คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1748

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: การครอบครองแทนทายาทอื่นไม่อาจทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของตนได้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คน การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจาก จ.ถึงแก่กรรม ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของ จ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใด ที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ. จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผลกระทบต่ออายุความของทายาทโดยพินัยกรรม
การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคท้าย มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมของเจ้ามรดกหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องทรัพย์มรดกหลังพ้นอายุความ: สิทธิทายาทและการสละมรดก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดก, อายุความ, สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดก: ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาโจทก์ไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้วแม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมาย จำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว และการยินยอมของทายาท ทำให้ขาดอายุความเรียกร้อง
ขณะ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสามตาย บุตรทุกคนไม่ได้อยู่กับ ท. ซึ่งเป็นบิดาและ บ. ขณะนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องอายุ 19 ปีเศษ โจทก์และบุตรคนอื่น บรรลุนิติภาวะหมดแล้วนอกจากที่ดินพิพาทแล้ว ท. และ บ. ยังมีทรัพย์สินร่วมกันอีกหลายอย่างเมื่อ บ. ตาย ท. ได้เข้าจัดการทรัพย์สินทุกอย่างรวมทั้งได้ขอรับมรดกที่ดินของ บ. ลงชื่อ ท. ถือกรรมสิทธิ์ไว้คนเดียว และได้จดทะเบียนให้จำเลยทั้งสามถือ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท แสดงว่า ท.ได้ถือตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งส่วนของตนและส่วนที่เป็น มรดกของ บ. แต่ผู้เดียวตลอดมามิได้ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนบุตรด้วยแต่ประการใด โจทก์และบุตรทุกคนต่างยินยอมรับปฏิบัติตามต่อการกระทำของ ท.มาแต่ต้นไม่เคยคัดค้านการจัดการทรัพย์สินของท.เลย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินสิบปีนับแต่ บ. ตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ บ. จึงเป็นอันขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสุดท้าย โจทก์ ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินแทนทายาทและการไม่มีอำนาจฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องแต่ได้ความว่าโจทก์เป็นภริยาของ ต. จำเลยยกที่พิพาทให้ ต.ไม่ได้ยกให้โจทก์ด้วยหลังจากต. ตายโจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมา โดยไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ครอบครอง อย่างเจ้าของโดยเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ ถือว่าโจทก์ครอบครอง แทนทายาทของ ต. โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาทและไม่มี อำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกและการขาดอายุความฟ้องร้องแบ่งมรดก
การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย กรณีจะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่นหรือครอบครองไว้เพื่อตนเองย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแต่ละคดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแต่จำเลยเป็นผู้ครอบครองซึ่งเป็นการครอบครองไว้เพื่อ ตนเอง มิได้ครอบครองไว้แทนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทด้วย โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ จ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและที่ดินพิพาท การครอบครองแทนทายาท การคิดค่าเสียหายจากทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย โดยตึกแถวพิพาทเป็นสินสมรสของผู้ตายกับโจทก์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ เช่นนี้โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้อง โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยามีส่วนแบ่งในสินสมรสของผู้ตาย ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายและในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวรวมกันมาโจทก์ย่อมฟ้องรวมกันมาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร
เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตาย ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, ที่ดิน, ตึกแถว, สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกและคู่สมรส, ค่าเสียหายจากการเช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย โดยตึกแถวพิพาทเป็นสินสมรสของผู้ตายกับโจทก์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ เช่นนี้โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้อง โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยามีส่วนแบ่งในสินสมรสของผู้ตาย ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายและในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวรวมกันมาโจทก์ย่อมฟ้องรวมกันมาได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน 2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตายทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการเรียกร้องสิทธิในส่วนแบ่งมรดกของทายาท
จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกและครอบครองต่อมา ถือว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยโจทก์ทายาทคนหนึ่งฟ้องคดีเรียกร้องให้แบ่งที่ดินพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ดังนี้ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนรับโอนที่ดินแปลงพิพาทมาเป็นของตน ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยแจ้งเจตนาของตนให้โจทก์ทราบ ย่อมไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จึงไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองเหนือที่ดินแปลงพิพาทส่วนของโจทก์
of 20