คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 289

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คำร้องมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาล
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองที่ดินของจำเลย ซึ่งโจทก์นำยึดไว้ในอีกคดีหนึ่งเพื่อขายทอดตลาด และผู้ร้องขอให้ขายที่ดินนั้นโดยวิธีปลดจำนองแล้วให้นำเงินที่ขายทอดตลาดได้มาชำระหนี้จำนองก่อน ย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นโดยปลดจำนอง คำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ตามตาราง 1 ข้อ 1 ค. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยหนี้จากการบังคับคดี: เจ้าหนี้สามัญมิอาจเปลี่ยนฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิย้อนหลังได้
เติมโจทก์ขอให้บังคับคดีทำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามาคำพิพากษาจึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาท ศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์ คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้บุริมสิทธิและเจ้าหนี้สามัญ การเปลี่ยนแปลงฐานะเจ้าหนี้หลังการยื่นคำร้อง
เดิมโจทก์ขอให้บังคับคดีนำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาทศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมจากเงินจากการบังคับคดี: ไม่ใช่การขอกันส่วน แต่เป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยยึดรถแทรกเตอร์ของจำเลยขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ค่าซ่อมรถแทรกเตอร์ยื่นคำร้องขอรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้ค่าซ่อม ดังนี้มิใช่เรื่องขอกันส่วนของผู้ร้อง เนื่องจากผู้ร้องไม่มีส่วนเป็นเจ้าของรถแทรกเตอร์ที่ถูกยึดขายทอดตลาด การที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ค่าซ่อมรถแทรกเตอร์รายนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่แก้ไขแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีก่อนเจ้าหนี้อื่น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามมาตรา 289 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ในกรณีนี้แล้ว จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 290แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติอีกกรณีหนึ่งสำหรับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้
หนี้จำนองซึ่งผู้ร้องมีสิทธิขอให้เอาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ นั้น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบและอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 16เมษายน 2515 ข้อ 24 มิได้มีข้อห้ามแต่งตั้งข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และมิได้กำหนดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ทั้งหมดจะต้องแต่งตั้งจากฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างแต่ประการใด บัญญัติเพียงว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนและไม่เกินเก้าคน ต้องแต่งตั้งจากฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีเก้าคน ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญด้วย และกรรมการในฐานะผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้างฝ่ายละคน จึงเป็นกรรมการที่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้อ 26 บัญญัติไว้เพียงว่าการประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก มิได้กำหนดว่าจะต้องมีกรรมการที่เป็นผู้แทนฝ่ายฝ่ายจ้างและฝ่ายลูกจ้างร่วมประชุม หรือลงชื่อในคำชี้ขาดด้วยทุกครั้งไป ดังนั้นการที่ไม่มีกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างร่วมลงนามในคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ไม่ทำให้คำชี้ขาดนั้นขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยแต่อย่างใด
โจทก์ฎีกาว่า ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์นั้น เมื่อไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีไม่ขาดอายุ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี หาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์จำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีไม่ระงับ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปีหาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองเฉพาะทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนอง แม้มีการระบุสิ่งปลูกสร้างภายหลัง
ผู้ที่มิใช่เจ้าของทรัพย์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำทรัพย์นั้นไปจำนอง
แม้เอกสารต่อท้ายสัญญาจำนองจะมีข้อความระบุว่าผู้จำนองได้จำนองสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลังจำนองด้วย ข้อความดังกล่าวก็ย่อมหมายถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองเท่านั้น ไม่รวมถึงทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกด้วย ผู้รับจำนองจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายสิ่งปลูกสร้างของบุคคลภายนอกซึ่งได้ปลูกสร้างไว้บนที่ดินของผู้จำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองจำกัดเฉพาะทรัพย์สินของผู้จำนอง แม้ระบุสิ่งปลูกสร้างภายหลังก็ไม่รวมถึงกรรมสิทธิ์บุคคลอื่น
ผู้ที่มิใช่เจ้าของทรัพย์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำทรัพย์นั้นไปจำนอง
แม้เอกสารต่อท้ายสัญญาจำนองจะมีข้อความระบุว่าผู้จำนองได้จำนองสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลังจำนองด้วย ข้อความดังกล่าวก็ย่อมหมายถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองเท่านั้น ไม่รวมถึงทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกด้วย ผู้รับจำนองจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายสิ่งปลูกสร้างของบุคคลภายนอกซึ่งได้ปลูกสร้างไว้บนที่ดินของผู้จำนอง
of 22