พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกสินสมรสหลังการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากสัดส่วนสินสมรสและส่วนแบ่งทายาท
จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาระหว่างที่จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายม้วน เมื่อนายม้วนตายต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งจำเลยได้ 1 ส่วน นายม้วนได้ 2 ส่วน ส่วนของนายม้วนตกแก่ทายาททั้งหมดคือจำเลยในฐานะภริยาและทายาทอื่นรวมทั้งหมด 8 คน
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกของทายาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748, 1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทอื่น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748,1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกต้อง ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การแบ่งมรดก และสิทธิของเจ้าของรวม
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่น ก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ส.ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม ก็ถือว่าโจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น 1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส.ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์โดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องแบ่งทรัพย์สินร่วม สิทธิเจ้าของร่วมไม่อยู่ในอายุความมรดก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ให้ยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุอื่น โจทก์แต่ฝ่ายเดียวอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า "ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในตอนต้น ว่า คดีไม่ขาดอายุความแล้ววินิจฉัยต่อมาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ์ขอแบ่งที่พิพาทเพราะล่วงเลยอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เป็นการขัดกันเองและขัดเหตุผล" เมื่อจำเลยได้ยื่นคำแก้ อุทธรณ์ในปัญหานี้แล้วปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์จะอ้างว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความขึ้นวินิจฉัยทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นการมิชอบนั้นไม่ได้ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์และมารดาจำเลยร่วมกันรับมรดกและร่วมกันครอบครอง ต่อมาโจทก์สมรสแล้วย้ายไปอยู่กับสามีโดยมีมารดาจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดาของตน คือครอบครองแทนโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์ยังมิได้สละสิทธิรับมรดก โจทก์จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทอันเป็นมรดกรายนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่พิพาทจากจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิเจ้าของร่วมขอแบ่งทรัพย์พิพาท หาใช่การฟ้องคดีมรดกไม่ ดังนั้น จึงจะนำอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมและการระงับอายุความในคดีแบ่งมรดก
หลังจากเจ้ามรดกตายโจทก์และมารดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ร่วมกันครอบครองที่มรดกระยะหนึ่ง แม้โจทก์จะออกจากที่พิพาทไปนานเท่าใดก็ถือว่ามารดาจำเลยครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดา ถือว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทร่วมกันและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งตนเป็นเจ้าของรวมได้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมกันและการแบ่งมรดกโดยอายุความไม่ตัดสิทธิ
หลังจากเจ้ามรดกตายโจทก์และมารดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ร่วมกันครอบครองที่มรดกระยะหนึ่ง แม้โจทก์จะออกจากที่พิพาทไปนานเท่าใดก็ถือว่ามารดาจำเลยครอบครองแทนโจทก์ การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงอยู่ในฐานะเดียวกับมารดา ถือว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทร่วมกันและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งตนเป็นเจ้าของรวมได้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกเกิน 1 ปี ทำให้ฟ้องคดีขาดอายุความ
โจทก์มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องถือสิทธิครอบครองในที่ดินมรดกร่วมกับ ทายาทอื่นเป็นเวลาประมาณ 30 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเกินกว่า1 ปี หลังจากเจ้ามรดก ถึงแก่ความตายคดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754