พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ในสัญญากู้ร่วม เจ้าของร่วมถึงแก่กรรม สิทธิในที่ดินยังคงเป็นมรดก
เจ้าของที่ดินร่วมกัน 2 คนไปกู้เงินเขามา แล้วมอบโฉนดและที่ดินให้ผู้ให้กู้ทำต่างดอกเบี้ย ภายหลังเจ้าของร่วมคนหนึ่งถึงแก่กรรม เจ้าของร่วมคนที่เหลือจึงให้คนอื่นไปไถ่ที่ดินมา จากผู้ให้กู้เดิม เมื่อไถ่มาแล้ว หาได้ทำใบกู้ใหม่ไม่คนอื่นนั้นคงรับสัญญากู้ฉบับเดิมนั้นเองมายึดถือไว้ ดังนี้ เป็นเรื่องเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้หาได้มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่ การครอบครองของเจ้าหนี้ยังคงเป็นการครอบครองแทน ลูกหนี้ทั้งหมด ทายาทของเจ้าของร่วมที่ถึงแก่กรรม จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากเจ้าของร่วมที่มีชีวิตอยู่ได้ ไม่ถือว่าคดีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้และการคงอยู่ของสัญญาเดิม ไม่ถือเป็นการขาดอายุความของสิทธิเรียกร้อง
เจ้าของที่ดินร่วมกัน 2 คนไปกู้เงินเขามาแล้วมอบโฉนดและที่ดินให้ผู้ให้กู้ทำต่างดอกเบี้ย ภายหลังเจ้าของร่วมคนหนึ่งถึงแก่กรรมเจ้าของร่วมคนที่เหลือจึงให้คนอื่นไปไถ่ที่ดินมาจากผู้ให้กู้เดิม เมื่อไถ่มาแล้วหาได้ทำใบกู้ใหม่ไม่คนอื่นนั้นคงรับสัญญากู้ฉบับเดิมนั้นเองมายึดถือไว้ดังนี้เป็นเรื่องเปลี่ยนตัวเจ้า หนี้หาได้มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ไม่ การครอบครองของเจ้าหนี้ยังคงเป็นการครอบครองแทน ลูกหนี้ทั้งหมดทายาทของเจ้าของร่วมที่ถึงแก่กรรม จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากเจ้าของร่วมที่มีชีวิตอยู่ได้ ไม่ถือว่าคดีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกโดยทายาทร่วม การไถ่คืนนาพิพาท และผลของการลอบไถ่โดยไม่แจ้ง
การที่ทายาทของผู้ตายร่วมกันไปกู้เงินผู้อื่นมาไถ่นาพิพาทและให้เจ้าหนี้ทำนาพิพาทต่างดอกเบี้ยภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายนั้นถือว่าทายาทเหล่านั้นได้ครอบครองนาพิพาทด้วยกัน ตลอดเวลาที่เจ้าหนี้ทำนามรดกนั้นต่างดอกเบี้ยอยู่ หากทายาทคนใดไปลอบไถ่มาโดยไม่แจ้งให้ทายาทอื่นทราบ ก็ไม่ถือว่าทายาทคนอื่นสละการครอบครองคงถือว่าทายาทที่ลอบไถ่มาครอบครองแทนทายาทอื่นนั้นและคดีไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกโดยทายาทร่วม การไถ่นาพิพาท และผลของการครอบครองแทนกัน
การที่ทายาทของผู้ตายร่วมกันไปกู้เงินผู้อื่นมาไถ่นาพิพาท และให้เจ้าหนี้ทำนาพิพาทต่างดอกเบี้ยภายใน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายนั้น ถือว่าทายาทเหล่านั้นได้ครอบครองนาพิพาทด้วยกัน ตลอดเวลาที่เจ้าหนี้ทำนามรดกนั้นต่างดอกเบี้ยอยู่ หากทายาทคนใดไปลอบไถ่มาโดยไม่แจ้งให้ทายาทอื่นทราย ก็ไม่ถือว่าทายาทคนอื่นสละการครอบครอง คงถือว่าทายาทลอบที่ไถ่มาครอบครองแทนทายาทอื่นนั้น และคดีไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนผู้รับมรดกและสิทธิในมรดกของบุตรจากสินสมรส คดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยนั้น เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จะเรียกค่าฤชาธรรมเนียมอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้
การที่บิดาพูดรับรองในวันทำบุญ 7 วันศพภริยาจะแบ่งนาพิพาทให้บุตรทุกคน แล้วบิดาได้ครอบครองนาพิพาทต่อมาร่วมกับบุตรบางคน ดังนี้ ถือว่าบิดาได้ครอบครองนาพิพาทแทน
สินสมรสระหว่างบิดามารดานั้น หากมารดาตาย แต่ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ บุตรคงมีส่วนเฉพาะที่เป็นมรดกของมารดาเท่านั้น
การที่บิดาพูดรับรองในวันทำบุญ 7 วันศพภริยาจะแบ่งนาพิพาทให้บุตรทุกคน แล้วบิดาได้ครอบครองนาพิพาทต่อมาร่วมกับบุตรบางคน ดังนี้ ถือว่าบิดาได้ครอบครองนาพิพาทแทน
สินสมรสระหว่างบิดามารดานั้น หากมารดาตาย แต่ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ บุตรคงมีส่วนเฉพาะที่เป็นมรดกของมารดาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนผู้รับมรดกและการฟ้องร้องเพื่อแสดงสิทธิในมรดก โดยคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยนั้น เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จะเรียกค่าธรรมเนียมอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้
การที่บิดาพูดรับรองในวันทำบุญ 7 วันศพภริยาว่าจะแบ่งนาพิพาทให้บุตรทุกคน แล้วบิดาได้ครอบครองนาพิพาทต่อมาร่วมกับบุตรบางคนดังนี้ ถือว่าบิดาได้ครอบครองนาพิพาทแทน
