คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1748

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในทรัพย์สินก่อนสมรส, การเพิกถอนการโอน, และการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องซึ่งเป็นเพียงแสดงให้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่าหากศาลเห็นเป็นการสมควรหรือจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข เรียกเข้ามา กรณีดังนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าคำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นพร้อมกับคำฟ้องเพื่อหมายเรียกตามมาตรา 57(3)
ผัวเมียที่แต่งงานกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ทรัพย์สินซึ่งแม้จะเป็นเครื่องประดับใช้สำหรับแต่งตัวที่ผัวหรือเมียมีอยู่ก่อนแต่งงานที่มีราคาย่อมนำไปใช้เป็นทุนสำหรับประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดผลประโยชน์ได้ จึงเป็นสินเดิมของฝ่ายนั้น จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้บังคับไม่ได้จึงอ้างว่าเป็นของใช้ประจำตัวพอเหมาะสมกับฐานะของผัวหรือเมียผู้มีทรัพย์สินนั้นและถือว่าเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(2) หาได้ไม่ ต้องถือว่ามีสินเดิม
บิดาครอบครองมรดกของมารดาแทนบุตรผู้เยาว์ แล้วบิดาแบ่งขายที่ดินมรดกไปบางส่วน ดังนี้ไม่เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าบิดาได้บอกกล่าวเปลี่ยนเจตนาแห่งการยึดถือทรัพย์ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์แทนบุตรต่อไปอันจะทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เอามรดกของ ย. ภริยาเดิมส่วนที่ตกได้แก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไปจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2,3,4 บุตรซึ่งเกิดจากภรรยาคนใหม่โดยไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายพนักงานอัยการเพื่อประโยชน์แก่บุตรของ ย. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ กรณีไม่ใช่เรื่องจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพร้อมด้วยส่วนควบให้ทายาทของ ย. คนละ 1 ใน 30 ส่วน หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้เอาออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วนโดยไม่กำหนดจำนวนเงินขึ้นสูงที่โจทก์ตีราคามาในฟ้อง ดังนี้เป็นการพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ซึ่งการที่ศาลไม่กำหนดจำนวนเงินตามที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องก็เพราะราคาที่กล่าวในฟ้องเป็นเพียงการกำหนดราคาเพื่อคิดค่าธรรมเนียมศาล หาใช่ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ไม่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกคำขอหรือไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก และสิทธิในการโอนทรัพย์มรดกของทายาท
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ. กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คน เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทน ทายาทจำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนคดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้นหาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ. และ น. จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้น ทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้นๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น. จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และน. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ. เป็นทนายความแม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ. ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้นดังนี้ พ. จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท การโอนสิทธิ และการเรียกร้องสิทธิในที่ดินมรดก
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ.กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คนเคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทนทายาท จำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตน คดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้น หาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังบทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ.และ น.จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้นทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิ ตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้น ๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น.จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และ น. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้ เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ.เป็นทนายความ แม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ.ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมาและโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ดังนี้ พ.จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกอิสลามและการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากไม่ได้อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็นคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลแล้วก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750 ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: หลักเกณฑ์การบังคับใช้และการแบ่งสินสมรส
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็น คดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล แล้ว ก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, การหักค่าซ่อมแซมทรัพย์มรดก, อายุความเรียกร้องสิทธิ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้าของมรดกและครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 แม้จะล่วงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็หาขาดอายุความไม่
จำเลยได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าซ่อมเรือนมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยย่อมมิสิทธิขอให้หักค่าซ่อมนั้นจากกองมรดกก่อนแบ่ง โดยขอมาในคำให้การได้ จำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้เป็นเงิน จึงหาจำต้องยกขึ้นฟ้องแย้งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดไป
โจทก์กับ ส.สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัยพ์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยรับมรดกจาก ส. และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้น และเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อยหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดอายุ
โจทก์กับ ส. สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้รับพินัยกรรม: การครอบครองมรดกและการฟ้องร้องเรียกร้องสิทธิ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้รับพินัยกรรม. แต่โจทก์เป็นผู้ครอบครองมรดกแต่ผู้เดียว. เมื่อจำเลยมิได้ฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกร้องเอามรดกตามพินัยกรรมจนพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงสิทธิซึ่งจำเลยมีอยู่ตามพินัยกรรมแล้ว. โจทก์ย่อมกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสอง ขึ้นใช้ยันจำเลย และฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้คัดค้านการที่โจทก์ขอรับมรดกได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องการใช้อายุความหนึ่งปีขึ้นต่อสู้ว่าต้องเป็นทายาท.หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือผู้จัดการมรดก. โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรม จึงมีสิทธิกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีขึ้นใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วยกันได้.
ที่ดินมรดกมีหลายแปลง มีข้อกำหนดตามพินัยกรรมในเรื่องผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินที่พิพาทกับผู้มีชื่อ. โดยไม่ได้ระบุว่าที่ดินแปลงใดอันจะเป็นมรดกที่มีผู้จัดการซึ่งมีสิทธิฟ้องเรียกเอาได้เกินหนึ่งปี. เมื่อจำเลยจะอ้างประโยชน์จากอายุความเพราะเหตุนี้. ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่จำเลย.
ที่ดินมรดกหลายแปลง. แปลงใดที่พินัยกรรมมิได้กำหนดให้มีผู้จัดการมรดก. ผู้รับพินัยกรรมจะฟ้องเรียกเอาเกินกว่าหนึ่งปีไม่ได้.
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมครอบครองที่ดินมรดกมาแต่ผู้เดียวเกินกว่าหนึ่งปี. ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับมรดก. จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่ามรดกรายนี้มีผู้จัดการอันจะทำให้มีสิทธิฟ้องร้องเกินหนึ่งปีได้.ประเด็นนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น. ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย.เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปี หากไม่มีผู้จัดการมรดก
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้รับพินัยกรรม แต่โจทก์เป็นผู้ครอบครองมรดกแต่ผู้เดียว เมื่อจำเลยมิได้ฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกร้องเอามรดกตามพินัยกรรมจนพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงสิทธิซึ่งจำเลยมีอยู่ตามพินัยกรรมแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสอง ขึ้นใช้ยันจำเลย และฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้คัดค้านการที่โจทก์ขอรับมรดกได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องการใช้อายุความหนึ่งปีขึ้นต่อสู้ว่าต้องเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือผู้จัดการมรดก โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรม จึงมีสิทธิกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีขึ้นใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วยกันได้
ที่ดินมรดกมีหลายแปลง มีข้อกำหนดตามพินัยกรรมในเรื่องผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินที่พิพาทกับผู้มีชื่อ โดยไม่ได้ระบุว่าที่ดินแปลงใดอันจะเป็นมรดกที่มีผู้จัดการซึ่งมีสิทธิฟ้องเรียกเอาได้เกินหนึ่งปี เมื่อจำเลยจะอ้างประโยชน์จากอายุความเพราะเหตุนี้ ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่จำเลย
ที่ดินมรดกหลายแปลง แปลงใดที่พินัยกรรมมิได้กำหนดให้มีผู้จัดการมรดก ผู้รับพินัยกรรมจะฟ้องเรียกเอาเกินกว่าหนึ่งปีไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมครอบครองที่ดินมรดกมาแต่ผู้เดียวเกินกว่าหนึ่งปี ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับมรดก จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่ามรดกรายนี้มีผู้จัดการอันจะทำให้มีสิทธิฟ้องร้องเกินหนึ่งปีได้ ประเด็นนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น
of 20