คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 289

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งเงินจากการขายทอดตลาดของเจ้าของร่วมในทรัพย์สินหลังการบังคับคดี
เจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดยื่นคำร้องขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายภายหลังจากการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแบ่งเงินจากการขายทอดตลาดของเจ้าของร่วมในทรัพย์สินที่ถูกยึดชำระหนี้
เจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดยื่นคำร้องขอแบ่งเงินที่ได้จากการขายภายหลังจากการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของที่ดินรับผิดภาษีค้างชำระหลังรับโอนโกดังจากผู้ล้มละลาย สัญญาเช่าระงับ
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วจึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระจะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์ แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในค่าภาษีของเจ้าของใหม่ หลังการบอกเลิกสัญญาเช่า และการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อ ๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภาษีในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระ จะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลย: โจทก์มีสิทธิยึดเพื่อขายทอดตลาดได้
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ถอนการยึดนั้น ยังคงเป็นของจำเลยอยู่ โจทก์ผู้ชนะคดีย่อมนำยึดเพื่อเอาขายทอดตลาดได้ เพียงแต่ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิที่จะร้องขอให้โจทก์ถอนการยึดได้ ผู้ร้องชอบแต่ที่จะร้องขอให้หักใช้หนี้ตามบุริมสิทธิของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิไม่ทำให้มีสิทธิถอนการยึดทรัพย์ของโจทก์ ผู้ร้องมีสิทธิขอหักใช้หนี้
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ผู้ร้องขอให้ถอนการยึดนั้นยังคงเป็นของจำเลยอยู่โจทก์ผู้ชนะคดีย่อมนำยึดเพื่อเอาขายทอดตลาดได้เพียงแต่ผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ์ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิที่จะร้องขอให้โจทก์ถอนการยึดได้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้หักใช้หนี้ตามบุริมสิทธิ์ของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยหนี้เจ้าหนี้หลายราย: ค่าฤชาธรรมเนียมคือหนี้ธรรมดา ไม่ใช่บุริมสิทธิ
ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329นั้น หมายถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่รัฐส่วนจำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้ สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่เจ้าหนี้ได้เสียให้แก่รัฐไปแล้วนั้นแม้จะเรียกว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แต่แท้จริงก็เป็นจำนวนเงินที่ใช้แทนกันตามธรรมดา หาใช่ค่าฤชาธรรมเนียมอันลูกหนี้จะต้องเสียให้แก่รัฐไม่จึงถือได้ว่าเป็นหนี้จำนวนหนึ่งอันลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามธรรมดานั่นเอง
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคนการเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 319 ว่าเมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียม: แยกค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้รัฐกับเงินทดแทนเจ้าหนี้
ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 นั้น หมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่รัฐส่วนจำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่เจ้าหนี้ได้เสียให้แก่รัฐไปแล้วนั้น แม้จะเรียกว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แต่แท้จริงก็เป็นจำนวนเงินที่ใช้แทนกันตามธรรมดา หาใช่ค่าฤชาธรรมเนียมอันลูกหนี้จะต้องเสียให้แก่รัฐไม่ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้จำนวนหนึ่งอันลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามธรรมดานั่นเอง
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคน การเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319 ว่า เมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย การฎีกาซ้ำในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ไม่รับพิจารณาอุทธรณ์โจทก์เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แล้ว โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นมาอีกไม่ได้ เพราะถือได้ว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์ฎีกาไม่มีการยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาโจทก์ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนเป็นอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้ขายไม้แปรรูปเมื่อนำไปสร้างโรงเรือน
มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายไม้แปรรูปต่าง ๆ อันเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ขายมีบุริมสิทธิที่จะเอาราคาซื้อขายเหนือไม้แปรรูปนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้น หากปรากฏว่าไม้แปรรูปนี้ได้ถูกนำไปปลูกสร้างเป็นโรงเรือนกลายสภาพจากสังหาริมทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ คือ โรงเรือนไปเสียแล้ว ผู้ขายก็ไม่มีสิทธิที่จะอ้างบุริมสิทธิเหนือโรงเรือนซึ่งปลูกด้วยไม่แปรรูปนั้นแต่อย่างใด
of 22