พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน หากฟ้องไม่ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริง ดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมานัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบ ความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัดจำเลยรับหมายนัดแล้ว และมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้อง เพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้ เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้ & อายุความทางแพ่ง: ไม่กระทบความผิดอาญาเช็ค
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าพิมพ์หนังสือแก่โจทก์อันเป็นการรับฟังว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มี มูลหนี้อยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบ ให้เห็นชัดแจ้งถึงการสำคัญแห่งสัญญาว่าจ้าง และข้อเท็จจริง ที่ยืนยันว่าจำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยมีเจตนาทุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังว่าเช็คพิพาทที่จำเลยออก เป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่ต้องด้วย การรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟัง ข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อ ปรากฏว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้ ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์ อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้อง คดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าว ก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การฟ้องอาญาไม่ตัดสิทธิการใช้สิทธิทางแพ่ง หากมูลหนี้ยังไม่ระงับ
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าพิมพ์หนังสือแก่โจทก์ อันเป็นการรับฟังว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้อยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงสาระสำคัญแห่งสัญญาว่าจ้าง และข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าจำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทโดยมีเจตนาทุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังว่าเช็คพิพาทที่จำเลยออกเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายไม่ต้องด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าวก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี ที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งได้ จึงต้องฟังว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีมูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้ตามมูลหนี้ดังกล่าวก็เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 7 หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำผิดออกเช็คชำระหนี้นั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ซึ่งหมายความถึงกรณีที่มูลหนี้นั้นได้ระงับไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. โดยการชำระหนี้ ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ หรือมีการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจนเป็นเหตุให้หนี้ขาดอายุความจึงไม่อาจถือว่ามูลหนี้เดิมสิ้นความผูกพันโดยหนี้นั้นได้ระงับแล้วไม่เพราะมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ยังมีอยู่ ยังไม่ได้ระงับไป เพียงแต่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งจากจำเลยเนื่องจากโจทก์ละเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เท่านั้นกรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามทนายจำเลยก่อนการพิจารณาคดีในศาลแขวงเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ากระบวนการพิจารณาคดีมิชอบ
วิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาคดีในชั้นศาลการที่ศาลถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใดตามความในมาตรา 20 ดังกล่าว ถือเป็นการพิจารณา และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ดังนั้น ก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนเริ่มการพิจารณาสอบถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใด ศาลจะต้องสอบถามเรื่องทนายจำเลยเสียก่อนเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 หากศาลมิได้สอบถามเรื่องทนายจำเลย แต่ก้าวล่วงไปถึงการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 24,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย คดีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎหมายศาลแขวง
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)พิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษายกฟ้องศาลชั้นต้นและอุทธรณ์: กรณีห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) พิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีในศาลแขวง: คำสั่งยกฟ้องและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้น: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่ฟ้องบังคับตามสัญญาได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวงแต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัทส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้วซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาเมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้นและการฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลยกฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อเป็นข้อพิพาทสัญญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.นี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ได้
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา