พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้และสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดี: เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ธ. และ ย. ยื่นคำร้องต่อศาลขอรับชำระหนี้จำนองที่มีอยู่เหนือทรัพย์จำนองของผู้ร้องสอดจำนวน 13,950,000 บาทแต่เงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมีเพียง7,601,977 บาท การที่ ธ. และ ย. แถลงต่อศาลว่า เมื่อได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดในคดีนี้แล้ว ก็ไม่ติดใจที่จะเรียกหนี้สินจากผู้ร้องสอดอีกต่อไป ย่อมหมายถึง ตกลงรับชำระหนี้เพียงเงินจำนวนสุทธิทั้งหมดที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนการที่ ธ. และ ย. จะมอบเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์เป็นเงิน1,101,977 บาท นั้นก็เป็นเงินของ ธ. และ ย. ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ตามที่ธ. และ ย. ได้ตกลงกับโจทก์นั่นเอง มิใช่เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดหรือเหลือจากการชำระหนี้จำนองให้แก่ ธ. และย. ซึ่งจะต้องนำมาเฉลี่ยให้แก่โจทก์และกรมสรรพากรผู้ร้อง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 253(3) เมื่อ ธ. และ ย. ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปหมดแล้ว ย่อมไม่เหลือทรัพย์ที่ผู้ร้องจะเข้ามามีส่วนเฉลี่ยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งเงินถึงศาลผู้มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290มีสาระสำคัญสองประการ ประการแรกเมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก กับให้เจ้าหนี้รายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นอีกประการหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นเนื่องจากมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องไว้จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคห้าว่าในกรณีอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และเป็นบทบัญญัติที่เชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่งจึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดทุ่งสงบังคับคดีตามหมายอายัดแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินที่ถูกอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ในระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290: กำหนดเวลาและอำนาจศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 290 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นในคดีนี้คือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีสำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังยึด/อายัด: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งมอบทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นได้ ซึ่งตามมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อมาตรา 290 วรรคหนึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ และวรรคห้าเป็นบทบัญญัติเชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่ง จึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุ่งสงซึ่งบังคับคดีแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับเงินที่อายัดจากลูกหนี้ของจำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541แล้วส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 18 มกราคม 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลา 14 วัน ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่อนุญาตขยายเวลาการยื่นคำร้อง และการพิสูจน์ทรัพย์สินที่ชำระหนี้ได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 226 หากโจทก์มิได้โต้แย้งไว้ก็ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อคำร้องคัดค้านของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นเข้ามาเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ หาใช่คำโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอขยายระยะเวลายื่น คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายหลังจากวันครบกำหนดยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องไม่ และศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน จึงไม่อาจถือว่าคำร้องคัดค้าน ของโจทก์เป็นคำโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี มิใช่เรื่องอายุความ การไม่ดำเนินการภายในกำหนดทำให้สิ้นสิทธิ
กำหนดระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความ การที่ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนของการบังคับคดีหาทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตามกฎหมายขยายออกไปไม่ เช่นนี้ หากผู้ร้องยังประสงค์จะนำยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้อีก หรือขอบังคับคดีต่อไป จะต้องกระทำภายในระยะเวลาดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิใช่เรื่องอายุความ การยึดทรัพย์ก่อนไม่ขยายเวลาบังคับคดี
กำหนดระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็น ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความ การที่ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนของการบังคับคดีหาทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตามกฎหมายขยายออกไปไม่ เช่นนี้ หากผู้ร้องยังประสงค์จะนำยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้อีก หรือขอบังคับคดีต่อไป จะต้องกระทำภายในระยะเวลาดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำในคดีบังคับคดี แม้มีข้อเท็จจริงเดิม ศาลยกคำร้องตามมาตรา 144 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลย เพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ย ถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี หรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอน ชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ซ้ำโดยไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรกของผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับคดีเอาชำระหนี้ได้ ข้อที่ผู้ร้องอ้างเป็นที่สุดไปแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับหลังอีกโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ฉบับแรก และไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มเติมอีกเลย นอกจากจำนวนหนี้ที่คำนวณดอกเบี้ยถึงวันยื่นคำร้องฉบับหลังซึ่งมีจำนวนมากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว แม้เป็นขั้นตอนชั้นบังคับคดีก็ตาม ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่ผิดนัดชำระ ไม่ใช่จากวันมีคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ให้จำเลยผ่อนชำระตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยชำระครั้งแรกวันที่ 27 พฤษภาคม2529 เป็นเงิน 50,000 บาท และส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 8,000 บาท ทุก ๆ วันที่ 27 ของเดือนเริ่มนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จเมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้ผู้ร้องเพียง 3 งวด จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องตั้งแต่ งวดที่ 4 ประจำวันที่ 27 สิงหาคม2529 ดังนั้น ระยะเวลาในการบังคับคดีภายใน 10 ปี ของผู้ร้องจึงจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2529 เป็นต้นไปเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2539 ถือว่าได้ขอบังคับคดีภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271