คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 290

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อกฎหมายต้องยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นก่อน จึงอุทธรณ์ได้ แม้คดีขอเฉลี่ยทรัพย์
คดีที่พิพาทกันในชั้นขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้ ก็จะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำคัดค้านของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อ้างว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาททำขึ้นโดยฉ้อฉล แล้วกล่าวเสริมเพียงว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดต่อศีลธรรมและมารยาทของทนายความตามกฎหมาย ดังนี้ ยังไม่เป็นการชัดแจ้งพอที่จะแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยกปัญหาว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาทเป็นการขัดต่อกฎหมาย (พระราชบัญญัติทนายความ่และข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความ) เป็นข้อคัดค้านต่อสู้ผู้ร้องด้วย ศาลจึงยกประเด็นเรื่องสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวเป็นการสมยอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยประการเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อกฎหมายต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นก่อน จึงจะอุทธรณ์ได้ แม้คดีขอเฉลี่ยทรัพย์
คดีที่พิพาทกันในชั้นขอเฉลี่ยทรัพย์นั้น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างอิงในการยื่นอุทธรณ์ได้ก็จะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำคัดค้านของโจทก์ที่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อ้างว่า สัญญาจ้างว่าความที่พิพาททำขึ้นโดยฉ้อฉล แล้วกล่าวเสริมเพียงว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการขัดต่อศีลธรรมและมารยาทของทนายความตามกฎหมาย ดังนี้ ยังไม่เป็นการชัดแจ้งพอที่จะแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยกปัญหาว่าสัญญาจ้างว่าความที่พิพาทเป็นการขัดต่อกฎหมาย(พระราชบัญญัติทนายความและข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความ)เป็นข้อคัดค้านต่อสู้ผู้ร้องด้วย ศาลจึงยกประเด็นเรื่อง สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวเป็นการสมยอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยประการเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้คดีไม่ถึงที่สุด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้บัญญัติถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้แต่เพียงว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สิน หาได้กำหนดว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อคดีถึงที่สุดไม่กรณีจึงไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนเจ้าหนี้ก็มีสิทธิเพื่อที่จะยังให้ได้รับรองคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนโดยบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวได้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์แล้ว โจทก์มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในประเด็นที่ว่า จำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกหลายอย่างที่ผู้ร้องสามารถเอาชำระหนี้ได้คดีของโจทก์จึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ แม้โจทก์จะได้นำสืบถึงไว้ก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีก่อนเจ้าหนี้อื่น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามมาตรา 289 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ในกรณีนี้แล้ว จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 290แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติอีกกรณีหนึ่งสำหรับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้
หนี้จำนองซึ่งผู้ร้องมีสิทธิขอให้เอาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ นั้น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างล้มละลายตกเป็นของกองทรัพย์สิน แม้เจ้าหนี้ไม่ทราบสถานะลูกหนี้
จำเลยได้ซื้อที่ดินในระหว่างล้มละลาย จึงเป็นทรัพย์ที่จะต้องนำเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109(2) พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 7ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ โจทก์จะอ้างถึงความสุจริตของโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นตามมาตรา 290 วรรคสี่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน 2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วัน ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้วนั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น "กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า "กรณีใด ๆ " ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์สินจากการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องยื่นคำขอภายในกำหนดตามกฎหมาย แม้เป็นเจ้าหนี้รายใหม่
จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย และในวันที่ 20 มิถุนายน2518 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอายัดเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน 52,600 บาท ซึ่งจะได้รับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศาลชั้นต้นออกหมายอายัดในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินต่อศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงิน 52,600 บาทมาให้ตามหมายอายัด หนังสือนำส่งเงินมาถึงศาลชั้นต้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2518 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2518 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงิน 52,600 บาท ดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่พิพาทหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินไว้แล้วถึง 9 หรือ 10 วันล่วงพ้นกำหนดเวลาตามความในตอนต้นของมาตรา 290 วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
การที่ผู้ร้องเพิ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2518 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นได้รับเงินที่อายัดไว้แล้ว นั้นย่อมถือไม่ได้ว่าเป็น " กรณีใด" ดังที่บัญญัติไว้ในตอนท้ายของมาตรา 290วรรคสี่ ตรงกันข้ามกลับจะแสดงว่าในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งให้อายัดเงินที่พิพาทก็ดี หรือวันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งเงินมาให้ศาลก็ดี ผู้ร้องยังหาได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำขอเฉลี่ยเงินจำนวนพิพาทไม่ คำว่า"กรณีใดๆ" ในตอนท้ายของมาตรา 290 วรรคสี่นั้นเป็นเพียงข้อยกเว้นของตอนต้นเท่านั้น เมื่อกรณีใดต้องด้วยข้อความในตอนต้นโดยตรงแล้ว ก็ย่อมจะนำข้อยกเว้นมาใช้แก่กรณีนั้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์สินของเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมายพิเศษและการจำกัดสิทธิบุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดได้เองไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลสิทธิของผู้ร้องตามประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องก็มีสิทธิจะขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ แต่จะอ้างบุริมสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ได้เฉพาะที่ค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งตามมาตรา 256 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเมื่อเกินกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานภาษีในการยึดทรัพย์และสิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากรมาตรา 12 เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เอง ไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล ถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่กระทบกระทั่งถึงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287. เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีการค้าและภาษีเทศบาลจึงมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ แม้จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเฉลี่ยหนี้ภาษีอากรค้าง แม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12
บทบัญญัติมาตรา 12 ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างได้โดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เอง โดยไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล จึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่กระทบกระทั่งถึง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้ถึงขนาดนี้แล้ว แม้ผู้ร้อง (เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้าง) จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็มีสิทธิที่จะขอเข้าเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2518)
of 31