คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การบันทึกคำฟ้อง, และความบกพร่องในกระบวนพิจารณาคดี
ความผิดฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐ ผู้เสียหายที่ 2 ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานนี้ไม่ได้โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ จึงฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา เพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 43, 157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้องเท่านั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้นำไปให้คู่ความลงชื่อจึงเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น กระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่จึงไม่ต้องเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เฉพาะความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา แม้ไม่ได้อ้างมาตรากฎหมายโดยตรง และผลของการไม่ลงชื่อในบันทึกคำฟ้อง
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ และเป็นหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาเพื่อสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาใดและขอให้ลงโทษตามบทกฎหมายใดบ้าง จึงต้องพิจารณาจากฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้และบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกัน
แม้บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์จะไม่ได้อ้างกฎหมายและบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ระบุว่าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43,157 อันเป็นการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้จึงชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ฟ้องหรือให้การด้วยวาจา ให้ศาล บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้" มีความหมายว่าให้คู่ความลงชื่อไว้ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าศาลบันทึกฟ้องด้วยวาจาถูกต้อง เท่านั้น การที่คู่ความไม่ได้ลงชื่อไว้ในคดีนี้เกิดจากเจ้าพนักงานศาลไม่ได้ นำไปให้คู่ความลงชื่อเป็นเพียงความบกพร่องเท่านั้น คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและระหว่างสืบเสาะและพินิจจำเลยในกำหนด 15 วัน และ นัดฟังคำพิพากษา ผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และขอถ่ายเอกสารบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้และเอกสารอื่น ๆ อีก จนกระทั่งถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยทราบ และศาลอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้วโดยโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ซึ่งไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งถึงความบกพร่องดังกล่าวอีกทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงถือว่าคู่ความทุกฝ่ายยอมรับ โดยปริยายแล้วกระบวนการพิจารณาดังกล่าวหาได้เสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นการพนัน ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อความย่อ ศาลฎีกายกประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดการให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ซื้อขายที่ดินด้วยเช็คที่มิได้ทำตามฟอร์มและจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ศาลแขวงวินิจฉัยว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยแต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 โจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายได้พิพากษา ยกฟ้อง และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าการสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยเป็นการ ชำระหนี้การซื้อขายที่ดินที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ผิดไปจากศาลชั้นต้นฟังมา โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย ข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ก) ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับการสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการ
แม้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 กับ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173 วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ การที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีในศาลแขวง แม้ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง แต่ต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 กับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตามแต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับการที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ระงับตามยอม ศาลไม่รับฎีกา คดีเช็คพิพาทที่มูลหนี้เดียวกันกับคดีแพ่งที่ประนีประนอมยอมความแล้ว
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินซึ่งโจทก์นำไปฟ้องต่อศาลแพ่งให้จำเลยชำระเงิน แก่โจทก์ คดีดังกล่าวโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้น เห็นว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น เป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีออกเสียจาก สารบบความผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ทำให้มูลหนี้สิ้นผลผูกพัน และศาลไม่รับฎีกา
คดีแดงที่ 5863-5864/2541
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพัน คดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5863/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คพิพาทระงับหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้มี การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันสิ้นผลผูกพันคดีจึงเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดีออก จากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการ ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง
of 17