พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและการบังคับคดี ยึดทรัพย์เกินความจำเป็น
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคหนึ่งการที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไปโจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมโดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลย คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วน ก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป โจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย จึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองเหนือทรัพย์ขายทอดตลาด แม้มิได้ยื่นคำร้องก่อนการขาย
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองและหนี้เบิกเงินเกินบัญชี: สัญญาไม่ถือว่าผิดนัดหากบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องหลังครบกำหนด
ในวันที่จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่ผู้ร้องส. มีหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้แม้ ส. จะขอต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ร้องและ ส. ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ทั้งปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้บอกเลิกสัญญาและยังให้บัญชีเดินสะพัดเดินต่อไป จึงเห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดเมื่อหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่าง ส. กับผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองบังคับชำระหนี้: สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่ถึงกำหนด ไม่สามารถบังคับยึดทรัพย์ได้
ในวันที่จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่ผู้ร้อง ส.มีหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้ แม้ ส.จะขอต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไป 12 เดือนก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องและ ส.ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ทั้งปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้บอกเลิกสัญญาและยังให้บัญชีเดินสะพัดเดินต่อไป จึงเห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด เมื่อหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่าง ส.กับผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 289 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และได้ยื่นคำร้องเข้ามาภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นมาขอเฉลี่ยหนี้ของจำเลยหรือไม่ การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองนั้นขายได้ 2 วิธี คือขายโดยปลอดจำนองหรือขายโดยติดจำนอง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตนได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องประสงค์ให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายโดยปลอดจำนองแล้วจำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้ตน ก่อนเจ้าหนี้อื่น และการที่วรรคสองของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 บัญญัติให้ผู้รับจำนองยื่นคำร้องเสียก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาดก็เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการขายไป ได้ถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้อง เป็นผู้รับจำนองผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนองที่ดินโดยรู้อยู่ว่าทำให้เจ้าหนี้เดิมเสียเปรียบ ไม่อาจเรียกร้องสิทธิได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินที่จำเลยกู้ไปจากผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนองระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยเสียเปรียบตาม ป.พ.พ.มาตรา237 ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยรู้ถึงหนี้สินเดิมของผู้ขาย เป็นการเสียเปรียบเจ้าหนี้เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินที่จำเลยกู้ไปจาก ผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนอง ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้อง จึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอากรแสตมป์ ศาลไม่รับเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7 ตามประมวลรัษฎากร แต่มิได้มี การขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์ บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟัง ตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่า อากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 103 กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาล จะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ หากมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ศาลต้องปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ บ.ดำเนินคดีต่อจำเลยแทนโจทก์โดยปิดอากรแสตมป์มาครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร 7ตาม ป.รัษฎากร แต่มิได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 118 และห้ามมิให้รับฟังตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งจนกว่าจะได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้ว ดังนั้น จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์มอบอำนาจให้ บ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 103
กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดี แม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลจะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์
การที่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาลแล้ว หามีผลเหมือนกับการขีดฆ่าอากรแสตมป์ เพราะไม่ต้องด้วยความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 103
กรณีมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งห้ามมิให้รับฟังตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานในคดี แม้โจทก์จะมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือกรณีเกิดขึ้นเนื่องจากความพลั้งเผลอ ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุอ้างให้ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้ และแม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเรื่องการขีดฆ่าอากรแสตมป์ไว้ในคำให้การหรือคัดค้านกรณีดังกล่าวในระหว่างพิจารณา แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้เรื่องหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลจะต้องอาศัยการรับฟังเอกสารใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานและในเรื่องตราสารที่มิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์นี้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเป็นปัญหาว่ากฎหมายห้ามรับฟังหรือไม่ อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ที่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาขออนุญาตนำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไปขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีของโจทก์โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแล้วกรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์