พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกเท่ากัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการแบ่งมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญา จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850, 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม เห็นว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 หมวด 3 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวแบ่งได้ 3 วิธี กล่าวคือ 1) โดยทายาทต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยการแบ่งตัวทรัพย์ตามความยินยอมโดยตรงหรือโดยปริยายและต่างเข้าครอบครองตามทรัพย์มรดกที่ได้รับแบ่งนั้น กรณีนี้ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็บังคับได้ 2) โดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท กรณีเกิดจากทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกไม่อาจแบ่งตัวทรัพย์กันได้ การขายอาจตกลงกันว่าให้ประมูลกันระหว่างทายาท หรือประกาศขายหรือถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องนำคดีมาฟ้องเรียกให้แบ่งมรดกโดยขอให้ศาลพิพากษาให้แบ่งระหว่างเจ้าของรวม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 และ 3) การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาที่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ยืนยันตามที่บรรยายฟ้องว่า ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้นัดประชุมทายาทโดยธรรมของ พ. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ในวันนัดมีโจทก์ และทายาททุกคนยกเว้นจำเลยมาประชุมโดยพร้อมกัน ที่ประชุมตกลงให้มีการจับฉลากแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนในสัดส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยไม่มาประชุม ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ ล. เป็นผู้จับฉลากแทน เมื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดย ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น มิชอบด้วย ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 หมวด 3 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามหลักกฎหมายข้างต้น แม้ ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นทายาทด้วยกันย่อมมีส่วนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745, 1746 และย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ กรณีตามคำฟ้องถือว่ายังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลยต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทั้งข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องมิใช่เรื่องขอแบ่งมรดกในอันที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้ได้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องสืบพยานประเด็นทายาทอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่ หากยังไม่ยุติ ศาลมิอาจงดสืบพยานได้
คดีก่อนโจทก์กับพวกฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกออกจากที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทคดีนี้ ประเด็นในคดีก่อนมีว่า โจทก์กับพวกมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่ แต่คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทจากจำเลย ประเด็นมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งร่วมกับจำเลยหรือไม่เพียงใด ประเด็นวินิจฉัยคดีทั้งสองมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่ง อ้างว่าทายาทอื่นไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกรายนี้แล้วคงเกี่ยวข้องเฉพาะโจทก์จำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกไปแล้ว และส่วนที่เหลือตกได้แก่จำเลยกับทายาทอีกคนหนึ่งดังนี้แสดงว่า นอกจากโจทก์จำเลยแล้ว มีทายาทอื่นยังประสงค์ขอรับส่วนแบ่งที่ดินมรดกด้วยซึ่งถ้าหากเป็นความจริง ส่วนแบ่งในที่ดินมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับย่อมต้องลดลงข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุตไม่ได้ การที่ศาลสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่งตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่ง อ้างว่าทายาทอื่นไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกรายนี้แล้วคงเกี่ยวข้องเฉพาะโจทก์จำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกไปแล้ว และส่วนที่เหลือตกได้แก่จำเลยกับทายาทอีกคนหนึ่งดังนี้แสดงว่า นอกจากโจทก์จำเลยแล้ว มีทายาทอื่นยังประสงค์ขอรับส่วนแบ่งที่ดินมรดกด้วยซึ่งถ้าหากเป็นความจริง ส่วนแบ่งในที่ดินมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับย่อมต้องลดลงข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุตไม่ได้ การที่ศาลสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่งตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดิน: เจ้าของร่วมยังคงมีสิทธิ แม้มีการครอบครองแยกกัน
โจทก์ฟ้องว่าเดิมโจทก์จำเลยได้ครอบครองที่นามรดกร่วมกัน 2 แปลง เรียกว่านา ต. กับนา ห. ต่อมาจึงแยกกันทำนา โดยโจทก์ทำนา ต.จำเลยทำนา ห. แต่จำเลยไปขอ น.ส.3 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวโจทก์ขอให้แบ่งกันคนละแปลง จำเลยไม่ยอม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่นามรดกกับโจทก์คนละแปลง โดยให้โจทก์ได้นา ต. ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ จำเลยให้การว่าได้แบ่งมรดกกันแล้วโดยนา ต. กับนา ห. ให้แก่จำเลย ได้ความว่านาทั้งสองแปลงนี้เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์จำเลยได้รับมา โจทก์จำเลยแยกกันทำนาคนละแปลง แต่ต่างฝ่ายต่างครอบครองแทนอีกฝ่ายหนึ่งตลอดมา โจทก์จำเลยต่างยังเป็นเจ้าของนาทั้งสองแปลงร่วมกันนาต. ก็เป็นทรัพย์มรดกที่จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะแบ่งให้แก่โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงพิพากษาว่านาทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่โจทก์จำเลย ให้แบ่งนา 2 แปลงนี้ให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดินร่วมกัน โดยมีการครอบครองแทนกัน และการพิสูจน์การแบ่งมรดก
โจทก์ฟ้องว่าเดิมโจทก์จำเลยได้ครอบครองที่นามรดกร่วมกัน 2 แปลง เรียกว่านา ต. กับนา ห. ต่อมาจึงแยกกันทำนา โดยโจทก์ทำนา ต. จำเลยทำนา ห. แต่จำเลยไปขอ น.ส.3 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว โจทก์ขอให้แบ่งกันคนละแปลงจำเลยไม่ยอม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่นามรดกกับโจทก์คนละแปลง โดยให้โจทก์ได้นา ต. ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ จำเลยให้การว่าได้แบ่งมรดกกันแล้วโดย นา ต. กับ นา ห. ให้แก่จำเลย ได้ความว่านาทั้งสองแปลงนี้เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์จำเลยได้รับมา โจทก์จำเลยแยกกันทำนาคนละแปลง แต่ต่างฝ่ายต่างครอบครองแทนอีกฝ่ายหนึ่งตลอดมา โจทก์จำเลยต่างยังเป็นเจ้าของนาทั้งสองแปลงร่วมกัน นาต. ก็เป็นทรัพย์มรดกที่จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะแบ่งให้แต่โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงพิพากษาว่านาทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกได้แก่โจทก์จำเลย ให้แบ่งนา 2 แปลงนี้ให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกทรัพย์ผิดประเด็น เมื่อทรัพย์สินเป็นของมรดกบุตร
ฟ้องเรียกทรัพย์อ้างว่าเป็นทรัพย์ของตนเอง ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทรัพย์มรดกของบุตรโจทก์ ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ไม่ได้ โดยถือว่าเป็นการฟ้องนอกประเด็น