คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 289

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คำฟ้องบังคับจำนองซ้ำกับคำร้องขอในคดีอื่น
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งเรื่องอื่นให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289ดังนั้น คู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นคู่ความรายเดียวกัน และเมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นถึงที่สุดแล้วและมูลหนี้กับหลักประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก: สิทธิบุริมสิทธิของเจ้าหนี้และลักษณะการจำนำสิทธิในตราสาร
จำเลยฝากเงินไว้กับธนาคารผู้ร้อง เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้ร้อง การที่จำเลยทำสัญญาจำนำและมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำไว้แก่ผู้ร้องก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้อง แม้จำเลยจะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันนั้นเอง ไม่ทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของจำเลยอันผู้ร้องได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากและการที่จำเลยมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้ ก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 อีกเช่นกันผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนำ ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองตึกแถวพิพาทไว้จากจำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 วรรคแรก เท่านั้น แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทซึ่งจำเลยปลูกอยู่ใช้สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวดังกล่าวออกไปย่อมไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหรือผู้ร้องเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวกับตึกแถวพิพาท ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดและระงับการรื้อถอนตึกแถวพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจำนองสูงกว่าอัตราตามกฎหมาย: การบังคับจำนองและการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 (1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยจากการจำนอง: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและลำดับการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา
จำเลยจำนองที่ดินไว้ต่อผู้ร้อง ตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้นก็คือการฟ้องขอบังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วย โดยในส่วนดอกเบี้ยนั้น ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สู่กว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: การฟ้องบังคับชำระหนี้แยกจากคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีที่เจ้าหนี้อื่นฟ้อง
โจทก์ไม่เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ในคดีนี้แต่โจทก์เคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีที่เจ้าหน้าอื่นฟ้องจำเลยและศาลยกคำร้องเพราะหนี้โจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6362/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับชำระหนี้และการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีอื่น ไม่เป็นเหตุต้องห้ามฟ้อง
โจทก์ไม่เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ในคดีนี้แต่โจทก์เคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีที่เจ้าหนี้อื่นฟ้องจำเลยและศาลยกคำร้องเพราะหนี้โจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4945/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านคำสั่งขยายเวลาชำระราคาทรัพย์ในการบังคับคดี ผู้เข้าสู้ราคาไม่มีสิทธิ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งขยายเวลาในการชำระราคาทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ซื้อทรัพย์ในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาผู้ร้องเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมิใช่บุคคลผู้ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือที่ได้ยื่นคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา288,289และ290จึงมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามมาตรา296วรรคสองไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านคำสั่งขยายเวลาชำระราคาในการบังคับคดีสงวนไว้สำหรับผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายเท่านั้น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งขยายเวลาในการชำระราคาทรัพย์แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ซื้อทรัพย์ในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญา ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เข้าสู้ราคามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและมิใช่บุคคลผู้ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบหรือที่ได้ยื่นคำขอตามป.วิ.พ. มาตรา 288, 289 และ 290 จึงมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว
of 22