงเริ่มต้นเมื่อครบกำหนด30วันนับแต่วันที่จำเลยที่1ได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรเมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ คดีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เป็นหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์และจำเลยที่1มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077และมาตรา1080จึงไม่อาจต่อสู้ว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่1หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้
of 20