สินสมรสระหว่างบิดามารดานั้น หากมารดาตาย แต่ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ บุตรคงมีส่วนเฉพาะที่เป็นมรดกของมารดาเท่านั้น
การที่บิดาพูดรับรองในวันทำบุญ 7 วันศพภริยาว่าจะแบ่งนาพิพาทให้บุตรทุกคน แล้วบิดาได้ครอบครองนาพิพาทต่อมาร่วมกับบุตรบางคนดังนี้ ถือว่าบิดาได้ครอบครองนาพิพาทแทน
สินสมรสระหว่างบิดามารดานั้น หากมารดาตาย แต่ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ บุตรคงมีส่วนเฉพาะที่เป็นมรดกของมารดาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766-1767/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันเป็นโมฆะ ศาลไม่บังคับสัญญาได้
มฤดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท ทายาทคนใดคนหนึ่งจะเอาไปขายมิได้ หากไปตกลงขาย ก็ถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิ ศาลบังคับตามสัญญามิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766-1767/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกยังไม่แบ่งแยก ทายาทคนใดคนหนึ่งขายไม่ได้ สัญญาไม่ผูกพัน
มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท ทายาทคนใดคนหนึ่งจะเอาไปขายมิได้ หากไปตกลงขาย ก็ถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิ ศาลบังคับตามสัญญามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์ยังไม่ขาดอายุความ แม้มีการตกลงแบ่งกันไว้ แต่ยังไม่ได้แบ่งจริง
เมื่อเจ้ามฤดกตายแล้ว ผู้รับมฤดกได้ทำสัญญาตกลงแบ่งทรัพย์กันคนละส่วน แต่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และมอบเงินประกันการค้าน้ำมันกับบริษัทน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองมฤดก ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย ดั่งนี้ ถือว่าทายาทต่างยังเป็นเจ้าของรวมในเงินประกันนั้น จะนำมาตรา 1754 ป.พ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่า สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มฤดกนั้น จะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพย์สิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่า ทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้น ไม่ได้
ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่า สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มฤดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มฤดกนั้น จะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปี เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพย์สิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่า ทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้น ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์ยังคงมีอยู่ แม้จะมอบให้จัดการดูแล และข้อตกลงห้ามแบ่งเกิน 10 ปี
เมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ผู้รับมรดกได้ทำสัญญาตกลงแบ่งทรัพย์กันคนละส่วน แต่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และมอบเงินประกันการค้าน้ำมันกับบริษัทน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกให้อยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย ดั่งนี้ ถือว่าทายาทต่างยังเป็นเจ้าของรวมในเงินประกันนั้น จำนำมาตรา1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่าสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มรดกนั้นจะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพยสิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่าทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้นไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1748 วรรค 2 บัญญัติว่าสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อนจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้นั้น หมายความว่าทายาทจะทำความตกลงกันห้ามไม่ให้ใครเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกก็ย่อมทำได้ แต่ในการที่จะทำนิติกรรมห้ามเรียกแบ่งทรัพย์มรดกนั้นจะห้ามได้แต่เพียงคราวละสิบปีเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ทายาทย่อมมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งได้เสมอตามทรัพยสิทธิของเขา จะแปลกลับเป็นว่าทายาทจะเรียกให้แบ่งทรัพย์ไม่ได้ เมื่อเกินสิบปีแล้วนั้นไม่ได้