พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกเท่ากัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการแบ่งมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญา จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850, 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม เห็นว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 หมวด 3 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวแบ่งได้ 3 วิธี กล่าวคือ 1) โดยทายาทต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยการแบ่งตัวทรัพย์ตามความยินยอมโดยตรงหรือโดยปริยายและต่างเข้าครอบครองตามทรัพย์มรดกที่ได้รับแบ่งนั้น กรณีนี้ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็บังคับได้ 2) โดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท กรณีเกิดจากทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกไม่อาจแบ่งตัวทรัพย์กันได้ การขายอาจตกลงกันว่าให้ประมูลกันระหว่างทายาท หรือประกาศขายหรือถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องนำคดีมาฟ้องเรียกให้แบ่งมรดกโดยขอให้ศาลพิพากษาให้แบ่งระหว่างเจ้าของรวม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 และ 3) การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาที่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ยืนยันตามที่บรรยายฟ้องว่า ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้นัดประชุมทายาทโดยธรรมของ พ. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ในวันนัดมีโจทก์ และทายาททุกคนยกเว้นจำเลยมาประชุมโดยพร้อมกัน ที่ประชุมตกลงให้มีการจับฉลากแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนในสัดส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยไม่มาประชุม ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ ล. เป็นผู้จับฉลากแทน เมื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดย ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น มิชอบด้วย ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 หมวด 3 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามหลักกฎหมายข้างต้น แม้ ฉ. และ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นทายาทด้วยกันย่อมมีส่วนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745, 1746 และย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ กรณีตามคำฟ้องถือว่ายังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลยต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทั้งข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องมิใช่เรื่องขอแบ่งมรดกในอันที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้ได้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดและการตกลงระหว่างทายาท
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้นอาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง บทบัญญัตินี้เป็นลักษณะของการกระทำคือครอบครองทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัดโดยเจตนายึดถือเพื่อตนทำนองเดียวกับบทบัญญัติบรรพ 4 ทรัพย์สิน ลักษณะ 3 ครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ซึ่งอาจให้ผู้อื่นยึดถือไว้แทนก็ได้ ตามมาตรา 1368
การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นอีก 3 คน ตกลงให้ที่ดินมรดก 1 แปลง ตกแก่จำเลยแต่ผู้เดียวและจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดโดยนำไปออกโฉนดและแบ่งแยกเป็น 5 แปลง ซึ่งมีที่ดินพิพาทในคดีนี้รวมอยู่ด้วย กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทให้ผิดไปจากข้อตกลง
การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นอีก 3 คน ตกลงให้ที่ดินมรดก 1 แปลง ตกแก่จำเลยแต่ผู้เดียวและจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดโดยนำไปออกโฉนดและแบ่งแยกเป็น 5 แปลง ซึ่งมีที่ดินพิพาทในคดีนี้รวมอยู่ด้วย กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทให้ผิดไปจากข้อตกลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้แบ่งทรัพย์มรดกโดยการครอบครองรวมแทนการขายทอดตลาด
ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท แสดงว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ ทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ได้ความว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกพยายามแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินทั้งเจ็ดแปลงให้แก่ทายาท แต่ตกลงกันไม่ได้ว่าทายาทคนใดจะได้รับที่ดินแปลงใด จึงแจ้งให้ทายาทไปรับมรดกที่ดินทั้งเจ็ดแปลงตามสัดส่วน โดยการใส่ชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามสัดส่วนที่ทายาทแต่ละคนมีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม แสดงว่าผู้ร้องยังสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินทั้งเจ็ดแปลงโดยการให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 และทายาทอื่นเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นสัดส่วนโดยการใส่ชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามสัดส่วนตามสิทธิที่แต่ละคนจะได้รับได้ โดยอาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 และทายาททุกคนถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทรัพย์มรดก หากผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 หรือทายาทอื่นไม่ไป ให้ถือเอาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ กรณีจึงยังไม่เป็นเหตุให้ต้องขายทอดตลาดที่ดินทั้งเจ็ดแปลงเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6429/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและการยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกแก่ทายาทอื่น ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และเจตนาของเจ้ามรดก
ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ ต. ฝ่ายโจทก์ทั้งสองตกลงให้ตั้งจำเลยที่ 1 และฝ่ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงให้ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ต. ข้อตกลงดังกล่าวเพื่อให้มีตัวแทนของแต่ละฝ่ายเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ส่วนของตนในกองมรดกของ ต. เมื่อก่อนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเดิมจำเลยที่ 2 บ. สามีโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 2 นำที่ดินและอาคารดังกล่าวออกให้เช่า เมื่อใกล้ครบสัญญาเช่า ผู้เช่าทำหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ขอทำสัญญาเช่าต่อพร้อมขออนุญาตปรับปรุงอาคารที่เช่า โจทก์ที่ 2 จึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้เป็นผู้ตกลงกับผู้เช่าเอง ต่อมาจำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้ให้เช่าแทนโจทก์ที่ 2 อีก 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 ปี ซึ่งโจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้เก็บค่าเช่าเองโดยโจทก์ที่ 2 ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแทนฉบับเดิมที่สูญหาย ซึ่งโจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าเดิม บ. เป็นผู้เก็บโฉนดดังกล่าวไว้ แต่ขณะออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่ บ. ถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น หากโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. โอนที่ดินพิพาทพร้อมมอบโฉนดที่ดินให้ไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่สามารถดำเนินการเองโดยลำพัง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยินยอมแบ่งที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ต. ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เข้าครอบครองทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัดตาม ป.พ.พ. 1750 วรรคหนึ่ง โดยการนำออกให้เช่าและเก็บค่าเช่ามาโดยตลอด โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกให้นำที่ดินและอาคารพิพาทมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสองได้อีก
คำพิพากษาในส่วนเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องการครอบครองเป็นส่วนสัด แต่เป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายอันเป็นการปรับบทกฎหมาย
คำพิพากษาในส่วนเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องการครอบครองเป็นส่วนสัด แต่เป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายอันเป็นการปรับบทกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13665/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และการพิสูจน์ภาระการรับผิดชอบของผู้รับมรดก
โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและเป็นผู้สืบสันดานของ ร. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 โจทก์ทั้งสองย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ร. เมื่อจำเลยไม่โต้เถียงว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ร. เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท เนื่องจากโจทก์ทั้งสองได้รับทรัพย์มรดกอื่นของ ร. ไปแล้ว อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้เป็นทายาทของ ร. ต่างตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยการเข้าครอบครองทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัด ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง ภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับทรัพย์มรดกอื่นของ ร. จนเป็นที่พอใจของโจทก์ทั้งสองย่อมตกอยู่แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิทายาท ผู้มีส่วนได้เสีย และผลของการแบ่งมรดกโดยตกลง
คดีขอจัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 และบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกมีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 1718 หรือไม่
ขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซ. บุตรของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของ ซ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของเจ้ามรดกอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างความเป็นทายาทได้ และเมื่อ ล. บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้ามรดกได้ยื่นคำร้องขอรับที่ดินมรดก ซ. และ ถ. คัดค้าน แต่ต่อมา ซ. และ ถ. ได้ตกลงให้ ล. รับโอนที่ดินมรดกไปแต่ผู้เดียวและ ล. ได้ครอบครองทำกินโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน เช่นนี้ถือได้ว่า ซ. ถ. และ ล. ทายาทเจ้ามรดกได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้วตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง หาก ซ. ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่อาจเรียกร้องที่ดินมรดกตามที่ตกลงแบ่งปันกันได้ จึงไม่มีมรดกที่จะตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน
ขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซ. บุตรของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของ ซ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของเจ้ามรดกอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างความเป็นทายาทได้ และเมื่อ ล. บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้ามรดกได้ยื่นคำร้องขอรับที่ดินมรดก ซ. และ ถ. คัดค้าน แต่ต่อมา ซ. และ ถ. ได้ตกลงให้ ล. รับโอนที่ดินมรดกไปแต่ผู้เดียวและ ล. ได้ครอบครองทำกินโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน เช่นนี้ถือได้ว่า ซ. ถ. และ ล. ทายาทเจ้ามรดกได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้วตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง หาก ซ. ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่อาจเรียกร้องที่ดินมรดกตามที่ตกลงแบ่งปันกันได้ จึงไม่มีมรดกที่จะตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ ทรัพยสินมรดก และการฟ้องขับไล่ การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อนกับคดีนี้แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใดเท่าใดดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาทกับขอให้ขับไล่จำเลยที่7และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดกแต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750วรรคหนึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การฟ้องบังคับจดทะเบียนและขับไล่ ไม่ใช่ประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนกับคดีนี้ แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่ คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใด เท่าใด ดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาท กับขอให้ขับไล่จำเลยที่ 7 และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