คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1748

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่แจ้งเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ ยังมีสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกได้ แม้พ้นอายุความ
โจทก์ที่ 4 เป็นภรรยาเจ้ามรดกมาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีบุตรด้วยกัน4 คน คือ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลย เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อปี 2503 โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ที่ 4และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าจำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสี่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 การที่ จำเลยนำที่ดินพิพาทไปออก น.ส.3 ในนามของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง โจทก์ทั้งสี่ จึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อยู่ต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งสี่ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 คดีจึง ไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนทายาท vs. ครอบครองเพื่อตนเอง ผลต่ออายุความ และการแบ่งมรดก
ห. และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดกไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิ ยกอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้ คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาท มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับ ส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว. ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วน แบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนทายาทและสิทธิในการแบ่งมรดก: ศาลไม่อาจกันส่วนแบ่งมรดกให้ทายาทที่มิได้ร้องสอด
ห.และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดก ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้
คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว.ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกของทายาทโดยธรรม การจัดการมรดกโดยผู้จัดการ และอายุความฟ้องแบ่งมรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ. หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่า บ. เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ. โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป. เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป. จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ. ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับบ. จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและการจัดการมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ.หลังใช้ ป.พ.พ. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่าบ.เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ.โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป.เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป.จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ.ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับ บ.จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดก: กรณีที่ยังไม่ได้แบ่งปัน
เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่พิพาทยังอยู่ระหว่างทายาทครอบครองร่วมกันและยังมิได้มีการแบ่งปันกัน แม้จำเลยจะครอบครองทรัพย์มรดกก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย แม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 และเมื่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 กำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอายุความมรดกไม่อยู่ในบังคับต้องใช้กฎหมายอิสลาม กรณีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่าซื้อหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ทายาทสืบสิทธิได้ในฐานะผู้จัดการมรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปันให้ทายาทต่อไปได้
หลังจาก อ.ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ.ผู้ตาย และอ.มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก อ.เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ.ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ.อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อ อ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าซื้อและการสืบสิทธิหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์มรดก
สิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้ และจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่ ตามกฎหมายที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิ ที่จะเข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเพื่อดำเนินการแบ่งปัน ให้ทายาทต่อไปได้ หลังจาก อ. ผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อและชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้เข้าสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดก อ. ผู้ตายและ อ. มีทายาทหลายคน ดังนั้น แม้จำเลยจะสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็เป็นการสืบสิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกอ. เพื่อจะดำเนินการแบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นมรดกของ อ. ให้แก่ทายาทต่อไปเท่านั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ทายาทคนใด ตราบนั้นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ยังคงเป็นมรดกของ อ. อยู่ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ และเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่ออ.เจ้ามรดกสำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าอ.ถึงแก่ความตายเมื่อเดือนเมษายน 2537 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2537 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก การครอบครองแทน การรับรองบุตร และการสันนิษฐานทางกฎหมาย
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ฉ.ได้ให้การรับรองว่าเป็นบุตรแล้ว แม้จำเลยจะมีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านนักเรียนที่ระบุว่า โจทก์เป็นบุตร ฉ.และนางแฉล้มมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ดังกล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนอันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 แล้ว แม้จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ. โดยมิได้แจ้งว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยไปขอรับมรดกของฉ.โดยระบุบัญชีเครือญาติของฉ. เจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยและ ส. บุตรนายเฉลียวเพียง 2 คน เท่านั้นที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.เจ้ามรดกและส. ไม่ขอรับมรดกโดยไม่ได้ระบุถึงโจทก์ด้วยตามพฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2532โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ฉ. ถึงแก่กรรมแล้วโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย กรณีจึงมิใช่โจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งมีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดก ฉ. ร่วมกับจำเลยแต่ประการใด แต่เป็นการครอบครองแทนจำเลยและเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโอนที่ดินมรดก โจทก์ก็ไปด้วยและโจทก์ไม่ได้ขอแบ่งที่ดินมรดก เมื่อรับฟังประกอบกับเมื่อขณะที่จำเลยขอรับโอนที่ดินมรดกจำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินมรดกอย่างเจ้าของ และการครอบครองที่ดินมรดกของจำเลยมิใช่การครอบครองที่ดินมรดกแทนโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นทายาทและอายุความฟ้องแย่งทรัพย์มรดก
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ฉ.ได้ให้การรับรองว่าเป็นบุตรแล้ว แม้จำเลยจะมีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนที่ระบุว่าโจทก์เป็นบุตร ฉ.และนางแฉล้มมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ดังกล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนอันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 127 แล้ว
แม้จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.โดยมิได้แจ้งว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยไปขอรับมรดกของ ฉ.โดยระบุบัญชีเครือญาติของ ฉ.เจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยและ ส.บุตรนายเฉลียวเพียง 2 คน เท่านั้นที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.เจ้ามรดกและ ส.ไม่ขอรับมรดก โดยไม่ได้ระบุถึงโจทก์ด้วยตามพฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1605
ฉ.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2532โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ ฉ.ถึงแก่กรรมแล้วโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย กรณีจึงมิใช่โจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งมีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกฉ.ร่วมกับจำเลยแต่ประการใด แต่เป็นการครอบครองแทนจำเลย และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโอนที่ดินมรดก โจทก์ก็ไปด้วยและโจทก์ไม่ได้ขอแบ่งที่ดินมรดก เมื่อรับฟังประกอบกับเมื่อขณะที่จำเลยขอรับโอนที่ดินมรดกจำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินมรดกอย่างเจ้าของ และการครอบครองที่ดินมรดกของจำเลยมิใช่การครอบครองที่ดินมรดกแทนโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ฉ.เจ้ามรดกถึงแก่กรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754
of 20